กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการดูแลสุขภาพมารดาและบุตรขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดในชุมชนปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็ง

ห้องประชุมปิเหล็ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ณ ปัจจุบันหญิงมีครรภ์มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคต่างๆในระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอดทำให้เราต้องเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆเพื่อการตั้งครรภ์และการคลอดมีความปลอดภัยและได้รับการดูแลอยา่งต่อเนื่อง แต่หากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง ก็อาจจะทำให้การพัฒนาทั้งด้านร่างกาย สติปัญญาและอารมณ์ไม่เป็นไรตามเกณฑ์ที่ควรจะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
จากการผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก โรคพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็ง อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนาธิวาส ในปี ๒๕๖๒ พบว่า อัตราการการฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ ๘๘.๑๔ (เกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๕) อัตราโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และหญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ ๓๒ สัปดาห์คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๕๐ (เกณฑ์ร้อยละ๑๐) และอัตราการคลอดบุตรน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๗๓ (เกณฑ์ร้อยละ ๗.๐๐) ซึ่งถือว่าอยู่ในอัตราที่สูง ปัญหาดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงการมีภาวะเสี่ยงต่อการหญิงตั้งครรภ์และบุตร และส่งผลให้ไม่ได้รับการวางแผนการป้องกันดูแล ถึงวิธีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง โดยเฉพาะในรายที่มีภาวะเสี่ยงสูง (High Risk)
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็ง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการฝากครรภ์ จึงได้เห็นความสำคัญในการดูหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ระยะเริ่มตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอดบุตรให้ได้รับความปลอดภัย มีความสุขภาพแข็งแรง ทั้งมารดาและบุตร จึงได้จัดทำโครงการการดูแลสุขภาพมารดาและบุตรขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดในชุชมชนปี ๒๕๖๓

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์

ร้อยละ 75 หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์

72.00 72.00
2 เพื่อป้องกันทารกคลอดน้ำหนักตัวน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม

ร้อยละทารกคลอดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัมไม่เกินร้อยละ 7

72.00 72.00
3 เพื่อให้มารดาและทารกได้รับการเยี่ยมหลังคลอด ๓ ครั้งตามเกณฑ์

ร้อยละ 70 มารดาและทารกได้รับการเยี่ยมหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์

72.00 72.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 72
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมให้ความรู้เชิงรุกด้านการสำรวจค้นหาติดตามหญิงตั้งรายใหม่ในชุมชนพร้อมจัดทำทะเบียนหญิงตั้งครรภ์ทุกราย เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12สัปดาห์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 2.อบรมให้ความรู้เชิงรุกด้านการประเมินภาวะโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย (ด้วยกราฟโภชนาการหญิงมีครรภ์) เพื่อป้องทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อนกว่า 2,500 กรัม 3.อบรมให้ความรู้ติดตามเยี่ยมบ้านให้ความรู้การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด รายละเอียดงบประมาณ 1.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม สำหรับหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 72 คน X 25 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน 3,600 บาท 2.ค่าอาหารกลางวันสำหรับหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 72 คน X 60 บาท เป็นเงินจำนวน 4,320 บาท 3.ค่าวิทยากร 600 บาท X 6 ชั่วโมง เป็นเงินจำนวน 3,600 บาท 4.ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 6,840 บาท -ค่าปากกา จำนวน 72 ด้าม X 5 บาท เป็นเงิน 360 บาท -ค่าสมุดปกแข็ง จำนวน 72 เล่ม X 10 บาท เป็นเงิน 720 บาท -ค่ากระเป๋าใส่เอกสาร จำนวน 72 ใบ X 80 บาท เป็นเงิน 5,760 บาท 5.ค่าไวนิล ขนาด12ตารางเมตร จำนวน 1 ชุด 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. ทำให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ๒. เพื่อป้องกันทารกคลอดน้ำหนักตัวน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม ๓. ทำให้หญิงตั้งครรภ์ไม่มีภาวะจางในระยะใกล้คลอด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18860.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจและติดตาม

ชื่อกิจกรรม
ตรวจและติดตาม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจคัดกรองและติดตามเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. ทำให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ๒. เพื่อป้องกันทารกคลอดน้ำหนักตัวน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม ๓. ทำให้หญิงตั้งครรภ์ไม่มีภาวะจางในระยะใกล้คลอด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,860.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 75
2.ร้อยละของเด็กทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวมากกว่า 2,500 กรัม
3.หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางใกล้คลอดไม่มากกว่า ร้อยละ 10
4.มารดาและทารกได้รับการเยี่ยมหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 70


>