กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพกลุ่มแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน อำเภอควนโดนจังหวัดสตูลปีงบประมาณ 2563

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพกลุ่มแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน อำเภอควนโดนจังหวัดสตูลปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน

1.นายวัฒนชัย ไชยจิตต์
2.นางฮามีดะ หลังยาหน่าย
3.นางสาวมารียา สุขสง่า
4.นางอภิยา เหตุทอง
5.นางรสนา บินหมาน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์(คน)

 

18.00
2 จำนวนหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง(คน)

 

24.00
3 จำนวนแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะเวลา 6 เดือน(คน)

 

40.00
4 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะซีด(คน)

 

4.00
5 จำนวนหญิงคลอดได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด(คน)

 

23.00
6 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)

 

1.00

เป้าหมายสูงสุดของงานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญ คือ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัยโดยมีกลวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ได้แก่การให้บริการตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ขณะเจ็บครรภ์คลอดและหลังคลอดการประเมินภาวะเสี่ยงของมารดาขณะตั้งครรภ์และดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมจะสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาทั้งที่จะเกิดแก่มารดาและทารกได้การฝากครรภ์เร็วฝากครรภ์ตามเกณฑ์ ทำให้สามารถคัดกรองภาวะเสี่ยงและแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องตามระบบหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงจะเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดทารกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ซึ่งจะมีผลกระทบถึงพัฒนาการเด็กและสติปัญญาในการเรียนรู้ต่ำ ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมารดาและทารก จากผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของอำเภอควนโดน ปี 2560 – 2562 พบว่าอัตราฝากครรภ์ 5 ครั้งตามเกณฑ์ร้อยละ59.46 , 51.06 และ 88.8 ตามลำดับซึ่งต่ำกว่าตัวชี้วัด (มากกว่าร้อยละ60) อัตราหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางร้อยละ18.89 , 8.51 และ 6 ตามลำดับซึ่งต่ำกว่าตัวชี้วัด (ไม่เกินร้อยละ 10) อัตราทารกคลอดน้ำหนักต่ำกว่า 2500 กรัม ร้อยละ 7.32,4.92 , 0 ตามลำดับซึ่งสูงกว่าตัวชี้วัด (ไม่เกินร้อยละ7) พบว่า จากการดำเนินงาน พบว่า การคลอดก่อนกำหนด และ ภาวะซีด ลดลง รวมถึงการคลอดบุตรน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม นอกจากนี้อาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาเช่นรกค้างระยะคลฟอดยาวนาน ตกเลือดหลังคลอดติดเชื้อหลังคลอด ภาวะเด็กขาดออกซิเจน ขณะคลอด (Birth Asphyxia) ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้จะก่อให้เกิดอันตรายต่อมารดาและทารก ทำให้งานอนามัยแม่และเด็กไม่บรรลุตามตัวชี้วัดสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ปัญหาดังกล่าวสามารถป้องกันได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพกลุ่มสตรีและเด็กปฐมวัยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2563 ขึ้นเพื่อส่งเสริมการฝากครรภ์ครบ5ครั้งและเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน12สัปดาห์อย่างมีคุณภาพลดการผิดปกติจากการตั้งครรภ์ลดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์รวมทั้งเพื่อส่งเสริมแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะเวลา 6เดือนตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนสภาเด็กและเยาวชนเป็นแกนนำป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นโดยมีกระบวนการทำงานคือจัดเสวนากลุ่มภาคีเครือข่ายพัฒนาทักษะการวางแผนก่อนการตั้งครรภ์และประชุมเชิงปฏิบัติการcaseเสี่ยงสูงเพื่อวิเคราะห์และแก้ปัญหาอนามัยแม่และเด็กรวมทั้งพัฒนาองค์ความรู้และสาธิตอาหารหญิงตั้งครรภ์/มารดาหลังคลอด/ผู้ดูแลโดยนักโภชนาการและประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างแกนนำเยาวชนในการขับเคลื่อนสภาเด็กและเยาวชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

จำนวนหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง(คน)

24.00 40.00
2 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ลดการผิดปกติจากการตั้งครรภ์

จำนวนหญิงคลอดได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด(คน)

23.00 40.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

จำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์(คน)

18.00 40.00
4 เพื่อส่งเสริมแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะเวลา 6 เดือน

จำนวนแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะเวลา 6 เดือน(คน)

40.00 40.00
5 เพื่อลดภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์

จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะซีด(คน)

