กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการร้านชำคุณภาพ ผู้ประกอบการรอบรู้ ผู้บริโภคอย่างปลอดภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเรือ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเรือ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาการสาธารณสุขในอดีตมีนโยบายพัฒนานโยบายการสาธารณสุขที่เน้นในการให้บริการรักษาพยาบาลเป็นหลัก มีการขยายบริการโดยการสร้างสถานบริการสาธารณสุขระดับต่างๆ ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศจนกระทั่งมีการกำหนดทิศทางการพัฒนามาสู่โยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อพัฒนาการสาธารณสุขให้ครอบคลุมทั้งด้านการรักษาพยาบาลการ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค โดยมีเป้าหมายการพัฒนาให้ได้มาตรฐานเสมอภาคและเท่าเทียมกันโดยกำหนดยุทธศาสตร์นโยบายและแผนเพื่อให้มีการดูแลประชาชนอย่างทั่วถึงสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนในการดูแลสุขภาพคนไทยตื่นตัวและเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพโดยการออกกำลังกาย การดูแลด้านอาหารและโภชนาการ การดูแลจัดการบริหารจิตและอารมณ์ การจัดการสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพื่อลดโรคและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ และหัวใจโรคเบาหวาน ภาวะอ้วนลงพุงและมะเร็งเป็นต้น
ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ เป็นต้นมา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเรือ ตำบลหารเทา ได้ดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้
บริโภคกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม เช่น การเฝ้าระวังสิ่งปลอมปนในอาหารสด การเฝ้าระวังอาหารทอดซ้ำ การสำรวจร้านชำและประเมินร้านชำคุณภาพ การเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน พบว่าผู้ประกอบการแต่ละกิจกรรมการมีคุณภาพโดยรวมในระดับหนึ่งที่สามารพัฒนาให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยเพื่อเป็นหลักประกันความปลอดภัยให้กับประชาชนในชุมชนได้เกี่ยวกับอาหารยา เครื่องสำอาง วัตถุมีพิษที่ใช้ในครัวเรือน สารปรุงแต่งอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร เป็นต้น ซึ่งแหล่งผลิต และการประกอบการเหล่านี้เป็นที่มาของอาหารและผลิตภัณฑ์ที่ชุมชนนำมาสู่การบริโภคในครัวเรือนที่ไม่ได้มาตรฐานจากร้านชำในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอาง ที่ไม่ได้คุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน และยังจำหน่ายยาบางชนิดที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านชำ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือก ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอาง ที่มีคุณภาพ ความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านชำ และจำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชนได้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเรือ ตำบลหารเทา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของงานคุ้มครองผู้บริโภคจึงได้จัดทำโครงการร้านชำคุณภาพ ผู้ประกอบการรอบรู้ ผู้บริโภคอย่างปลอดภัยเพื่อพัฒนาคุณภาพร้านขายของชำ และผู้ประกอบการด้านอาหารในชุมชนให้ได้ตามเกณฑ์คุณภาพรับรองเพื่อให้สามารถเป็นแหล่งอาหารและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องแก่ชุมชนได้ อันจะส่งผลให้ประชาชนในชุมชนมีสุขภาพดีในอีกองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าองค์ประกอบด้านอื่นๆ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่ออบรม/ฟื้นฟูความรู้แกนนำชุมชน และผู้ประกอบการร้านชำและผู้ประกอบการด้านอาหาร
  • มีแกนนำชุมชนและผู้ประกอบการร้านชำและผู้ประกอบการด้านอาหาร ๑.แกนนำชุมชน  จำนวน  ๓ หมู่บ้าน  รวม ๑๕ คน ๒.ผู้ประกอบการร้านชำ ๒๐ คน ๓.ผู้ประกอบการด้านอาหาร ๑๐ คน
0.00
2 2.เพื่อส่งเสริมให้ร้านชำและผู้ประกอบการด้านอาหาร พัฒนากิจการได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน
  • มีร้านชำคุณภาพ และสถานประกอบการด้านอาหารในหมู่บ้าน/ชุมชน
    ที่พัฒนาได้ตามเกณฑ์ ครอบคลุม ร้อยละ ๙๐
0.00
3 3.เพื่อสนับสนุนให้ชมรม /เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม

-ชมรม/เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค มีการพัฒนาได้ตามเกณฑ์ มีคณะกรรมการ ดำเนินการ  มีกองทุน และกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 105
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมบุคลากรสาธารณสุข อสม.และแกนนำชุมชน ชี้แจงโครงการและแต่งตั้งคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมบุคลากรสาธารณสุข อสม.และแกนนำชุมชน ชี้แจงโครงการและแต่งตั้งคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.ป้ายโครงการ ๑ ป้าย เป็นเงิน ๖๐๐  บาท  เป็นเงิน ๖๐๐ บาท ๒.ค่าอาหารว่าง,เครื่องดื่ม ๑ มื้อ x ๒๕ บาท เป็นเงิน  ๑,๕๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2100.00

กิจกรรมที่ 2 2.อบรมผู้ประกอบการและคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
2.อบรมผู้ประกอบการและคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.ค่าอาหารว่าง,เครื่องดื่ม ๒ มื้อ x ๒๕ บาท เป็นเงิน  ๒,๒๕๐ บาท ๒.ค่าอาหารกลางวัน ๑  มื้อ x ๕๐ บาท เป็นเงิน  ๒,๒๕๐ บาท
๓.ค่าเอกสาร ๔๕ ชุด x ๔๐ บาท  เป็นเงิน ๑,๘๐๐ บาท
๔.ค่าเกียรติบัตรผ่านการอบรมใส่กรอบ จำนวน ๓๐ ชุด x ๑๕๐ บาท  เป็นเงิน ๔,๕๐๐ บาท
๕.ค่าสมนาคุณวิทยากร ๓,๐๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13800.00

กิจกรรมที่ 3 3.ติดตามพัฒนา และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โดยกลวิธีสร้าง The Trainer

ชื่อกิจกรรม
3.ติดตามพัฒนา และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โดยกลวิธีสร้าง The Trainer
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.ค่าเกียรติบัตรรางวัลใส่กรอบ จำนวน ๑๐ ชุด x ๑๕๐ บาท เป็นเงิน ๑,๕๐๐ บาท
๒.เงินรางวัล/ของรางวัล ๓,๐๐๐ บาท
๓.ค่าสมนาคุณกรรมการ ๑,๘๐๐ บาท
๔.ค่าวัสดุสนับสนุนการดำเนินการพัฒนา เป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท
๕.ค่าวัสดุในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เป็นเงิน ๕,๗๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.มีแกนนำและเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคที่เข้มแข็ง
๒.หมู่บ้าน/ชุมชน มีร้านชำคุณภาพและมีการประกอบการด้านอาหารอื่นๆ ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน ครอบคลุมและเป็นรูปธรรม
๓.ประชาชนเข้าถึงสินค้าคุณภาพได้มากขึ้น
๔.สุขภาพของประชาชนดีขึ้นมีความรัก สามัคคี และสัมพันธภาพที่ดีในหมู่คณะ
๕.กลุ่มเยาวชนได้เรียนรู้ทักษะการป้องกันยาเสพติด


>