กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการครูผู้สอนกับการดูแลสุขภาพในยุคปัจจุบัน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

ชมรมการศึกษาอิสลามประจำมัสยิดตำบลมะรือโบออก

1. นายอับดุลมาน๊ะ หะยีหะมะ
2. นายไซมิง ปูเต๊ะ
3.นายตอเละ สารีบู
4. นายมูฮำมะซากี ปูเตะ
5. นางนูรียะ หะยีดิง

ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบออก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สุขภาพ เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนปรารถนา เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่จะนำความสงบสุขให้กับชีวิต มุสลิมทุกคนถือว่าการมีสุขภาพที่ดีนั้นเป็นนิอมัตอย่างหนึ่งจากอัลลอฮ (ซ.บ.)ที่ควรจะรักห่วงแหน ดูแลทะนุถนอมเป็นอย่างดีและจะต้องรู้จักขอบคุณผู้ให้นิอมัตชิ้นนี้ด้วย นั่นคือ อัลลอฮ (ซ.บ.) ด้วยการกล่าวซูโกรและปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม คือต้องเป็นบ่าวที่ดีและต้องตักวาต่อพระองค์อย่างแท้จริงเพราะมนุษย์ส่วนใหญ่จะหลงลืมไม่ใช้นิอมัตนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามเจตนารมณ์ของอัลลอฮ นั่นคือเพื่อภักดี(อิบาดะห์)ต่อพระองค์ ท่านนบีมูฮำหมัดได้กล่าวว่า“มีนิอมัต (ความสุข ความโปรดปราน) อยู่ 2 ประการ นั่นคือการมีสุขภาพที่ดีและมียามว่าง การดูแลสุขภาพในยุคโลกาภิวัฒน์หรือยุคสารสนเทศนี้ สำหรับผู้ศรัทธาต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ ต้องมีความรู้ ต้องมีอีหม่าน ต้องรู้จักบริหารตนเองและเวลา ต้องมีวินัยอย่างเคร่งครัด การดูแลสุขภาพส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นการป้องกันโรคมากกว่าการบำบัดรักษา นักปราชญ์ได้กล่าวว่า“การป้องกันโรคดีกว่า การบำบัดรักษา” การดูแลสุขภาพในเชิงป้องกันโรค จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อผู้นั้นหมั่นเพียรหาความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพมีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วเกิดความตระหนักพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีและนำไปปฏิบัติเป็นรูปธรรมอย่างสม่ำเสมอ ท่านนบีฯ เองเป็นคนที่มีสุขภาพแข็งแรง ท่านเคยประลองกับชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อ รูกอนะห์ ที่มีร่างกายแข็งแรงแต่ท่านนบีสามารถล้มชายคนนั้นลงกับพื้นได้ถึง 3 ครั้งท่านนบีเคยกล่าวว่า “ผู้ศรัทธาที่แข็งแรง ย่อมประเสริฐกว่าและเป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮ มากกว่าผู้ศรัทธาที่อ่อนแอ และในทุกการงานที่ดี จงยึดมั่นต่อสิ่งที่ให้คุณประโยชน์และจงขอความช่วยเหลือต่ออัลลอฮ และจงอย่าเป็นคนที่อ่อนแอ”
องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำนิยาม สุขภาพจากเดิมที่ได้ระบุไว้ 3 มิติ มาเป็น 4 มิติ ในปี ค.ศ. 1984 ไว้ดังนี้ สุขภาพ คือ “สุขภาวะที่สมบูรณ์ทางด้านร่างกาย (Physical) จิตใจ (Psycho) จิตวิญญาณ (Spiritual) และสังคม (Social) มิเพียงแต่ปราศจากโรคและความพิการเท่านั้น”จากคำนิยามดังกล่าวจะเห็นว่า ศาสนา มีส่วนเกี่ยวข้องกับสุขภาพดังนั้น ในการดูแลสุขภาพในยุคปัจจุบันควรจะอยู่ในรูปแบบบูรณาการระหว่างหลักการศาสนาอิสลามกับหลักการแพทย์และสาธารณสุขที่ไม่ขัดต่อหลักศาสนาเข้าด้วยกัน

