กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เรียง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเคาะประตูบ้านชักชวนหญิงไทยคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เรียง

องค์การบริหารส่วนตำบลเรียง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก และในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smear ในสตรีกลุ่มอายุ 30 ปีขึ้นไป ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดโรคและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ สำหรับโรคมะเร็งเต้านมในสตรีไทย พบว่าสตรีทุก 16 คนมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้1 คนแม้ว่ามะเร็งเต้านม ทำให้เกิดความสูญเสียและเป็นสาเหตุการตายในอัตราที่สูง แต่ก็เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ และการพยากรณ์โรคค่อนข้างดี ถ้าสามารถตรวจพบและให้การรักษาในระยะเริ่มแรก ซึ่ง 80 เปอร์เซ็นต์ของมะเร็งเต้านม สามารถตรวจพบได้โดยการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน เพื่อค้นหาความผิดปกติของเต้านม ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการแนะนำให้ปฏิบัติมากที่สุด เนื่องจากเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยาก สามารถปฏิบัติได้ง่ายด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษใดๆช่วยในการตรวจ ประหยัดเวลา ไม่เสียค่าใช้จ่าย จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับการรักษาเมื่อระยะของโรคลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองแล้ว ทั้งนี้เนื่องมาจากสตรีเหล่านี้ไม่เคยตรวจเต้านมด้วยตนเอง รวมทั้งการขาดความรู้ ความเชื่อมั่น ในการตรวจเต้านม

จากผลดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมกลุ่มอายุ 30 ปี ขึ้นไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเรียง มีกลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จำนวน 477 คนได้ดำเนินการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยคิดเป็นผลงานสะสมตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ ถึงปี 2562 จำนวน 290 คน คิดเป็นร้อยละ 60.88 ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัดที่กำหนด คือ สตรีอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ๕ ปี/ครั้ง/คน จะต้องผ่านเกณฑ์ ร้อยละ ๑๐๐และผลการคัดกรองตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองในกลุ่มอายุ30-70 ปี จำนวน 672 คน ได้รับการตรวจเต้านมด้วยตนเองปี 2562 จำนวน 392 คน คิดเป็นร้อยละ 62.52 ไม่ผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัดที่กำหนด คือ สตรีอายุ ๓๐ – 7๐ ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองร้อยละ 80จากผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา พบว่า จากการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม พบผู้ป่วยที่ต้องได้รับการส่งต่อ จำนวน 4 รายคิดเป็น ร้อยละ 1.02 ของผู้ที่ได้รับการคัดกรอง และพบเป็นโรคมะเร็งเต้านม 1 ราย และเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเต้านมปี 60 จำนวน 1 ราย

ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลเรียง จึงได้จัดทำโครงการเคาะประตูบ้านชักชวนหญิงไทย
คัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ขึ้นเพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมให้ได้รับการรักษาตั้งแต่ในระยะเริ่มแรกและสร้างความตระหนักถึงปัญหาและเล็งเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.1 เพื่อให้หญิงอายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจโรคมะเร็งเต้านม ร้อยละ 80 1.2 เพื่อให้หญิงอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจโรคมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 20 1.3. เพื่อให้หญิงอายุ 30-70 ปี ที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและการรักษาที่ถูกต้อง

1.1 เพื่อให้หญิงอายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจโรคมะเร็งเต้านม ร้อยละ 80 1.2 เพื่อให้หญิงอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจโรคมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 20 1.3. เพื่อให้หญิงอายุ 30-70 ปี ที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและการรักษาที่ถูกต้อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการเคาะประตูบ้านชักชวนหญิงไทยคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

ชื่อกิจกรรม
โครงการเคาะประตูบ้านชักชวนหญิงไทยคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเรียง จำนวน ๒๓,๕๐๐ บาท (สองหมื่นสามพันห้าร้อยบาทถ้วน) ตามรายละเอียดดังนี้     5.1. กิจกรรมการจัดประชุมสตรีกลุ่มเป้าหมาย     - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการประชุมให้ความรู้สตรีกลุ่มเป้าหมายฯ       จำนวน 150 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท                  เป็นเงิน 7,500 บาท     - ค่าอาหารกลางวันในการประชุมให้ความรู้สตรีกลุ่มเป้าหมายฯ       จำนวน 150 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาท                        เป็นเงิน 7,500  บาท                                                          รวมเป็นเงิน 15,000 บาท     5.2. ค่าวัสดุในการประชาสัมพันธ์โครงการ
       - ค่าป้ายไวนิลรณรงค์ประชาสัมพันธ์จำนวน 1 ป้าย ขนาด ๑.๒x๒.๔ เมตร เป็นเงิน 1,000 บาท     5.3 ค่าเอกสารจัดอบรมจำนวน 150 ชุด ชุดละ 50 บาท                เป็นเงิน 7,500 บาท

                      รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 23,500 บาท (สองหมื่นสามพันห้าร้อยบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดอัตราการตายโดยสาเหตุจากโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
2. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการตรวจโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
3. สตรีที่ตรวจพบโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกได้รับการรักษาที่ถูกต้อง


>