กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาเครือข่ายชุมชนร่วมใจห่วงใยผู้ป่วยจิตเวช

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

อาสาสมัครโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะ

ตำบลมูโนะ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

 

10.50
2 ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

 

16.40
3 ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

 

35.50

กรมสุขภาพจิตพบว่า จำนวน 1ใน 5 คนไทยมีปัญหาสุขภาพจิต หรือคิดเป็น 20 % ของประชากร ซึ่งปัญหาทางด้านสุขภาพจิตมีหลากหลายระดับ ตั้งแต่ระดับน้อยจนถึงระดับมาก สำหรับกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการระดับมาก จะส่งผลกระทบทั้งต่อตัวเอง ครอบครัว และสังคม (กรมสุขภาพจิต,2551) โรคจิตคนทั่วไปมักเรียกว่า “คนบ้า” เป็นโรคที่มีความผิดปกติทางด้านจิตใจ อารมณ์ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคจิตมักไม่ยอมรับตนเองว่าป่วยและจะขัดขืนไม่ยอมมารับการรักษาโรคจิต ได้แก่ โรคที่มีความผิดปกติทางด้านความคิดและ อารมณ์ โรคจิตที่เกิดจากการเสพสิ่งเสพย์ติด และโรคจิตจากสมองเสื่อมอาจถึงขั้นเปลือยกาย มีอาการคลุ้มคลั่งและหวาดระแวง เป็นต้น โดยทั่วไปการบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคจิตจะรักษาด้วยยาจิตเวช รักษาทางจิตใจ และทางสังคมควบคู่กันไป เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาอยู่ในสังคมได้ แต่ที่สำคัญที่สุดผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษา อย่างต่อเนื่องและเป็นเวลานาน(ขวัญทิพย์ สุขมาก, 2552) จากนโยบายกรมสุขภาพจิต ตามยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนาภาคีเครือข่ายทั้งใน และนอกระบบสาธารณสุขในการดำเนินงานสุขภาพจิต ของกรมสุขภาพจิตพบว่าญาติ ผู้ป่วยและชุมชนเป็นภาคีเครือข่ายที่สำคัญในการดูแลปัญหาทางด้านสุขภาพจิตร่วมกัน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติได้ นอกจากได้รับการรักษาจากโรงพยาบาล ยังต้องได้รับการดูแลจากครอบครัว และสังคมด้วย(กรมสุขภาพจิต ,2551 )
จากข้อมูลงานสุขภาพจิต รพ.สตมูโนะ ปี 2553 - 2562 พบว่า จำนวนผู้ป่วยโรคจิตในเขตตำบลกำแพง มีจำนวนทั้งหมด 75 ราย พบว่า เข้ารับการรักษาในแผนกจิตเวช โรงพยาบาลสุไหงโก-ลกซึ่งมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น จากการวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พบว่าผู้ป่วยบางรายมีแนวโน้มที่ไม่ดีขึ้นเนื่องจากผู้ป่วยและญาติขาดความรู้และความเข้าใจ เรื่องโรค ไม่เห็นความสำคัญในการรับประทานยา มีการใช้สารเสพติด และสิ่งกระตุ้น เช่น บุหรี่ กาแฟ และส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะบกพร่องในการ ดูแลกิจวัตรประจำวัน การจัดการความเครียดไม่เหมาะสม เช่น ขาดทักษะในการสื่อสารทางสังคมสร้างความวุ่นวายในชุมชน ส่งผลให้ญาติและคนในชุมชน เกิดความเบื่อหน่าย หวาดกลัว ไม่กล้าเข้าใกล้ ไม่ยอมรับ หวาดกลัวผู้ป่วย รู้สึกเป็นภาระ
ดังนั้นที่จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาและฟื้นฟูความรู้แกนนำสุขภาพจิตในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง เพื่อกระตุ้นการขับเคลื่อนการดำเนินงานสุขภาพจิตในชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60  ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

16.40 10.00
2 เพื่อลดเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

ร้อยละของเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

10.50 5.00
3 เพื่อลดผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

35.50 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 25
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มอาสาสมัครหรือผู้นำชุมชน 60

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคณะทำงานเครือข่ายสุขภาพจิต

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมคณะทำงานเครือข่ายสุขภาพจิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมคณะทำงานเครือข่ายสุขภาพจิต
(ประธานอาสาสมัครประจำหมู่บ้านเขตตำบลมูโนะ หมู่บ้านละ 2คน/อสม.ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิต 5 คน เจ้าหน้าที่รพ.สต/สสอ. และแผนกสุขภาพจิตโรงพยาบาลสุงไหงโก-ลก รวมจำนวน 32 คน)
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 32 คน × 25 บาท × 1 มื้อ เป็นเงิน 800บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
800.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การดูแล ป้องกัน และการจัดการปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การดูแล ป้องกัน และการจัดการปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการณ์ การดูแล ป้องกัน และการจัดการปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชในชุมชน(กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน เขตตำบลมูโนะหมู่บ้านละ 12 คน จำนวน 60 คน) -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมผู้สังเกตการณ์จำนวน 65 คน × 25 บาท × 2 มื้อ× 2 วันเป็นเงิน 6,500 บาท
-ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรมและผู้สังเกตการณ์จำนวน 65 คน × 50 บาท × 1 มื้อ × 2 วัน เป็นเงิน 6,500 บาท
-ค่าสมนาคุณวิทยา จำนวน 6 ชั่วโมง x 600 บาท x 2 วันเป็นเงิน 7,200 บาท -ค่าป้ายไวนิลโครงการฯ จำนวน 1 แผ่นๆ ละ 720 บาท เป็นเงิน 720 บาท
-ค่าวัสดุ เครื่องเขียน และอุปกรณ์ในการอบรมเป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23920.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเยี่ยมและค้นหาผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชโดยผู้เข้าอบรม จำนวน 2 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมและค้นหาผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชโดยผู้เข้าอบรม จำนวน 2 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามเยี่ยมและค้นหาผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชโดยผู้เข้าอบรม จำนวน2 ครั้ง
-ค่าสมุดบันทึกสุขภาพประจำตัวผู้ป่วยจิตเวชจำนวน 100 เล่มๆ ละ 20 บาทเป็นเงิน 2,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 4 ถอดบทเรียนในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช และแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการประชุมกลุ่มย่อย จำนวน 2 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ถอดบทเรียนในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช และแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการประชุมกลุ่มย่อย จำนวน 2 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ถอดบทเรียนในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช และแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการประชุมกลุ่มย่อย จำนวน 2 ครั้ง
-อาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 65 คน × 25 บาท × 2 มื้อเป็นเงิน3,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,970.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน/ผู้นำชุมชน มีความรู้ และทักษะในการดูแล ฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ผู้ป่วยจิตเวชอย่างถูกต้องและเหมาะสม
2. กลุ่มอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน/ผู้นำชุมชน (แกนนำสุขภาพจิต) มีการรวมกลุ่มและดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
3. ผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนเขตตำบลมูโนะ อ.สุไหงโก-ลก ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง


>