กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แนวทางดำเนินงาน/วิธีการสำคัญ

stars
แนวทางดำเนินงาน : การแก้ปัญหาสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม
label_important
วิธีการสำคัญ
- แกนนำสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ ลงสำรวจประชาชนที่ได้รับผลกระทบและแนะนำการป้องกันโรค
- สนับสนุนเวชภัณฑ์และอุปกรณ์สำหรับการป้องกันโรค
- แกนนำสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ลงเยี่ยมติดตามและประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ
- การปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการไม่เป็นโรคติดต่อที่มาจากภาวะน้ำท่วม
stars
แนวทางดำเนินงาน : การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้มาลาเรียระบาด
label_important
วิธีการสำคัญ
- แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน และเจ้าหน้าที่ ลงสำรวจทำลายลูกน้ำยุงก้นปล่อง (หยอดทรายอะเบต,ปล่อยปลาหางนกยูง คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง) สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
- การปรับสภาพแวดล้อมจุดเสี่ยงต่อการเพาะพันธุ์ยุงก้นปล่อง เช่น ขยะ หรือมีการสะสมของภาชนะน้ำขังจำนวนมาก โดย แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน
- จ้างเหมาพ่นยุงครัวเรือนที่มีผู้ป่วยรัศมี 100 เมตร พ่น 2 ครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์
- การตรวจคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยมีเชื้อมาลาเรียด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น และนำเข้าสู่ระบบการรักษาของโรงพยาบาล
- การรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความตระหนักของประชาชนผ่านป้ายไวนิลและสื่อต่างๆ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การแก้ปัญหาสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากหมอกควันไฟใหม้ป่า
label_important
วิธีการสำคัญ
- แกนนำสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ ลงสำรวจประชาชนที่ได้รับผลกระทบและแนะนำการป้องกันโรค
- สนับสนุนหน้ากากอนามัยเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อทางเดินหายใจ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การแก้ปัญหาเพือแก้ปัญหาเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด
label_important
วิธีการสำคัญ
- ให้ความรู้และแนะนำการป้องกันโรคแก่ผู้ปกครองเด็กเล็ก และในศูนย์เด็กเล็ก
- ปรับสภาพแวดล้อมที่ลดปัญหาการระบาด เช่น การล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ การล้างมือบ่อยๆ ไม่ใช้แก้วน้ำดื่มร่วมกัน เป็นต้น
- ผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่ปรับปรุงทำความสะอาดโรงเรียนเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กป้องกันการระบาด
stars
แนวทางดำเนินงาน : การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
label_important
วิธีการสำคัญ
- แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน และเจ้าหน้าที่ ลงสำรวจทำลายลูกน้ำยุงลาย (หยอดทรายอะเบต,ปล่อยปลาหางนกยูง คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง) สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
- การปรับสภาพแวดล้อมจุดเสี่ยงต่อการเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น ขยะ หรือมีการสะสมของภาชนะน้ำขังจำนวนมาก โดย แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน
- จ้างเหมาพ่นยุงครัวเรือนที่มีผู้ป่วยรัศมี 100 เมตร พ่น 2 ครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์
- การรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความตระหนัก
stars
แนวทางดำเนินงาน : ยุทธศาสตร์ที่ 1 มุ่งเป้าลดการเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสของผู้ใช้รถใช้ถนน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. ลดพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ใช้รถใช้ถนนทุกกลุ่ม (เมา หมวกนิรภัย เข็มขัดนิรภัย เบาะนิรภัยเด็ก มือถือ วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอื่น ไม่มีใบขับขี่ ขับเร็ว หลับใน) ด้วยการเพิ่มจำนวนด่าน และให้ความรู้
1.1 เพิ่มการตรวจจับหรือจุดตั้งด่านตรวจจับผู้ใช้รถใช้ถนนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน (เช่น ดื่มแล้วขับ ใช้วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอื่น ไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ไม่ใช้เบาะนิรภัยสาหรับเด็กและที่นั่งพิเศษสาหรับเด็ก ใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่ ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ ขับเร็ว หลับใน)
1.2 กำกับดูแลผู้ขับขี่รถสาธารณะให้มีความพร้อมทางสภาพร่างกายก่อนและระหว่างการขับขี่
stars
แนวทางดำเนินงาน : ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยของยานพาหนะ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. จักรยานยนต์ปลอดภัย ด้วยการติดตั้ง ABS ตรวจสอบมาตรฐานหมวกนิรภัย และให้ความรู้การใช้รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย
1.1 ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับมาตรฐานรถจักรยานยนต์ รวมถึงการเลือกซื้อและการใช้รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย
stars
แนวทางดำเนินงาน : ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและการเดินทางที่ยั่งยืน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. ถนนปลอดภัย
1.1 เพิ่มมาตรการชะลอความเร็วในพื้นที่ถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.2 ตรวจประเมินถนน ดำเนินมาตรการเชิงแก้ไข (Road side hazard) โดยปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพในจุดที่เคยเกิดอุบัติเหตุซึ่งเป็นพื้นที่ถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. เพิ่มการเดินทางที่ยั่งยืน
2.1 ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพื่อลดการใช้ยานพาหนะส่วนบุคคล
stars
แนวทางดำเนินงาน : ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนารากฐานโครงสร้างการทำงาน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. พัฒนาการตอบสนองหลังเกิดอุบัติเหตุมีประสิทธิภาพและครอบคลุม
1.1 เพิ่มความครอบคลุมของการทำประกันภัยภาคบังคับตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
1.2 ลดเวลาตอบสนองหลังเกิดเหตุ (response time) ด้วยเบอร์ฉุกเฉิน
1.3 เพิ่มความครอบคลุมของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาลในทุกตำบล
1.4 กำหนดแนวปฏิบัติที่ดีในสถานการณ์ฉุกเฉินทางถนนสำหรับผู้ขับรถสาธารณะ
2. เพิ่มกระบวนการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการทำงานด้านความปลอดภัยทางถนนแบบสหสาขา
2.1 มีการจัดประชุม ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ศปถ.อปท.) ในลักษณะการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงาน ไตรมาสละ 1 ครั้ง
2.2 มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรท้องถิ่นที่ทำหน้าที่ด้านความปลอดภัยทางถนน