4.00 2.00
6 เพื่อแก้ปัญหาหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น

จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน 129
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาทักษะการวางแผนก่อนการตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาทักษะการวางแผนก่อนการตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พัฒนาทักษะการวางแผนก่อนการตั้งครรภ์ในหญิงอายุ 20-34 ปี จำนวน 60 คน -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงวัยเจริญพันธ์ได้รับความรู้และวางแผนก่อนการตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้อง และรับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 2 เพื่อพัฒนาบทบาทในการดูแลสุขภาพเชิงรุกในชุมชน โดย อสม และ ภาคีเครือข่าย แกนนำชุมชน

ชื่อกิจกรรม
เพื่อพัฒนาบทบาทในการดูแลสุขภาพเชิงรุกในชุมชน โดย อสม และ ภาคีเครือข่าย แกนนำชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดเวที คืนข้อมูล ประเด็นปัญหา เรื่อง การวางแผนก่อนการตั้งครรภ์ ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ และ การเตรียมความพร้อมเมื่อตั้งครรภ์ , การช่วยเหลือดูแลหญิงหลังคลอด,โดย อสม . 59 คนรวมถึงภาคีเครือข่ายกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต.แกนนำสตรีโดย จัด แยก เป็นรายหมู่บ้าน
ค่าอาหารว่างและครื่องดื่มหมู่ที่ 1 บ้านทุ่งมะปรัง จำนวน 25 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 625 บาท ค่าอาหารว่างและครื่องดื่มหมู่ที่ 2 บ้านเขานุ้ย จำนวน 25 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 625 บาท
ค่าอาหารว่างและครื่องดื่มหมู่ที่ 3 บ้านวังประจัน จำนวน 25 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 625 บาท
ค่าอาหารว่างและครื่องดื่มหมู่ที่ 4 บ้านวังประจันใต้ จำนวน 25 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 625 บาท
รวมเป็นเงิน 2500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีมาตรการในการจัดการปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในพื้นที่ หมู่ 1,2,3,4 โดยมีมาตรการ ในแต่ละหมู่บ้าน พร้อมทั้งประกาศใช้ ในหมู่บ้าน โดยกำนันและผู้ใหญ่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมเชิงปฏิบติการcase เสี่ยงสูง เพื่อวิเคราะห์และแก้ปัญหาอนามัยแม่และเด็ก

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบติการcase เสี่ยงสูง เพื่อวิเคราะห์และแก้ปัญหาอนามัยแม่และเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเชิงปฏิบติการcaseเสี่ยงสูง เพื่อวิเคราะห์และแก้ปัญหาอนามัยแม่และเด็ก แก่หญิงตั้งครรภ์ 10 ราย เจ้าหน้าที่ให้บริการ 6 คน ภาคีเครือข่ายแกนนำ 14 คน
-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท -ค่าอาหารว่างและครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆละ 25 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีมาตรการในการดูแลหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2250.00

กิจกรรมที่ 4 พัฒนาองค์ความรู้และสาธิตอาหารหญิงตั้งครรภ์/มารดาหลังคลอด/ผู้ดูแลโดยนักโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาองค์ความรู้และสาธิตอาหารหญิงตั้งครรภ์/มารดาหลังคลอด/ผู้ดูแลโดยนักโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พัฒนาองค์ความรู้และสาธิตอาหารหญิงตั้งครรภ์/มารดาหลังคลอด/ผู้ดูแลโดยนักโภชนาการ แก่ หญิงตั้งครรภ์ 10 ราย หญิงหลังคลอด 10 ราย ผู้ดูแล 10 ราย -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท -ค่าอาหารว่างและครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆละ 25 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ลดภาวะเบาหวานและความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์ นำความรู้ไปดูแลตนเองได้ คลอดปลอดภัยทั้งแม่และลูก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2250.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างแกนนำเยาวชนในการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างแกนนำเยาวชนในการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเด็กและเยาวชนเป็นแกนนำ มีกิจกรรม เข้าถึงกิจกรรมเพื่อประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขปัญในวัยรุ่น เช่นปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น เรื่องเพศศึกษา การป้องกันโรคที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธุ์เป็นต้น -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1500 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆละ 25 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

วัยรุ่นในสภาเด็กตำบลวังประจันเป็นแกนนำในการป้องกันและแก้ไขปัญในวัยรุ่น เช่นปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ปัญหายาเสพติด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ไม่มีมารดาตายในพื้นที่วังประจัน
2.ภาวะซีดเป็น 0 หรือไม่เกิน ร้อยละ10
3.ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยเป็น 0 หรือไม่เกินร้อยละ 7
4.จัดการแก้ไขปัญหาหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงได้ทุกราย เช่น ภาวะความดันโลหิตสูงและเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ ไม่มีภาวะเด็กตายในครรภ์
5.มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 6 เดือนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
6.ลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
7.ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


>