กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชุมปลอดขยะ ปลอดโรค ปลอดภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านทุ่งยาว

1. นางหนูอั้น ไข่ทอง
2. นายอุทิศ คงทอง
3. นายประดิษฐ์ อินไหม
4. นางปรีดา เทพชนะ
5. นางอวยพร คงหมุน

หมู่ที่ 1,7,9 ตำบลโคกชะงาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนหมู่บ้านมีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง

 

4.00
2 ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน (ก.ก.)

 

4.00
3 จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

 

4.00
4 จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

 

4.00

ขยะมูลฝอยนั้นนับวันจะเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนประชากรถ้าหากไม่มีการกำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกต้องและเหมาะสมแล้วปัญหาความสกปรกต่างๆ ที่เกิดจากมูลฝอยจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ถ้ามองกันอย่างผิวเผินแล้วขยะมูลฝอยนั้นไม่ได้กระทบต่อมนุษย์มากนัก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยตรงต่อมนุษย์ยังอยู่ในขั้นรุนแรงไม่มากนัก ผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงไม่ชัดเจนเท่าไร แต่ในความเป็นจริงแล้วขยะมูลฝอยจะก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก และจะมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยมนุษย์ด้วยทั้งทางตรงและทางอ้อมทั้งนี้เนื่องจากขยะมูลฝอยเป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธ์ของแมลงนำโรคเช่น แมลงสาปแมลงวันยุง ฯลฯ และเป็นที่ซุกซ่อนของหนูและสัตว์อื่นๆทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและก่อให้เกิดความรำคาญขยะมูลฝอยที่ทิ้งเกลื่อนกลาดถูกลมพัดกระจัดกระจายไปตกอยู่ตามพื้นที่ทำให้บริเวณนั้นสกปรกขาดความสวยงามเป็นที่รังเกียจผู้พบเห็นและผู้ที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง
นอกจากนี้ขยะมูลฝอยที่ตกอยู่หรือถูกทิ้งลงในคูคลองหรือทางระบายน้ำจะไปสกัดกั้นการไหลของน้ำทำให้แหล่งน้ำสกปรกและเกิดการน้ำเสียน้ำเสียที่เกิดจากกองขยะมูลฝอยที่กองไว้เป็นน้ำเสียที่มีความสกปรกสูงมากซึ่งมีทั้งสารอินทรีย์สารอนินทรีย์เชื้อโรคและสารพิษต่างๆ เจือปนอยู่เมื่อน้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยไหลไปตามพื้นดินบริเวณใดก็จะทำให้บริเวณนั้นเกิดความสกปรกและความเสื่อมโทรมของพื้นดินและอาจเปลี่ยนสภาพทำให้ดินมีคุณสมบัติเป็นดินด่างหรือดินกรดได้ในกรณีที่น้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยไหลลงสู่แหล่งน้ำก็จะทำให้คุณภาพน้ำเสียไปทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำผิวดินหรือแหล่งน้ำใต้ดินก็ตามล้วนเป็นอันตรายต่อผู้ใช้น้ำและสิงมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำน้ำที่สกปรกมากหรือมรสารพิษเจือปนอยู่ก็จะทำให้สัตว์น้ำตายในเวลาอันสั้นนอกจากนั้นสิ่งสกปรกต่างๆ ที่เจือปนในน้ำก็จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ของน้ำทำให้สัตว์น้ำมีค่าบางชนิดสูญพันธ์ไป
การกำจัดมูลฝอยวิธีการกำจัดขยะมูลฝอยที่ใช้ต่อเนื่องกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีหลายวิธี เช่น นำไปกองบนพื้นดินหมักทำปุ๋ยเผากลางแจ้งเผาในเตาเผาขยะและฝังกลบอย่างถูกหลักวิชาการ เป็นต้น การกำจัดขยะมูลฝอยดังกล่าวนั้นบางวิธีเป็นการกำจัดไม่ถูกต้องทำให้เกิดภาวะเป็นพิษต่อสภาพแวดล้อมและผลกระทบต่อสุขภาพของคนด้วย
หมู่ที่ 1,7,9 ตำบลโคกชะงายปัญหาเรื่องขยะมูลฝอยชุมชน และคาดว่าจะมีปริมาณเพิ่มเรื่อยๆ(ข้อมูลจากเทศบาลตำบลโคกชะงาย) เนื่องจากมีประชาชนอาศัยเพิ่มมากขึ้น มีการปลูกที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น มีร้านค้าจำหน่ายอาหารเพิ่มขึ้น ประชาชนในชุมชน จากเดิมที่เคยปรุงอาหารรับประทานเอง หันมาซื้ออาหารสำเร็จรูปมากขึ้น เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และประหยัดเวลาเพราะเร่งรีบในการประกอบอาชีพ เช่น ข้าราชการ เกษตรกร รับจ้าง เป็นต้น จึงส่งผลให้มีปริมาณขยะมากขึ้น บางบ้านยังใช้วิธีกำจัดและจัดการแบบเดิมๆ ด้วยการเทกองไว้กลางแจ้ง ฝังกลบ หรือใช้วิธีเผาทำลาย ทำให้เกิดควันลอยในอากาศ เป็นการเพิ่มภาวะโลกร้อน และ ของเหลือทิ้งจำพวกเศษอาหารที่เหลือจากการปรุงอาหารและการบริโภค รวมทั้งเศษอาหาร พลาสติก และสารพิษจากขยะได้แพร่กระจายลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติมากขึ้นและของที่ไม่ใช้แล้ว ขยะมูลฝอยที่ถูกทิ้งอยู่ตามถนน แม่น้ำ ลำคลอง ที่สาธารณะต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นใบไม้ เศษกระดาษ ถุงพลาสติก เศษดิน เป็นต้น ซึ่งมูลฝอยเหล่านี้หากไม่กำจัดและมีการจัดการอย่างถูกวิธี นอกจากจะทำให้ชุมชนขาดความสะอาดเรียบร้อย จนเป็นที่น่ารังเกียจแล้ว ยังทำให้เกิดปัญหามลพิษต่อสภาพแวดล้อมอย่างมากมาย เช่น การปนเปื้อนของแหล่งน้ำและการปนเปื้อนของอากาศ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และแพร่กระจายของเชื้อโรค ที่ก่อปัญหาด้านสุขภาพอนามัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างจิตสำนึกของประชาชนในการรักษาความสะอาด และสร้างธรรมนูญสุขภาพครบ 3 หมู่บ้าน

