กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ไม่เอายาเสพติด และไม่ตั้งครรภ์ในวัยเรียน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

ชมรมทูบีนัมเบอร์วันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย

1. ด.ญ มาริษา เส้งวั่น
2. ด.ญ. ภัทราวดี ชูปาน
3. ด.ญ. ณิชากานต์ แขกกาฬ
4. ด.ญ.ประกายฝัน ทองใส
5. ด.ช ณัฐภัทร หนูเกื้อ

หมู่ที่ 2,3,4,5,6 และ 8 ตำบลโคกชะงาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 กิจกรรมที่เสริมทักษะชีวิต และความรู้แก่เด็กและเยาวชนด้านยาเสพติด และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

 

3.00

สภาพสังคมไทยในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิตในสังคมจากครอบครัวขยายกลายเป็นครอบครัวเดี่ยวอีกทั้งสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ทำให้พ่อแม่ต้องประกอบอาชีพนอกบ้าน ส่งผลให้สภาพครอบครัวขาดความอบอุ่นเยาวชนในครอบครัวขาดการดูแลเอาใจใส่ และชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสม ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัฒน์ และวัฒนธรรมข้ามชาติ และสื่อการเรียนรู้ต่างๆ เช่น ทีวี วิทยุโดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือ ที่มีแอฟริเกชั่นต่างๆ ที่เยาวชนมาสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้ง่ายและรวดเร็ว อีกทั้งเป็นส่วนตัว คือ ยูทูบ ไลน์ เฟสบุ๊ค เป็นต้น หากนำเทคโนโลยีมาใช้ไม่ถูกต้องก็จะกลายเป็นสิ่งที่ทำลายความดีงามทางความคิด การกระทำ และทำให้สังคมแย่ลง โดยเฉพาะเยาวชนเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อยากรู้อยากลอง ชอบลอกเลียนแบบจากบุคคลต้นแบบที่ชื่นชอบ และจะเชื่อเพื่อนมากกว่าผู้ปกครอง ดังนั้นทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมทางเพศ และรับข่าวสารเรื่องยาเสพติด เกิดการลอกเลียนแบบพฤติกรรมการเสพสารเสพติด ทำให้เกิดปัญหาครอบครัว สังคมตามมา ซึ่งทั้งหมดเกิดจากเยาวชนขาดความเข้าใจเรื่องดังกล่าว วุฒิภาวะทางด้านความคิด การตัดสินใจ และทักษะการปฏิเสธ ดังนั้นทุกภาคส่วนในสังคมควรตระหนักและช่วยกันเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหา เพื่อให้เยาวชนในพื้นที่มีสุขภาพและสุขภาวะที่ดีทั้ง 4 ด้านได้แก่ ด้านร่างกายดี สังคมดี จิตใจหรืออารมณ์ดี และปัญญาดี ดังนั้นการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเพื่อให้เยาวชนในพื้นที่ได้มีภูมิคุ้มกันในการดูแลตนเองและมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและป้องกันยาเสพติด โรคเอดส์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรเป็นสิ่งจำเป็น ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายมีเด็กและเยาวชนอายุ9-18 ปี ทั้งหมด 278 คน สำหรับปีงบประมาณ 2562 ในเขตรับผิดชอบยังไม่มีเด็กและเยาวชนที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร และได้จัดกิจกรรมอบรมเด็กและเยาวชนหญิงเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเพื่อเป็นแกนนำในชุมชนในปีงบประมาณ 2563 ชมรมทูบีนัมเบอร์วันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายต้องการสร้างเครือข่ายและเพิ่มจำนวนแกนนำให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านเพื่อเป็นที่ปรึกษาและแนะนำเพื่อนในทางที่ถูกต้องเหมาะสม ป้องกันการเด็กและเยาวชนไม่ให้ติดยาเสพติด และป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
ดังนั้นชมรมทูบีนัมเบอร์วันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย จึงได้จัดทำโครงการเด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ไม่เอายาเสพติด และไม่ตั้งครรภ์ในวัยเรียนขี้น เพื่อให้เด็กและเยาวชนกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับความรู้ เรื่องยาเสพติดและการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร พัฒนาให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการคิด มีการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มเพื่อน เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ฝึกให้เยาวชนได้คิดถึงปัญหาสุขภาพปัญหาทางเพศ ปัญหายาเสพติด การแก้ไขและการป้องกันปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในเบื้องต้นด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กและเยาวชนกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับความรู้ เรื่องยาเสพติดและการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

เด็กและเยาวชนกลุ่มเป้าหมายทุกคนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 80 ในเรื่องยาเสพติดและการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

3.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 31/07/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมความรู้เด็กและเยาวชนไม่เอายาเสพติด และไม่ตั้งครรภ์ในวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
อบรมความรู้เด็กและเยาวชนไม่เอายาเสพติด และไม่ตั้งครรภ์ในวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
  2. อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
  3. ค่าวิทยากร จำนวน 3 คนๆละ 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  4. ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 2,000 บาm
  5. ป้ายไวนิล ขนาด 1.5 x 2 เมตร ตรม.ละ 180 บาทจำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 540 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กและเยาวชนกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับความรู้ เรื่องยาเสพติดและการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11140.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,140.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลียกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กและเยาวชนกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับความรู้ เรื่องยาเสพติดและการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
2. แกนนำเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการสามารถให้คำปรึกษาและแนะนำเพื่อนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม


>