กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล ตัวอย่าง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ตัวอย่าง_โครงการแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล ตัวอย่าง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล.................../กลุ่มหรือชมรม.....................................

1........................................................เบอร์โทรศัพท์...........................................
2........................................................เบอร์โทรศัพท์...........................................
3........................................................เบอร์โทรศัพท์...........................................
4........................................................เบอร์โทรศัพท์...........................................
5........................................................เบอร์โทรศัพท์...........................................

หมู่บ้าน.1..........ตำบล.................อำเภอ..........จังหวัด................

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

35.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

60.00

จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยฯ ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 พบว่า สัดส่วนของผู้เป็นเบาหวานที่ไม่ทราบว่าตนเองเป็นเบาหวาน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 31.2 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 43.1 ในปี 2557 และ ผู้ที่เป็นความดันฯสูง ไม่ทราบว่าตนเองเป็นความดันฯสูง จากร้อยละ 50.3 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 44.7 ในปี 2557 แสดงให้เห็นว่า ผู้ใหญ่ไทยที่เป็นเบาหวานและ/หรือความดันฯสูง มากกว่าร้อยละ 40 ไม่ได้รับการวินิจฉัยจากวิธีการคัดกรองที่ผ่านมา ดังนั้น แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ.2560 และแนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562 จึงได้กำหนดวิธีการคัดกรอง วินิจฉัย ขึ้นทะเบียนและรักษา เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

การคัดกรอง-วินิจฉัยและประเมินความเสี่ยงฯ ทำให้สามารถพบกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค กลุ่มสงสัยป่วยหรือกลุ่มป่วยแล้วแต่ยังไม่ได้รับการตรวจคัดกรอง-วินิจฉัยแต่แรก การดูแลกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วย ดังกล่าว ทั้งที่มีและไม่มีอาการ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีชีวิตที่ไม่เหมาะสมอย่างเข้มข้น เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง สามารถป้องกันและยืดระยะเวลาการเป็นโรคออกไปได้ถึงร้อยละ 50 จึงเป็นวิธีการป้องกันการเกิดโรคฯ ที่ดีที่สุด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

35.00 20.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

60.00 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 27/10/2019

กำหนดเสร็จ 31/07/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูง สำหรับ ประชาชน 35 ปี ที่มีภาวะเสี่ยงและเข้าไม่ถึงการคัดกรอง

ชื่อกิจกรรม
การคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูง สำหรับ ประชาชน 35 ปี ที่มีภาวะเสี่ยงและเข้าไม่ถึงการคัดกรอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ใช้แบบคัดกรองแบบสอบถาม (verbal screening) เพื่อคัดกรองผู้ที่เข้าข่ายเสี่ยง และแนะนำการงดอาหารหลังเที่ยงคืน ในการตรวจคัดกรองช่วงเช้า
ค่าใช้จ่าย
1.แบบสอบถาม จำนวน......ชุด เป็นเงิน 500บาท
2.เครื่องตรวจระดับน้ำตาล จำนวน ....เครื่องx 3000 บาท คิดเป็นเงิน .......บาท
3.แถบตรวจน้ำตาล 25 ชิ้น/กล่อง จำนวน ....กล่อง x 500บาทคิดเป็นเงิน .......บาท
4.เครื่องวัดความดัน จำนวน ....เครื่อง(แบบธรรมดา) เครื่องละ ไม่เกิน 2,500 บาท คิดเป็นเงิน .......บาท
** กรณีเครื่องวัดความดันที่แสดงภาวะหัวใจ (วัด AF) ได้ ราคาเครื่องละ 4,000 บาท
5.สมุดบันทึก จำนวน....เล่มคิดเป็นเงิน .........บาท
หมายเหตุ ครุภัณฑ์เป็นของหน่วยงาน/องค์กรที่ขอรับทุน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ปชช.กลุ่มเสี่ยงที่ไม่สามารถไปคัดกรองเบาหวาน ได้รับการคัดกรองเบาหวาน ร้อยละ....
  2. ปชช.กลุ่มเสี่ยงได้รับการปฏิบัติตัวเพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

กิจกรรมที่ 2 การให้ความรู้เรื่อง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
การให้ความรู้เรื่อง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

นำ ปชช.กลุ่มเสี่ยงเพื่อมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน......คน จำนวน............วัน
ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่าง จำนวน....มื้อ x 25 บาท x ....คน คิดเป็นเงิน ........บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน....มื้อ x 50 บาท x ....คน คิดเป็นเงิน ........บาท
3. ค่าวิทยากร จำนวน....ชม. x 600 บาท x ....คน คิดเป็นเงิน ........บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ปชช.กลุ่มเสี่ยงที่ไม่สามารถไปคัดกรองเบาหวาน ได้รับการคัดกรองเบาหวาน ร้อยละ....
  2. ปชช.กลุ่มเสี่ยงได้รับการปฏิบัติตัวเพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ปชช.กลุ่มเสี่ยงที่ไม่สามารถไปคัดกรองเบาหวาน ได้รับการคัดกรองเบาหวาน ร้อยละ....
2. ปชช.กลุ่มเสี่ยงได้รับการปฏิบัติตัวเพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน ร้อยละ ...


>