กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองควนลัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองควนลัง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ฝ่ายบริการสาธารณสุข

โรงเรียนในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองควนลัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and rapid response Team: SRRT) เป็นกลไกในการจัดการกับปัญหาการเกิดโรค ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขหรือภัยคุกคามสุขภาพมีผลกระทบทางสุขภาพเกิดการเจ็บป่วย และเสียชีวิต นั่นหมายถึงความสามารถของบุคลากรที่ร่วมทีมในพื้นที่ ต้องมีความรับผิดชอบเฝ้าระวัง และตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพซึ่งต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายภาคประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน การดำเนินงานจึงจะสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ก้าวต่อไปในการทำงานของทีม SRRT ทุกระดับ มุ่งหวังให้ทีม SRRT มีการยกระดับเป็นทีมที่สามารถทำหน้าที่เฝ้าระวัง ค้นหาเหตุการณ์ผิดปกติได้เร็วขึ้น มีการตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ สื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม และมีความพร้อมในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้ทันทีโดยที่ผ่านมาปีงบประมาณ พ.ศ. 2557ได้ดำเนินโครงการฝึกอบรมเพื่อจัดตั้งทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ได้ดำเนินโครงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว และปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ได้ดำเนินโครงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทีมเฝ้าระวังสอบสวน เคลื่อนที่เร็วแต่ในการดำเนินงานจำเป็นต้องมีการอบรมฟื้นฟูและพัฒนาทีมอย่างต่อเนื่องทุกปีเพื่อเตรียมความพร้อมรับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข โรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำและโรคที่เป็นปัญหาของพื้นที่
ดังนั้นงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อฝ่ายบริการสาธารณสุขกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมได้จัดทำ“โครงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and rapid response Team: SRRT) เทศบาลเมืองควนลัง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563” โดยขอสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองควนลังจำนวน160,000.-บาท(เงินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาทถ้วน)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมฝึกอบรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมฝึกอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑. เตรียมความพร้อมในการดำเนินการ 2. จัดทำโครงการฯเพื่อขออนุมัติจากผู้บริหารเทศบาลเมืองควนลัง 3. เสนอโครงการฯ เพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองควนลัง           4. ประชุมชี้แจงรายละเอียดของโครงการฯร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 5. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดำเนินงานตามโครงการฯ 6. ติดต่อประสานงานกับทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) เทศบาลเมืองควนลัง เพื่อจัดฝึกอบรมพัฒนาทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว(SRRT)
        7. ติดต่อประสานงานกับวิทยากร สมาชิกสภาเทศบาล ผู้นำชุมชน อาสาสมัครแกนนำสุขภาพฯและกองวิชาการและแผนงานเพื่อขอความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์โครงการฯ
ขั้นดำเนินงาน 1. กิจกรรมการฝึกอบรม 1.1 จัดฝึกอบรมทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว(SRRT) ระดับตำบล ให้มีความรู้ในการเฝ้าระวังป้องกันโรค ให้สามารถรับมือการระบาดของโรค ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. กิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรค 2.1 จัดเตรียมความพร้อมรับการระบาดของโรค หรือโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ และโรคที่เป็นปัญหาของพื้นที่เพื่อรองรับการระบาดของโรค ก่อนเกิด ขณะเกิด และภายหลังเกิดโรค หรือเหตุการณ์ตามบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบ 2.2 สอบสวน ป้องกัน และควบคุมโรค (กรณีพบผู้ป่วย) 2.3 เปิด War Room ในกรณีเกิดโรคอุบัติใหม่ มีการระบาดใหญ่ เกิดภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข หรือภัยคุกคามสุขภาพที่มีผลกระทบทางสุขภาพเกิดการเจ็บป่วย และเสียชีวิต 2.4 สรุปผลการดำเนินการเสนอผู้บังคับบัญชา และรายงานผลการดำเนินงานให้แก่คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองควนลัง

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) เทศบาลเมืองควนลัง มีความรู้ เข้าใจความเสี่ยงต่อการระบาดใหญ่ของโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ และภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข และบทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องในการป้องกัน แก้ไขปัญหา
  2. ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) เทศบาลเมืองควนลัง สามารถดำเนินการตอบสนองต่อการระบาดของโรค และภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ และโรคสงบ
  3. มีความพร้อมในการรับมือการระบาดของโรค และการประสานงานระหว่างหน่วยงานในตำบลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
160000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 160,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) เทศบาลเมืองควนลัง มีความรู้ เข้าใจความเสี่ยงต่อการระบาดใหญ่ของโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ และภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข และบทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องในการป้องกัน แก้ไขปัญหา
2. ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) เทศบาลเมืองควนลัง สามารถดำเนินการตอบสนองต่อการระบาดของโรค และภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ และโรคสงบ
3. มีความพร้อมในการรับมือการระบาดของโรค และการประสานงานระหว่างหน่วยงานในตำบลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


>