ทุกครอบครัวกลุ่มเป้าหมายมีการจัดการขยะทุกครัวเรือน ชุมชน

4.00 120.00
2 เพื่อให้บ้านเรือน ชุมชน หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านน่าอยู่น่ามอง

บ้านเรือน ชุมชน หมู่บ้าน น่าอยู่ น่ามอง ร้อยละ 70 ของกลุ่มเป้าหมาย

4.00 120.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 120
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 31/10/2019

กำหนดเสร็จ 31/07/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมแกนนำสุขภาพครอบครัวในการจัดการขยะในครัวเรือน ชุมชน และการนำไปใช้ประโยชน์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมแกนนำสุขภาพครอบครัวในการจัดการขยะในครัวเรือน ชุมชน และการนำไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน เวลา 9 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 5,400 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 120 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  • เอกสารประกอบการประชุม จำนวน 120 ชุดๆละ25 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการฯ จำนวน 1 ป้าย ตรม. ละ 180 บาทจำนวน 3 ตรม. เป็นเงิน 540 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ทุกครอบครัวกลุ่มเป้าหมายมีการจัดการขยะในครัวเรือน ชุมชน และการนำไปใช้ประโยชน์
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11940.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมประกวดครอบครัวปลอดขยะ ปลอดโรค ปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประกวดครอบครัวปลอดขยะ ปลอดโรค ปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนกรรมการประเมิน จำนวน 3 คนๆละ 400 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • บ้านเรือน หมู่บ้าน ชุมชน น่าอยู่น่ามอง ร้อยละ 70 ของครัวเรือนเป้าหมาย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,140.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ทุกครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายมีการจัดการขยะในครัวเรือน ชุมชน และการนำขยะไปใช้
- อัตราป่วยทุกครัวเรือนในกลุ่มเป้าหมายลดลง
- บ้านเรือน หมู่บ้าน ชุมชนน่าอยู่น่ามอง ร้อยละ 70 ของครัวเรือน


>