สุขภาพตามทัศนะของอิสลาม หมายถึง ภาวะที่คุณรู้สึกว่าใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขเป็นสุขภาวะที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณเพราะมุสลิมต้องดำเนินชีวิตตามวิถีทางของศาสนาตลอดเวลา และมีความ สัมพันธ์มีส่วนเกี่ยวข้องกับสุขภาพ ดังนั้นในการดูแลสุขภาพในยุคปัจจุบันควรจะอยู่ในรูปแบบบูรณาการระหว่างหลักการศาสนาอิสลามกับหลักการแพทย์ และสาธารณสุขที่ไม่ขัดต่อหลักศาสนาประกอบด้วยสุขภาพกาย สภาพที่ดีของร่างกายอวัยวะต่างๆอยู่ในสภาพที่ดีมีความแข็งแรงสมบูรณ์ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ และมีความสัมพันธ์กับทุกส่วนเป็นอย่างดี ก่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีในการทำงาน สุขภาพจิตสภาพของจิตใจที่สามารถควบคุมอารมณ์ได้มีจิตใจเบิกบานแจ่มใสมิให้เกิดความคับข้องใจหรือขัดแย้งในจิตใจสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีความสุข สามารถควบคุมอารมณ์ได้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งผู้มีสุขภาพจิตดีย่อมมีผลมาจากสุขภาพกายดีด้วย “จิตใจที่แจ่มใสย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์” สุขภาพสังคม บุคคลที่มีสภาวะทางกายและจิตใจที่สุขสมบูรณ์มีสภาพของความเป็นอยู่หรือการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขไม่ทำให้ผู้อื่นหรือสังคมเดือดร้อน สามารถปฏิสัมพันธ์และปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดีและมีความสุขและสุขภาพจิตวิญญาณ สภาวะที่ดีของปัญญาที่มีความรู้ทั่ว รู้เท่าทันและความเข้าใจอย่างแยกได้ในเหตุผลแห่งความดีความชั่วความมีประโยชน์และความมีโทษ ซึ่งนำไปสู่ความมีจิตอันดีงามและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูก ต้องอาศัยตัวเองและการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนเป็นสำคัญ โดยให้ความสำคัญกับแนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการขับเคลื่อนเป็นการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ทั้งการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อนและการดูแลสิ่งแวดล้อมที่ปลอดจากภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพ ในรูปแบบบูรณาการระหว่างหลักการศาสนาอิสลามกับหลักการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขเป็นสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ
สำหรับ สุขภาพในศาสนพิธีของอิสลามนั้น เป็นทั้งกฎเกณฑ์เพื่อฝึกควบคุมร่างกายและส่งเสริมสุขภาพจิตไปพร้อมๆกันในการละหมาด มุสลิมทุกคนจะทำการละหมาดภาคบังคับวันละห้าเวลา ความสะอาดถือเป็นเงื่อนไขสำคัญในการละหมาดแต่ละครั้ง คือต้องสะอาดทั้งสถานที่ เสื้อผ้าที่ใช้ รวมทั้งต้องอยู่ในสภาพที่สะอาดด้วยการอาบน้ำหรืออาบน้ำละหมาด ในการถือศีลอด ทุกๆปีมุสลิมจะถือศีลอดหนึ่งเดือนคือเดือนเราะมะฎอน นอกจากนั้นอิสลามยังส่งเสริมให้มีการถือศีลอดในโอกาสต่างๆ รวมทั้งการถือศีลอดในวันจันทร์และพฤหัสบดี หรืออย่างน้อยที่สุดในแต่ละเดือนจะถือศีลอดไม่น้อยกว่าสามวัน ซึ่งเป็นการกระทำแบบสมัครใจ กล่าวได้ว่าการถือศีลอดมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการสร้างสุขภาพ นั่นคือการสร้างระเบียบวินัยต่อร่างกายด้วยการฝึกความอดทนและการปรับตัว ในขณะที่การประกอบพิธีฮัจญ์นั้นจะกระทำไม่ได้เลยหากมีสุขภาพกายไม่ดีเพราะต้องใช้กำลังกายในการหมุน การเดินที่เป็นองค์ประกอบหรือเงื่อนไขของพิธีฮัจญ์อย่างไรก็ตามการปฏิบัติในศาสนพิธีของอิสลามก็มีข้อยกเว้นสำหรับมุสลิมที่เจ็บป่วยหรืออยู่ระหว่างการเดินทางด้วยดังนั้นแล้วการปฏิบัติตัวเป็นมุสลิมที่ดีจึงสอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพอันเป็นวิถีของอิสลามที่ปฏิบัติสืบต่อกันมานับจากอดีตจนปัจจุบัน
ชมรมการศึกษาอิสลามประจำมัสยิดตำบลมะรือโบออกจึงได้เสนอโครงการมุสลิมกับการดูแลสุขภาพในยุคปัจจุบันสำหรับผู้บริหารและผู้สอนการศึกษาอิสลามประจำมัสยิด เข้ารับการอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สุขภาพในทัศนะของอิสลามการดูแลสุขภาพในรูปแบบบูรณาการระหว่างหลักการศาสนาอิสลามกับหลักการแพทย์และสาธารณสุขเป็นการกระตุ้นและเสริมสร้างให้มีความตระหนักต่อการส่งเสริมการจัดกระบวนการเฝ้าระวังดูแลสุขภาของตัวเอง ครอบครัวตลอดจนชุมชนอย่างต่อเนื่องเป็นการให้กลุ่มวัยทำงานสามารถเข้าถึงการรับบริการด้านสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1.เพื่อให้ผู้บริหาร ผู้สอนการศึกษาอิสลามมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพ

