กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุไหงปาดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชะลอไตเสื่อม ร่วมมือกันดูแล ปี ๒๕๖๓

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุไหงปาดี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสุไหงปาดี

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสุไหงปาดี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์โรคไตของตำบลสุไหงปาดี ขณะนี้มีผู้ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังประมาณ 60 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยอยู่ในระยะสุดท้าย 5คน มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 5คน มีผู้เสียชีวิตจากไตวาย2 คน ซึ่ง 1 ใน 3อายุน้อยกว่า 60 ปี ผู้ป่วยไต 1 คน จะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 30,000 บาทต่อคนต่อเดือน เพราะต้องได้รับการฟๆอกไตด้วยวิธีฟอกเลือด หรือล้างไตผ่านหน้าท้อง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง นอกจากนี้เมื่อป่วยยังทำให้คุณภาพชีวิตต่ำลง เสี่ยงการติดเชื้อแทรกซ้อนและไม่สามารถทำงานได้ตามปกติด้วย จากผลการดำเนินงานรักษาพยาบาลและคัดกรองภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงของรพ.สต.สุไหงปาดีพบว่าอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นทุกปี ในปี พ.ศ.2562 มีผู้ป่วยโรคเบาหวานมีภาวะไตเสื่อม จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 43.33(คิดจากผู้ป่วยทั้งหมด) และโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ26.66 ผู้ป่วยจำนวนดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะต้องฟอกไตในอนาคตถ้ายังไม่ได้รับการรักษา ส่งเสริม และฟื้นฟูอย่างถูกต้อง ในการแก้ไขป้องกันปัญหาโรคไตวาย รพ.สต.สุไหงปาดีจึงเห็นความสำคัญเพื่อลดกลุ่มเสี่ยง ชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยไตเรื้อรังทุกระยะ เพิ่มการเข้าถึงบริการ จึงได้จัดทำโครงการชะลอไตเสื่อม ร่วมมือกันดูแล ปี 2563 เพื่อชะลอภาวะไตเสื่อมและป้องกันไม่ให้ไตวายอันจะส่งผลต่อการต้องล้างไตในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูงมีความรู้ เพิ่มมากขึ้น

-ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้เพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 50

80.00
2 2.เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคไตในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไต ร้อยละ 60

0.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 120
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2020

กำหนดเสร็จ 30/04/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง/เบาหวาน)ที่มีภาวะเสี่ยงสูง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง/เบาหวาน)ที่มีภาวะเสี่ยงสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๑ มื้อ ๆ ละ ๒๕ บาท จำนวน ๑๒๐ คน เป็นจำนวนเงิน ๓,๐๐๐ บาท
๒.ค่าอาหารกลางวัน ๑ มื้อ ๆ ละ ๕๐ บาท จำนวน ๑๒๐ คน เป็นจำนวนเงิน ๖,๐๐๐ บาท
๓.ค่าวัสดุอุปกรณ์โครงการ เป็นเงิน ๒,๕๐๐บาท
-ค่าสมุดปกอ่อน ๑๒๐เล่ม เล่มละ ๕ บาท เป็นเงิน๖๐๐ บาท
-ค่าแฟ้มกระดุม ๑๒๐เล่ม เล่มละ ๑๐ บาท เป็นเงิน ๑,๒๐๐บาท
-ค่าปากกา๑๒๐ ด้าม ด้ามละ ๕ บาท เป็นเงิน๖๐๐ บาท
-ค่ากระดาษสี๑ รีมรีมละ ๑๐๐ บาท เป็นเงิน ๑๐๐ บาท
๔.ค่าวิทยากร ๒ ชั่วโมง ชั่วโมงละ๖๐๐บาท (๒ รุ่น) เป็นเงิน ๒,๔๐๐บาท
๕. ค่าป้ายโครงการขนาด๒๕๐×๑๒๐ซม.จำนวน๑ป้ายเป็นเงิน ๗๒๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จากกิจกรรมที่ ๑ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูง มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องของการบริโภคอาหาร การดูแลจิตใจ และวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับโรค เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้ ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14620.00

กิจกรรมที่ 2 ๒. สาธิตการเลือกซื้ออาหารและสาธิตเมนูอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคไตเช่น ปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละมื้อเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ และลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นโดยมีรูปภาพอาหารและเมนูอาหารมาสาธิตและให้ผู้ป่วยเลือกซื้อ

ชื่อกิจกรรม
๒. สาธิตการเลือกซื้ออาหารและสาธิตเมนูอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคไตเช่น ปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละมื้อเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ และลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นโดยมีรูปภาพอาหารและเมนูอาหารมาสาธิตและให้ผู้ป่วยเลือกซื้อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.ค่าวิทยากร ๒ ชั่วโมง ชั่วโมงละ๖๐๐บาท(๒รุ่น) เป็นเงิน ๒,๔๐๐บาท ๒.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๑ มื้อ ๆ ละ ๒๕ บาท จำนวน ๑๒๐ คน เป็นจำนวนเงิน ๓,๐๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จากกิจกรรมที่ ๒.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการบริโภคอาหารและวิธีการเลือกอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมกับความต้องการของร่างกายเพื่อชะลอไม่ให้เนื้อไตถูกทำลายมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5400.00

กิจกรรมที่ 3 ๓.ตรวจประเมินค่าการทำงานของไต หลังจากให้ความรู้ ๓ สัปดาห์

ชื่อกิจกรรม
๓.ตรวจประเมินค่าการทำงานของไต หลังจากให้ความรู้ ๓ สัปดาห์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังจะได้ทราบค่าการทำงานของไตเพื่อการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,020.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูงมีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติตัวที่เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง
2.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตลดลง


>