กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนก้าวไกลไปกับงานคุ้มครองผู้บริโภค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านทุ่งยาว

1. นางหนู อั้นไข่ทอง
2. นายอุทิศ คงทอง
3. นายประดิษฐ์ อินไหม
4. นางปรีดา เทพชนะ
5. นางอวยพร คงหมุน

หมู่ที่ 1,7,9 ตำบลโคกชะงาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน

 

3.00
2 ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

3.00
3 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6 ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร

 

3.00
4 ร้อยละของร้านชำที่ขายยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพซึ่งห้ามขายในร้านชำ

 

3.00

ในปัจจุบันสุขภาพของคนในพื้นที่ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลายชนิด หนึ่งในจำนวนโรคเหล่านั้นนั้นก็เป็นมีโรคมะเร็ง ที่เป็นสาเหตุให้คนเสียชีวิตเป็นอันดับหนึ่งสาเหตุเกิดจากอาหารการกินสารเคมีที่ปนเปื้อนมาในอาหารในรูปแบบต่างๆ ทำให้ประชาชนเกิดโรคมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์สุขภาพหลายชนิดที่เกิดขึ้น ทั้งผลิตภัณฑ์อาหารยา และเครื่องสำอางค์ ที่กลุ่มผู้ผลิตโฆษณาเพื่อดึงดููดความสนใจผู้บริโภคให้มาใช้สินค้า เกิดการแข่งขันทางธุรกิจ กลุ่มผู้ผลิตพยายามหาจุดขายของผลิตภัณฑ์ บางผลิตภัณฑ์มีการใช้สารที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสม เพราะเป็นอันตรายต่อสุุขภาพของผู้บริโภค เช่น สารไฮโดรควิโนนสารปรอท ซึ่งห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์สารสเตียรอยด์ ห้ามใช้ในยาแผนโบราณ ส่วนใหญ่จะพบในยาลูกกลอน กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกผัก ผลไม้ ใช้สารเคมีเพื่อให้ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ รวมทั้ง ร้านค้าที่นำผลิตภัณฑ์สุขภาพมาขายในร้าน ยังมีการแอบนำผลิตภัณฑ์ ยาที่ห้ามจำหน่ายในร้านชำมาขายให้ประชาชนในชุมชนจำเป็นต้องให้ประชาชนได้รับความรู้และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้โดยผ่านอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ( อสม. )เป็นแกนนำในการดำเนินกิจกรรม
ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว จึงได้จัดทำโครงการ ชุมชนก้าวไกลไปกับงานคุ้มครองผู้บริโภคขึ้นเพื่อสร้างแกนนำช่วยเฝ้าระวัง ตรวจร้านชำ และให้ความรู้กับประชาชนการเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหาร ที่ปลอดภัย และรับทราบข้อมูลข่าวสารผลิตภัณฑ์ที่ประกาศห้ามใช้และเพื่อลดการใช้สารเคมีในเกษตรกรและประชาชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพของแกนนำสุขภาพครอบครัวในด้านการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคทุกคน

แกนนำสุขภาพครอบครัว  ภาคีเครือข่ายมีความรู้การเฝ้าตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร ร้อยละ 80

3.00 100.00
2 เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายและความเข้มแข็งการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและร้านชำคลอบคลุมเขตพื้นที่

ร้อยละ 100  เครือข่ายมีความรู้และสามารถเฝ้าระวังได้

3.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 31/10/2019

กำหนดเสร็จ 31/03/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมแกนนำสุขภาพครอบครัวในการเฝ้าระวังและตรวจสอบความปลอดภัยของอาหารและร้านชำ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมแกนนำสุขภาพครอบครัวในการเฝ้าระวังและตรวจสอบความปลอดภัยของอาหารและร้านชำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากรจำนวน 1 คน เวลา 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 100 คน 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
  • เอกสารประกอบการประชุม จำนวน 100 ชุดๆละ 15 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการฯ จำนวน 1 ป้าย ขนาด 3 ตรม.ๆละ 180 บาท เป็นเงิน 540 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • แกนนำสุขภาพครอบครัวภาคีเครือข่ายมีความรู้การเฝ้าระวังของอาหาร ร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15640.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมลงประเมินร้านอาหารและร้านชำติดดาว

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมลงประเมินร้านอาหารและร้านชำติดดาว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • เอกสารประกอบการประเมิน จำนวน 50 ชุดๆละ 15 บาท เป็นเงิน 750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ทุกร้านไม่พบสารต้องห้ามในร้านอาหาร
  • ร้านชำทุกร้านมีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้านชำติดดาว มากกว่า 80 คะแนน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,390.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ร้านขายของชำในชุมชนไม่พบสิ่งต้องห้าม ภาคีเครือข่ายร่วมเฝ้าระวังร้านชำในชุมชน
- แกนนำสุขภาพครอบครัว ภาคีเครือข่ายมีความรู้การเฝ้าตรวจสอบคุณภาพปลอดภัยของอาหาร ร้อยละ 80
- ไม่พบสารต้องห้ามในร้านอาหารทุกร้าน
- ร้านชำทุกร้านมีคะแนนผ่านการประเมินร้านชำติดดาวมากกว่า 80 คะแนน


>