กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กปฐมวัยใส่ใจฟันน้ำนม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว

1. นายเอนก กลิ่นรส
2. นางสาวณัฎณิชา สมจิตร
3. นายธานัท ยอดแก้ว
4. นางกิตติยา พรหมปาน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็ก 36 - 60 เดือน ได้รับการตรวจฟัน

 

2.00
2 เด็ก 0 - 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย

 

2.00

ช่องปากเปรียบเสมือนประตูแห่งสุขภาพที่ลูกจะได้รับอาหารเข้าสู่ร่างกายฟันทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารลูกจะมีความสุขในการรับประทานอาหารหลากหลายชนิดถ้ามีสุขภาพฟันดีการที่ปล่อยให้ฟันน้ำนมไม่ได้รับการรักษาฟันผุลุกลามถึงโพรงประสาททำให้ปวดฟันลูกจะไม่ได้รับสารอาหารครบถ้วนเนื่องจากพยายามเลี่ยงรับประทานอาหารบางชนิดเพราะปวดฟันการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในสภาวะโรคฟันผุในเด็กอายุ 3 ปีหรือเด็กเล็กในระดับประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นพบว่าวัย 24 - 36 เดือนเป็นช่วงเวลาที่เด็กอาศัยอยู่กับครอบครัวที่บ้านหน่วยบริการสาธารณสุขโดยเฉพาะโรงพยาบาลชุมชนหรือโรงพยาบาลศูนย์ไม่มีโอกาสได้พบเด็กในช่วงวัยนี้จึงเป็นหน้าที่ของหน่วยบริการย่อยคือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่จะต้องให้ความรู้ คำแนะนำข้อมูลต่างๆและคอยดูแลสุขภาพภายในช่องปากเด็กปฐมวัยให้กับผู้ปกครอง
โรคฟันผุในเด็กเป็นการถูกทำลายฟันน้ำนมซึ่งลุกลามเข้าถึงโพรงประสาทฟันส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเด็กทั้งร่างกายและจิตใจโดยฟันทำหน้าที่ในการบดเคี้ยวอาหารเสริมบุคลิกภาพให้มีใบหน้าที่สวยงามมีการส่งเสียงพูดชัดสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
พฤติกรรมการกินของเด็กไทยในปัจจุบันพบว่าเด็กมีภาวะฟันผุมีพฤติกรรมการกินที่ส่งผลให้เกิดฟันผุเพิ่มขึ้นเช่นการติดขวดนมกินขนมหวานชอบรับประทานขนมถุงชอคโกแลตซึ่งหากผู้ปกครองปล่อยปละละเลยจะทำให้เด็กฟันผุได้มากขึ้น
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาวตำบลโคกชะงายอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุงและกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลโคกชะงายได้ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพภายในช่องปากในเด็กปฐมวัยในกลุ่มอายุ 24 - 36 เดือน ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 1,7,9 ตำบลโคกชะงายเพื่อป้องกันและลดปัญหาโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กในพื้นที่รับผิดชอบมีสุขภาพฟันที่ดี ร้อยละ 90

เด็กอายุ 24-36 เดือน ที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพฟันดี ร้อยละ 90

2.00 128.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 128
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/03/2020

กำหนดเสร็จ 31/07/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมผู้ปกครองเด็กปฐมวัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน เวลา 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 128 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เด็กปฐมวัยฟันผุลดลง ร้อยละ50
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 5,000.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- เด็กอายุ 24-36 เดือน ที่เข้าร่วมโครงการเด็กปฐมวัยใจใจฟันน้ำนมมีสุขภาพในช่องปากดี ร้อยละ 90
- ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ความสามารถดูแลฟันน้ำนมได้ร้อยละ 80


>