กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการควบคุม ป้องกันโรคติดต่อและไข้เลือดออก หมู่ที่ 2 บ้านหารเทา ปีงบประมาณ 2563

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุม ป้องกันโรคติดต่อและไข้เลือดออก หมู่ที่ 2 บ้านหารเทา ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่ที่ 2 บ้านหารเทา

1.นางพรรณี พานิชสุโข
2.นางบุษบา ศุภเวช
3.น.ส.สุพรรณี ชูแก้ว
4.นางหนูจัดเสือพริก
5.น.ส.ณัฐสิตา สุวรรณชัย

หมู่ที่ 2 บ้านหารเทา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันโรคติดต่อที่นำโดยแมลงและโรคติดต่อจากสาเหตุอื่นๆนั้น นับว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในระดับประเทศ และจากภาวะโรคร้อน อากาศแปรรวน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโรคติดต่อที่สำคัญ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคติดต่ออื่นๆ เพื่อเป็นการดูแลผู้ป่วยและเฝ้าระวังโรคติดต่อที่สำคัญแก่ประชาชนในเขตรับผิดชอบของหมู่ที่ 2 บ้านหารเทา ตำบลหารเทา จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญแก่ประชาชนในเขตรับผิดชอบ เพื่อพัฒนาศักยภาพทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อม ครบถ้วนของการเฝ้าระวังและการสอบสวนโรคและส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ พร้อมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 บ้านหารเทา ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง รวมถึงภาคี เครือข่ายอื่นๆ ในชุมชน ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาโรคติดต่อและปัจจัยของภะยสุขภาินพอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จึงดำเนินการจัดโครงการควบคุม ป้องกันโรคติดต่อและไข้เลือดออก หมู่ที่ 2 บ้านหารเทา ปีงบประมาณ 2563 ขึ้น เพื่อดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชน รวมถึงเป็นการสร้างเกราะป้องกันและรณรงค์ให้เกิดจิตสำนึกของชุมชนให้มีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาพที่ดี ส่งผลต่อการลดลงของอัตรป่วยด้วยโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชนของและการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการเฝ้าระวังโรค การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชน

1.ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในบ้าน (Container lndex=0) และบริเวณบ้าน (House lndex=0)

0.00
2 2.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชน

2.อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออดลดลง 20 %

0.00
3 3.เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนและหน่วยงานเห็นความสำคัญและตระหนักถึงภัยโรคไข้เลือดออก

3.ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ

0.00
4 4.เพื่อสร้างความร่วมมือร่วมใจของชุมชนและโรงเรียนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

4.มีบ้านตัวอย่าง แหล่งเรียนรู้กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ

0.00
5 5.เพื่อเร่งรัดการเฝ้าระวัง การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชน

5.ชุมชนมีการเฝ้าระวัง การควบคุมและป้องกันโรคตืดต่อและภัยสุขภาพอย่างเป็นระบบและมีอัตราป่วยจากโรคและภัยสุขภาพลดลง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/12/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.รณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ และการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในระดับครัวเรือนและชุมชนตามวิถีชุมชน

ชื่อกิจกรรม
1.รณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ และการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในระดับครัวเรือนและชุมชนตามวิถีชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 20 คน x 25 บาท x 5 ครั้ง เป็นเงิน 2,500 บาท -ค่าไฟฉายสำรวจลูกน้ำยุงลาย 10 กระบอก ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท -ค่าถ่ายเอกสารแบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย ชุดละ 2 บาท จำนวน 200 บาท เป็นเงิน 400 บาท -ค่าป้ายรณรงค์ไข้เลือดออก 3 ป้ายๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6200.00

กิจกรรมที่ 2 2.ดำเนินการเร่งรัดการเฝ้าระวัง การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อเฉพาะโรค ได้แก่ ไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
2.ดำเนินการเร่งรัดการเฝ้าระวัง การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อเฉพาะโรค ได้แก่ ไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าผ้าห่อทรายอะเบทเป็นเงิน200 บาท -ค่าตอบเเทนคนพ่นหมอกควันในโรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ จำนวน 2 คน ครั้งละ 300 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน1,200 บาท -ค่าสเปรย์กำจัดยุ่งลาย 80 บาท (วันที่ 0 ของการเกิดโรค) จำนวน 20 กระป๋อง เป็นเงิน1,600บาท -ค่าตอบแทนคนพ่นหมอกควัน (วันที่ 3 และ 7 ของการเกิดโรค)จำนวน 1 คน ครั้งละ 200 บาท จำนวน 20 ครั้งเป็นเงิน 4,000บาท -ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการพ่นหมอกควันเป็นเงิน2,000 บาท -ค่าโลชั่นทากันยุง ขวดละ 60 บาท 20 ขวดเป็นเงิน 1,200 บาท -ขอรับการสนันสนุนทรายอะเบท จากเทศบาลตำบลหารเทา -ขอรับการสนับสนุนเรื่องพ่นหมอกควันและน้ำยากำจัดยุงลายตัวแก่ จากเทศบาลตำบลหารเทา

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการเฝ้าระวังโรค การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชนเพิ่มขึ้น
2.ชุมชนมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันในชุมชน
3.ชุมชนมีการเร่งรัดในการเฝ้าระวัง การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องขึ้น
4.ประชาชนในชุมชนได้รับการสนับสนุนให้มีส่วนร่วมในการการเฝ้าระวังโรค การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชนเพิ่มขึ้น
5.อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อในชุมชนคงที่หรือลดลง


>