กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านควน ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

รพ.สต.บ้านควน2

1.นางสุกัญญาลัสมาน
2.นางนฤมลโต๊ะหลัง
3.นางอารีนีหมัดสะแหละ

รพ.สต.บ้านควน2

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก และยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมาพบผู้ป่วยไข้เลือดออก จะพบในกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 5-9 ปี แต่ในปัจจุบันสามารถพบได้ทุกกลุ่มอายุ ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการรณรงค์เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 และดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกยังคงมีการระบาดทุกปีเพื่อเป็นการดูแลผู้ป่วยและเฝ้าระวังโรคติดต่อที่สำคัญแก่ประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2563ที่สำคัญแก่ประชาชนในเขตรับผิดชอบ เพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อม ครบถ้วนของการเฝ้าระวังและการสอบสวนโรคและส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ พร้อมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพต่อไป จากรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน ปี2560– 2562พบมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน9,14 และ 10 รายตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนแสนประชากรเท่ากับ 239.11, 371.94,265.67 ตามลำดับจะเห็นได้ว่าอัตราการป่วย
โรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน มีนาคม - กันยายน ของทุกปีซึ่งเป็นช่วงระหว่างปิดภาคเรียนพอดี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุนชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียนและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องโรคไข้เลือดออกสามารถป้องกันได้โดยการให้ประชาชนร่วมมือกันทำความสะอาด ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของบ้านและชุมชน โดยนำมาตรการป้องกันโรคไข้เลือดออก 5 ป 1 ข มาใช้ ได้แก่1. ปิด ปิดภาชนะกักเก็บน้ำ2. เปลี่ยนเปลี่ยนถ่ายน้ำ ทุก 7 วัน เช่น แจกันดอกไม้ ถังเก็บน้ำสำหรับอาบ 3. ปล่อยปลาหางนกยูง หรือปลากินลูกน้ำในอ่างบัว หรือที่กักเก็บน้ำที่ไม่มีฝาปิด 4. ปรับปรุง สิ่งแวดล้อมไม่ให้มีน้ำขังในที่ต่างๆ 5. ปฏิบัติการดังกล่าวข้างต้นเป็นประจำทุกสัปดาห์ และในช่วงฤดูร้อนต่อช่วงฤดูฝนต้องเพิ่ม 1 ข คือ ขัดภาชนะที่เคยใช้กักเก็บน้ำก่อนมารองรับน้ำครั้งใหม่
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน ร่วมกับ อสม. หมู่ที่1,4จึงได้จัดทำกิจกรรมโครงการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านควน ปีงบประมาณ 2563ขึ้น เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชนมิให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไปในวงกว้าง ป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดโรคและดำเนินการอย่างต่อเนื่องเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชนสถาบัน ต่างๆ โรงเรียน รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไปได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคและร่วมกับชุมชน บริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เช่น จัดกิจกรรม Big Cleaning Day ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกดีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำชุมชน และอสม.มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละ 100ของแกนนำชุมชนและ อสม.มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

55.00 55.00
2 เพื่อเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50ต่อ 100000 ประชากร

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อสม.และผุ้นำชุมชน 55

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 31/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เตรียมความพร้อมก่อนทำโครงการ

ชื่อกิจกรรม
เตรียมความพร้อมก่อนทำโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (อบต.,อสม.,ผู้ใหญ่บ้าน,)ร่วมกันวางแผนดำเนินการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีโครงการนำเสนอกับ อบต.

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมแกนนำชุมชนและ อสม.

ชื่อกิจกรรม
อบรมแกนนำชุมชนและ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ทำหนังสือแจ้งการอบรมแก่กลุ่มเป้าหมาย
2.จัดอบรมแกนนำชุมชนและ อสม.ในเรื่องการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน
- ประเมินความรู้ก่อนการอบรม
- ประเมินความรู้หลังการอบรม
3.ร่วมกันวางแผนการเฝ้าระวังและติดตามการสุ่มลูกน้ำยุงลายในชุมชน

งบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มของแกนนำชุมชนและ อสม.จำนวน 55 คน x 1มื้อๆละ 75 บาท เป็นเงิน4,125 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มของแกนนำชุมชนและ อสม. จำนวน 55 คน X 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน2,750 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 4 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 90 ของแกนนำชุมชนและ อสม.มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9275.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามการสุ่มลูกน้ำยุงลายและสภาพแวดล้อมบริเวณบ้าน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามการสุ่มลูกน้ำยุงลายและสภาพแวดล้อมบริเวณบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • การสุ่มติตตามลูกน้ำยุงลายและสภาพแวดล้อมบริเวณบ้าน จะแบ่งกลุ่ม อสม.ออกเป็นกลุ่มๆละ 4-6 คน
  • การสุ่มจะสลับกันสุ่มในแต่ละเขตรับผิดชอบของ อสม. เดือนละ 1 ครั้ง
  • ในเขตรับผิดชอบของแต่ละคนที่โดนสุ่มต้องไม่เจอลูกน้ำยุงลายเกิน 80% ของภาชนะที่มี
  • มีการสรุปผลการสุ่มลูกน้ำยุงลายและสภาพแวดล้อมบริเวณบ้านในวันประชุมประจำเดือน อสม.

    งบประมาณ
    ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มของ อสม. จำนวน 49 คน X 1มื้อๆละ 25 บาท X 9 เดือน เป็นเงิน 11,025 บาท
    (จะทำการติดตามสุ่มทุกเดือน เริ่มตั้งแต่เดือน มกราคม - กันยายน 2563 )
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11025.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,300.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.แกนนำชุมชนและ อสม.มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
2.อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลง


>