กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่ากำชำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคกลุ่มประกอบอาชีพทำสวนยางพารา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่ากำชำ

กลุ่มเกษตรกรตำบลท่ากำชำ

1.นางมารีเยาะยะกะ
2.นางแมะดะสะอะ
3.นางซอลีฮะสะอะ
4.นางปาตีเมาะสะอะ
5.นางปาตีเมาะดือเระ

พื้นที่ตำบลท่ากำชำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานแรงงานนอกระบบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 1.เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางเข้าใจวิธีการดูแลสุขภาพร่างกายที่เหมาะสมกับการทำงาน เรียนรู้โรคที่เกิดจากการทำงาน และการป้องกันตนเองในการใช้สารเคมี

 

100.00
2 2. เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางได้รับการตรวจสุขภาพพื้นฐาน(วัดระดับความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก)

 

100.00

เนื่องจากปัจจุบันเศรษฐกิจไม่ดีส่งผลต่อผู้มีรายได้น้อย เช่นผู้ใช้แรงงานเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรทำสวนยางพาราเนื่องจากราคายางตกต่ำทำให้รายได้ไม่เพียงพอ กลุ่มเกษตรกรจึงต้องประกอบอาชีพอื่นเพื่อเสริมรายได้ ส่งผลให้มีเวลาในการพักผ่อนน้อยลงเพราะปกติชาวสวนยางจะเริ่มทำงานตั้งแต่เวลา 01.00 น. – 10.00 น. บางคนเริ่มทำงานตั้งแต่ เวลา 23.00น. ทำงานช่วงเวลากลางคืน และพักผ่อนในเวลากลางวัน ซึ่งเป็นตารางการทำงานที่ไม่เหมือนกลุ่มอาชีพอื่นทั่วไป เวลากลางวันที่พักผ่อนก็น้อยลงเมื่อต้องหารายได้เสริม กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรสวนยาง จึงมีความเสี่ยงหลายอย่างที่ส่งผลต่อร่างกาย ได้แก่ ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ การสัมผัสกับสารเคมีเช่น ยาฆ่าแมลงปุ๋ยเคมี ยาฆ่าวัชพืชและโรคจากการทำงาน (ระบบสายตาจะเสื่อมเร็วกว่าปกติสุขภาพข้อเข่าเสื่อม) กลุ่มเกษตรกรทำสวนยางพาราตำบลท่ากำชำ จึงเห็นความสำคัญในการให้ความรู้ที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพของสมาชิกในกลุ่มเกษตรกรทำสวนยางพาราในพื้นที่ จึงขอจัดทำโครงการตรวจคัดกรองสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพทำสวนยางพาราตำบลท่ากำชำขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางเข้าใจวิธีการดูแลสุขภาพร่างกายที่เหมาะสมกับการทำงาน เรียนรู้โรคที่เกิดจากการทำงาน และการป้องกันตนเองในการใช้สารเคมี

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ อย่างน้อยร้อยละ80

100.00 80.00
2 2. เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางได้รับการตรวจสุขภาพพื้นฐาน(วัดระดับความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก)

เกษตรกรชาวสวนยางได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพพื้นฐาน    ร้อยละ100

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 25
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดตั้งอาสาสมัครอาชีวอนามัย(อสอช.)

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดตั้งอาสาสมัครอาชีวอนามัย(อสอช.)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 5 ชั่วโมง×600 =  3,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 25 คน = 1,250 บาท
  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 25 บาท x 25 คน x 2 มื้อ = 1,250 บาท
  • ค่าวัสดุในการอบรม      1)แฟ้มใส่เอกสาร 10 x 25=250      2)สมุด           5 x 25=150      3)ปากกา        5 x 25=125
  • ค่าจัดทำป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร=1,000
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดกลุ่มอาสาสมัครอาชีวอนามัย จำนวน 25 คน ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับอาชีวอนามัยเชิงรุก การประเมินความเสี่ยง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการใช้แอพพลิเคชั่นในการสำรวจข้อมูล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

กิจกรรมที่ 2 สำรวจข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพและระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบการอาชีพทำสวนยางพารา

ชื่อกิจกรรม
สำรวจข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพและระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบการอาชีพทำสวนยางพารา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนผู้สำรวจข้อมูล จำนวน 1คน คนละ 500  บาท = 500 บาท
  • ค่าจัดทำเอกสารการสำรวจข้อมูล 1 คน คนละ 500  บาท = 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มผู้ประกอบการอาชีพทำสวนยางพาราเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการคัดกรองการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการคัดกรองการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมง × 600  = 3,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 25 คน = 1,250 บาท
  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 25 บาท x 25 คน x 2 มื้อ = 1,250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มผู้ประกอบการอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกษตรกรสวนยางตระหนักและสนใจดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น
2. เกษตรกรสวนยางมีสุขภาพที่ดีขึ้น


>