กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเรื้อรังความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ประจำปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบองอ

ทุกเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบองอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

 

517.00
2 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวาน

 

150.00
3 จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

 

26.00

จำนวนผู้ป่วยโรคควาโรคติดต่อเรื้อรังเบาหวานและความดันโลหิตสูงปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต และเป็นโรคที่ก่อให้เกิดโรคที่มีความรุนแรง และเสียค่าใช่จ่ายสูง เช่นโรคไต โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดความพิการและกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน กระทรวงสาธารณสุขเผยสถานการณ์และความรุนแรงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตถึงร้อยละ ๗๓ ของการเสียชีวิตของประชากรทั้งหมด โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจพบว่าอัตราตายเท่ากับ๒๘.๙๒ ต่อประชากรแสนคน หรือ เท่ากับ ๑๘,๙๒๒ คน เฉลี่ยชั่วโมงละ ๒ คน ส่วนหลอดเลือดสมองมีอัตราตายสูงสุด และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เฉลี่ยทุกๆ ๑ ชั่วโมง จะมีคนตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองประมาณ ๓ คน โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย จากสถานการณ์ปัจจุบันพบว่า อัตราชุกของโรคเหล่านี้ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นแบบชันอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ระดับคุณภาพของระบบงานในการดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่ ยังดำเนินการในลักษณะตั้งรับ มีการจัดการกับพฤติกรรมเสี่ยงน้อย ระบบติดตามภาวะแทรกซ้อนยังขาดความต่อเนื่อง นอกจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแล้วยังรวมถึงโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
จากข้อมูลการเจ็บป่วยของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง และโรคมะเร็งในพื้นที่เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบองอ พบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๙–๒๕๖๑ มี จำนวน ๔๒๗ , ๔๒๔และ๕๑๗ คน ตามลำดับ และจำนวนผู้ป่วยเบาหวานในปี พ.ศ.๒๕๕๙–๒๕๖๑ มี จำนวน ๑๒๓ , ๑๒๘ และ๑๕๐ คนตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกกปี จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในปี พ.ศ.๒๕๕๙–๒๕๖๑ มี จำนวน ๓๕ , ๑๐ และ๒๖ คนตามลำดับ จำนวนผู้ป่วยไต ในปี พ.ศ.๒๕๕๙–๒๕๖๑ มี จำนวน ๒๕ , ๓๐ และ๓๓ คนตามลำดับ และจำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจ ในปี พ.ศ.๒๕๕๙–๒๕๖๑ มี จำนวน ๒๒ , ๑๐ และ๑๑ คนตามลำดับ จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่ายังมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและในปี ๒๕๖๒ ผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ร้อยละ ๓๒.๕๖ และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันโลหิตได้เพียงร้อยละ ๒๓.๙๓
ด้วยสาเหตุและความจำเป็นดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบองอ จึงได้จัดทำโครงการมหกรรมดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังแบบครบวงจร ประจำปี ๒๕๖๓ นี้ขึ้นมาโดยจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้เข้าถึงบริการการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ตา ไต เท้าตามมาตรฐานในเชิงรุก ลดความแออัดในการให้บริการที่โรงพยาบาลและสามารถค้นหาภาวะแทรกซ้อนได้เร็วขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานที่พบภาวะแทรกซ้อนตา ไต เท้า หัวใจและหลอดเลือดได้รับการดูแลและส่งต่อโดยทีมสหสาขาวิชาชีพได้เร็วขึ้นทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ลง ร้อยละ ๕

จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน รายใหม่ ลดลง ร้อยละ ๕

10.00 5.00
2 ๒. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการคัดกรอง BP at Home

กลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการคัดกรอง BP at Home ร้อยละ ๙๐

65.00 90.00
3 ๓. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานที่ขาดยาได้เข้าถึงบริการการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนตามมาตรฐาน

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานที่ขาดยาได้เข้าถึงบริการการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนตามมาตรฐาน ร้อยละ ๘๐

70.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 243
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 31/12/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมให้ความรู้การดูแลตนเองในกลุ่มผู้ป่วยที่ควบคุมไม่ได้

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมให้ความรู้การดูแลตนเองในกลุ่มผู้ป่วยที่ควบคุมไม่ได้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.ให้ความรู้การดูแลตนเอง ในกลุ่มป่วยที่ควบคุมไม่ได้ เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยมีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง และสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและเบาหวานได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้ -ค่าป้ายโครงการ ๑ แผ่นขนาด ๑ x ๓ เมตร เป็นเงิน๗๕๐บาท -ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม๕๑ คน x ๒๕ บาท x ๒ มื้อ เป็นเงิน ๒,๕๕๐บาท -ค่าอาหารกลางวัน ๕๑ คน x ๕๐ บาท เป็นเงิน ๒,๕๕๐บาท รวมเป็น๕,๘๕๐บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ป่วยมีความรู้ในการดูแลตนเอง ร้อยละ 80
  2. สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และระดับความดันโลหิตสูงได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5850.00

กิจกรรมที่ 2 1.กิจกรรมตรวจคัดกรองตามบ้าน BP at Home ในกลุ่มเสี่ยงสูง วันละ ๒ ครั้ง ครบ ๗ วัน

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมตรวจคัดกรองตามบ้าน BP at Home ในกลุ่มเสี่ยงสูง วันละ ๒ ครั้ง ครบ ๗ วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพอย่างต่อเนื่อง วันละ ๒ ครั้ง เช้าและก่อนนอน ครบ ๗ วัน โดยมีรายละเอียดดังนี้ -ค่าวัสดุในการคัดกรอง -เครื่องวัดความดัน ๑๐เครื่องๆละ ๒,๕๐๐ บาท เป็นเงิน ๒๕,๐๐๐บาท
-ตลับวัดรอบเอว๑๐อันๆละ๙๐บาท เป็นเงิน ๙,๐๐๐บาท -เครื่องชั่งน้ำหนัก ๑๐ เครื่องๆละ ๗๕๐ บาท เป็นเงิน ๗,๕๐๐บาท รวมเป็น ๔๑,๕๐๐บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยได้รับการคัดกรอง BP at Home ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
41500.00

กิจกรรมที่ 3 3.กิจกรรมให้ความรู้การดูแลตนเองในกลุ่มป่วยที่ขาดยา พร้อมตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ตา ไต เท้า

ชื่อกิจกรรม
3.กิจกรรมให้ความรู้การดูแลตนเองในกลุ่มป่วยที่ขาดยา พร้อมตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ตา ไต เท้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรองกลุ่มป่วยตามมาตรฐาน เจาะเลือดตรวจตา ไต เท้า และส่งต่อเมื่อพบภาวะแทรกซ้อน โดยมีรายละเอียดดังนี้ -ค่าอาหารกลางวัน ๑๐๐ คน x ๕๐ บาท เป็นเงิน ๕,๐๐๐บาท -ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม๑๐๐ คน x ๒๕ บาท x ๒ มื้อ เป็นเงิน ๕,๐๐๐บาท -ค่าวิทยากร ๖ ชั่วโมงๆละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน ๓,๖๐๐บาท รวมเป็น ๑๓,๖๐๐บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ตามมาตรฐาน เจาะเลือดตรวจตาตรวจเท้า ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 60,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ลง
๒.กลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการคัดกรอง BP at Home
๓.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานที่ขาดยาได้เข้าถึงบริการการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนตามมาตรฐาน


>