กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพลังชุมชนใส่ใจสุขภาพ ห่างไกลโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 5

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 5

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

28.66
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

18.00

ปัจจุบันประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลกระทบมาจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การแข่งขันทางการตลาด การสื่อสารและการคมนาคม รวมถึงการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของประชาชนไทยเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากในอดีตปัญหาสุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ แต่ในปัจจุบัน และในอนาคต ปัญหาสุขภาพจะมีผลกระทบมาจากสังคม สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมมากขึ้นตามลำดับ จะเห็นได้จากพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เช่น พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมความปลอดภัย การใช้ยาและสารเสพติด ปัญหาสุขภาพจิต เป็นต้น ดังนั้นการดำเนินการในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ จำเป็นจะต้องพัฒนาประชาชนให้มีองค์ความรู้ และทักษะที่จำเป็น และพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม เพื่อให้ประชาชนสามารถส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้แก่ตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้ นโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าช่วยคนไทยห่างไกลโรค มีเป้าหมายที่สำคัญ คือ การสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน และลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว โดยใช้กระบวนการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนให้การดำเนินงานช่วยคนไทยห่างไกลโรคให้บรรลุผลสำเร็จ โดยการส่งเสริมให้มีความรู้ และทักษะในการดูแลตนเอง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้หลัก 3อ.2ส. เป็นหลัก เพื่อให้มีสุขภาวะในทุกด้าน หลังการตรวจคัดกรองความเสี่ยงเพื่อค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น
จากการสำรวจพบว่าผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่ ไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เนื่องจากระยะดังกล่าวผู้ป่วยมักไม่มีอาการแสดงออกมาทำให้ไม่ทราบว่าตัวเองกำลังป่วยซึ่งจะตรวจพบโดยบังเอิญเมื่อมารับบริการตรวจรักษาด้วยโรคอื่นๆ และในบางรายตรวจพบเมื่อมีอาการรุนแรงทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เกิดความพิการ หรือสูญเสียชีวิตตามมา การตรวจคัดกรองโรคเหล่านี้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทำให้สามารถค้นพบกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ลดอัตราการเกิดผู้ป่วยรายใหม่และลดอัตราการตายจากภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยกลุ่มโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้าจุฬาภรณ์พัฒนา 5 มีอัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 46.57, 10.22, 12.83, 21.46 และ 65.30 ตามลำดับ โรคเบาหวาน ร้อยละ 26.36, 1.46, 12.83, 9.82 และ 15.18 ตามลำดับ ความเจ็บป่วยจากโรคเรื้อรังเหล่านี้เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงที่สามารถป้องกันได้ เช่น การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม การสูบบุหรี่สิ่งมึนเมา สารเสพติด รวมทั้งเกิดจากความเครียดและการขาดการออกกำลังกาย ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้าจุฬาภรณ์พัฒนา 5 ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว และมีความจำเป็นนการพัฒนาทักษะแกนนำในการตรวจคัดกรองโรค จึงจัดทำโครงการ พลังชุมชนใส่ใจสุขภาพ ห่างไกลโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2563 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

28.66 20.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

18.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 150
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 160
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่ม อสม. 51

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมคัดกรอง และฝึกทักษะในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมคัดกรอง และฝึกทักษะในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดซื้ออุปกรณ์เครื่องวัดความดัน

- ค่าอุปกรณ์เครื่องวัดความดันจำนวน 10 เครื่อง X 2,500 บาท เป็นเงิน 25,000บาท 2. อบรมเชิงปฎิบัติการเพื่อพัฒนาความรู้ และฟื้นฟูทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่ผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยง และการดูแลสุขภาพตนเองให้เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข ประเมินพฤติกรรมสุขภาพเบื้องต้น โดยใช้แบบสอบถามด้วยวาจาเพื่อคัดกรองและสอบถามเบื้องต้นใน 7 ประเด็น ได้แก่ การดื่มสุรา การสูบบุหรี่และการใช้สารเสพติด การออกกำลังกาย การเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจร การใช้ยาชุด สุขภาพจิต การรับประทานอาหาร (รสหวาน มัน เค็ม) และ ตรวจประเมินสุขภาพ พร้อมจดบันทึกข้อมูลโดย การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว คำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย วัดความดันโลหิต เจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด และการดูแลติดตามที่บ้านผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 51 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 2,550 บาท
- ค่าอาหารกลางวันจำนวน 51 คน x 50 บาท เป็นเงิน 2,550 บาท - ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1x3 เมตร เป็นเงิน 750 บาท - ค่าวิทยากร 6 ชม.ๆ 600 บาทเป็นเงิน 3,ุ600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมและได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34450.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมในกลุ่มเสี่ยงความดันเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
อบรมในกลุ่มเสี่ยงความดันเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสำหรับกลุ่มเสี่ยง
  2. ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  3. จัดกิจกรรมคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงใน พร้อมแจ้งผลการคัดกรองให้กลุ่มเป้าหมายทราบ
  4. ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มที่เสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  5. จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้กับกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  6. ประเมินก่อนและหลังการอบรม

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 75 คน x 25 บาท x 2 มื้อ x 2 รุ่นเป็นเงิน 7,500 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 75 คน x 25 บาท x 2 มื้อ x 2 รุ่นเป็นเงิน 7,500 บาท
- ค่าเช่าเต้น และเก้าอี้จำนวน2 รุ่นๆละ 1,000 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
- ค่าเช่าเครื่องเสียง จำนวน2 รุ่นๆละ 800 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18600.00

กิจกรรมที่ 3 การดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ขาดการดูแลอ่างต่อเนื่อง

ชื่อกิจกรรม
การดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ขาดการดูแลอ่างต่อเนื่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมให้ความรู้เสริมทักษะการดูแลตนเองและลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
  2. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพระหว่างผู้ป่วยในชุมชน
  3. ตรวจเลือด ตรวจตา จากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลระแงะ
  4. ตรวจฟันและเท้า เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้าจุฬาภรณ์พัฒนา ๕
  5. ตรวจสุขภาพและวินิจฉัย โดยแพทย์จากโรงพยาบาลระแงะ
  6. จ่ายยา โดยเภสัชกร โรงพยาบาลระแงะ
  7. ตรวจคัดกรอง ๒Q และให้สุขศึกษา
  8. กิจกรรม "เคล็ดลับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อควบคุมความดันและระดับน้ำตาลในเลือด

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน50 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน2,500บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน50 คน x 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าวิทยากร 6 ชม.ๆ 600 บาทเป็นเงิน3,ุ600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 61,650.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีสุขภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงได้ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและลดการป่วยตายด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้
2. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมและได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
3. อัตราป่วยตายด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานลดลง


>