ร้อยละ 90 ของผู้บริหารและผู้สอนการศึกษาอิสลาม ความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพ

0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อให้ผู้บริหาร ผู้สอนการศึกษาอิสลามเห็นความสำคัญ ตระหนักถึงสุขภาพที่ดี ในการทำงาน

ร้อยละ 80 ของผู้บริหารและผู้สอนการศึกษาอิสลาม เห็นความสำคัญ ของการมีสุขภาพที่ดี

0.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อให้ผู้บริหาร ผู้สอนการศึกษาอิสลามนำควารู้ มาเผยแพร่ให้กับนักเรียน

ร้อยละ 75 ของผู้บริหารและผู้สอนการศึกษาอิสลามนำความรู้มาใช้กับนักเรียนให้เกิดประโยชน์

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 75
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 เข้ารับการอบรมเรื่องการดูแลสุขภาพที่ดี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 เข้ารับการอบรมเรื่องการดูแลสุขภาพที่ดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลมะรือโบออกรายละเอียดดังนี้ 1. ค่าอาหารสำหรับผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 75 คนๆละ 60 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 75คนมือๆละ25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,750 บาท 3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 4. ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 75 เล่มๆละ30บาทเป็นเงิน 2,250 บาท 5. ค่าประเป๋าผ้าพร้อมสกรีน จำนวน 75 ใบๆละ 70 บาท
เป็นเงิน5,250 บาท 6. ค่าจัดทำป้ายโครงการ ขนาด 1x4 ตารางเมตรๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 การสาธิตการดูแล และการออกกำลังกายพื้นฐาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 การสาธิตการดูแล และการออกกำลังกายพื้นฐาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 0.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้บริหารผู้สอนการศึกษาอิสลาม มีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญในการมีสุขภาพที่ดี
2. ผู้บริหารผู้สอนการศึกษาอิสลามนำหลักความรู้ที่ได้ให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเอง และนักเรียน


>