กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แค

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพทำสวนยางพารา ตำบลแค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แค

คณะกรรมการหมู่บ้าน บ้านแคเหนือ

1. นายอะหมัด หลีขาหรี
2. นายไสโฝด หลีขาหรี
2. นายหมัดดาโหด หัสเอียด
3. นายคมสัน หลีขาหรี
5. นายสะอาดีน เด็นยี

ตำบลแค อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานแรงงานนอกระบบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่ (คน)

 

0.00
2 ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ

 

30.00
3 จำนวนมาตราการในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน

 

0.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่

จำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่ เพิ่มขึ้น(คน)

0.00 20.00
2 เพื่อลดจำนวนแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ

ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ ลดลง

30.00 20.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนมาตราการ ในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน

มีจำนวนมาตราการในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน เพิ่มขึ้น

0.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดตั้งอาสาสมัครอาชีวอนามัย(อสอช.) ตำบลแค

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดตั้งอาสาสมัครอาชีวอนามัย(อสอช.) ตำบลแค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดตั้งอาสาสมัครอาชีวอนามัย ให้ความรู้และพัฒนาทักษะเกี่ยวกับอาชีวอนามัยเชิงรุก การประเมินความเสี่ยง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการใช้งานแอพลิเคชั่นในการสำรวจข้อมูล
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คน คนละ 50 บาท เป็นเงิน 1000 บาท
2. ค่าอาหารว่าง จำนวน20 คน คนละ 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 1000 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3000 บาท
4. ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 20 ชุด ชุดละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท
5. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 1000 บาท
6. ค่าจัดทำป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.20 x 2.40 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 พฤษภาคม 2563 ถึง 7 พฤษภาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เกิดกลุ่มอาสาสมัครอาชีวอนามัย ตำบลแค จำนวน 20 คน
  2. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับอาชีวอนามัยเชิงรุก การประเมินความเสี่ยง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการใช้งานแอพลิเคชั่นในการสำรวจข้อมูล
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

กิจกรรมที่ 2 สำรวจข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพและระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา

ชื่อกิจกรรม
สำรวจข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพและระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพและระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา โดยใช้แอพลิเคชั่น
งบประมาณ
1. ค่าตอบแทนการสำรวจข้อมูล จำนวน 50 ชุด ชุดละ 30 บาท เป็นเงิน 1500 บาท
2. ค่าตอบแทนการบันทึกข้อมูลลงในระบบฐานข้อมูล จำนวน 50 ชุด ชุดละ 20 บาท เป็นเงิน 1000 บาท
2. ค่าจัดทำเอกสารการสำรวจข้อมูล จำนวน 50 ชุด ชุดละ 10 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 พฤษภาคม 2563 ถึง 31 พฤษภาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดฐานข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพและระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลแค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม และพัฒนามาตรการ ข้อตกลง ข้อเสนอนโยบายในการส่งเสริมป้องกันโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม และพัฒนามาตรการ ข้อตกลง ข้อเสนอนโยบายในการส่งเสริมป้องกันโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเชิงปฏิบัติการตัวแทนผู้นำชุมชน ตัวแทน อสอช. และตัวแทนผู้ประกอบอาชีพ จำนวน 50 คน ระยะเวลา 2 วัน
วันที่ 1 ร่วมกันพัฒนารูปแบบการจัดการความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
วันที่ 2 ร่วมกันพัฒนามาตรการ ข้อตกลง ข้อเสนอนโยบายในการส่งเสริมป้องกันโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คน คนละ 50 บาท 2 วัน เป็นเงิน 2000 บาท
2. ค่าอาหารว่าง จำนวน 20 คน คนละ 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท 2 วัน เป็นเงิน 2000 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 10 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 6000 บาท
4. ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 20 ชุด ชุดละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท
5. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 1000 บาท
6. ค่าจัดทำป้ายไวนิลรณรงค์มาตรการ ข้อตกลง ข้อเสนอนโยบายในการส่งเสริมป้องกันโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ ขนาด 1.20 x 2.40 เมตร ผืนละ 500 บาท จำนวน 5 ผืน เป็นเงิน 2500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มิถุนายน 2563 ถึง 17 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เกิดรูปแบบการจัดการความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลแค
  2. เกิดมาตรการ ข้อตกลง ข้อเสนอนโยบายในการส่งเสริมป้องกันโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 4 อบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลแค จำนวน 50 คน
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คน คนละ 50 บาท เป็นเงิน 1000 บาท
2. ค่าอาหารว่าง จำนวน 20 คน คนละ 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 1000 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3000 บาท
4. ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 20 ชุด ชุดละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท
5. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 1000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 กรกฎาคม 2563 ถึง 8 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลแคเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6500.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมถอดบทเรียนและพัฒนานวัตกรรมการลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา

ชื่อกิจกรรม
ประชุมถอดบทเรียนและพัฒนานวัตกรรมการลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตัวแทนผู้นำชุมชน ตัวแทน อสอช. และตัวแทนผู้ประกอบอาชีพ จำนวน 20 คน ประชุมร่วมกันเพื่อถอดบทเรียนและพัฒนานวัตกรรมการลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คน คนละ 50 บาท เป็นเงิน 1000 บาท
2. ค่าอาหารว่าง จำนวน 20 คน คนละ 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 1000 บาท
3. ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 20 ชุด ชุดละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท
4. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 สิงหาคม 2563 ถึง 26 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เกิดบทเรียนจากการดำเนินงานส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา
  2. เกิดนวัตกรรมการลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกิดฐานข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพและระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลแค
2. เกิดกลุ่มอาสาสมัครอาชีวอนามัย ตำบลแค ที่มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับอาชีวอนามัยเชิงรุก การประเมินความเสี่ยง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการใช้งานแอพลิเคชั่นในการสำรวจข้อมูล
3. เกิดรูปแบบการจัดการความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลแค
4. เกิดมาตรการ ข้อตกลง ข้อเสนอนโยบายในการส่งเสริมป้องกันโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ
5. กลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลแคเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ
6. เกิดบทเรียนจากการดำเนินงานส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา
7. เกิดนวัตกรรมการลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา


>