กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดแยกขยะเพื่อชุมชนสะอาด ปราศจากโรคภัยประจำปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

องค์การบริหารส่วนตำบลกาบัง

ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลกาบัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ขยะมูลฝอยหรือของเสีย แบ่งเป็น มูลฝอยธรรมดาทั่วไป ได้แก่ มูลฝอยสด เศษอาหาร กระดาษ โฟม พลาสติก ขวดแก้ว โลหะฯลฯ และของเสียอันตราย ได้แก่ มูลฝอยติดเชื้อจากโรงพยาบาล กากสารเคมี สารเคมีกำจัดแมลง กากน้ำมัน หลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่ใช้แล้ว แหล่งกำเนิดของเสียที่สำคัญ ได้แก่ ชุมชน โรงงานอุตสาหกรรมและพื้นที่เกษตรกรรม ปริมาณขยะมูลฝอยดังกล่าว ส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ขยะที่เกิดขึ้นทำให้เกิดปริมาณมูลฝอยตกค้าง ตามสถานที่ต่างๆ หรือมีการนำไปกำจัดโดยวิธีกองบนพื้น ทิ้งตามใกล้แม่น้ำลำคลอง
ซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้แก่ อากาศเสีย น้ำเสีย ขยะมูลฝอยที่ตกค้างบนพื้น
จะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนู แมลงสาบ แมลงวัน และยุง เป็นพาหะนำโรคติดต่อ ทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน รวมถึงเกิดเหตุรำคาญและความไม่น่าดู จากการเก็บขยะมูลฝอยไม่หมด ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวน
องค์การบริหารส่วนตำบลกาบัง มีการจัดเก็บขยะได้มากกว่า 40 ตันต่อเดือน นำส่งไปกำจัดยังบ่อกำจัดขยะของเทศบาลนครยะลา ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน จากการสังเกตพบว่าขยะส่วนใหญ่ประกอบด้วยถุงพลาสติก เศษผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่ปนเปื้อน ประมาณร้อยละ 40 เศษพืชผัก อาหารจากครัวเรือน ขยะอินทรีย์อื่นๆ ประมาณร้อยละ 30 ขยะรีไซเคิล ประมาณร้อยละ 20 และขยะอื่นๆ ประมาณร้อยละ 10
ในการนี้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลกาบัง จึงได้จัดทำโครงการคัดแยกขยะเพื่อชุมชนสะอาด ปราศจากโรคภัย ประจำปีงบประมาณ 2563 เพื่อส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ของประชาชน โดยการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางในระดับครัวเรือน การให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ ซึ่งจะทำให้ประชาชนตระหนักและเข้าใจสภาพปัญหาหรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้น มีความสนใจและใส่ใจในการปฏิบัติตาม
ซึ่งการส่งเสริมให้มีการคัดแยกขยะ นอกจากจะสามารถลดปริมาณขยะจากแหล่งกำเนิดลงได้แล้ว ยังเป็นการสร้างรายได้จากการคัดแยกขยะ เพื่อนำไปขาย และการทำปุ๋ยจากขยะอินทรีย์ได้อีกด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ ได้รับความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ และนำขยะมาใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นระบบ
2. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะ โดยการลดและคัดแยกขยะจากครัวเรือนของตนเอง

/3.เพื่อสร้าง...
- 2 -
3. เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนลดการใช้วัสดุที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการทิ้งขยะมูลฝอย
4. เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคและพาหะนำโรคต่างๆ
5. ลดการเกิดโรคจากขยะในชุมชน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 26/11/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงกปราศจาการคัดแยกขยะเพื่อชุมชนสะอาด โรคภัย ประจำปีงบประมาณ 2563

ชื่อกิจกรรม
โครงกปราศจาการคัดแยกขยะเพื่อชุมชนสะอาด โรคภัย ประจำปีงบประมาณ 2563
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลกาบัง ตามโครงการคัดแยกขยะ เพื่อชุมชนสะอาด ปราศจากโรคภัย ประจำปีงบประมาณ 2563 จำนวนเงิน 44,470 บาท
(-สี่หมื่นสี่พันสี่ร้อยเจ็ดสิบบาทถ้วน-) รายละเอียด  ดังนี้


/ค่าวิทยากร... - 3 -     - ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 200 คน คนละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ  เป็นเงิน 10,000 บาท     - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน คนละ 25 บาท จำนวน 4 มื้อ    เป็นเงิน 10,000 บาท     - ค่าวิทยากร ภาคทฤษฎี จำนวน 1 คน คนละ 4 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท 2 วัน เป็นเงิน   4,800 บาท                            ภาคปฏิบัติ จำนวน 1 คน คนละ 4 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท 2 วัน    เป็นเงิน   4,800 บาท     - ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.50 × 3.00 ม.    เป็นเงิน   1,350 บาท     - ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.20 × 2.50 ม. จำนวน 4 ป้าย    เป็นเงิน   3,600 บาท     - ค่าป้ายไวนิลรณรงค์ ขนาด 1.00 × 2.00 ม.จำนวน 3 ป้าย    เป็นเงิน   1,800 บาท     - ค่าป้ายไวนิลพาราวูด หนา 5 มม. ขนาด 0.50 × 0.70 ม. จำนวน 6 ป้าย (ตร.ม.ละ 1,200.-)
        เป็นเงิน   2,520 บาท     - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำโครงการ  เป็นเงิน   5,600 บาท                  รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 44,470 บาท (-สี่หมื่นสี่พันสี่ร้อยเจ็ดสิบบาทถ้วน-) หมายเหตุ : รายจ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สร้างความมีส่วนร่วมของประชาชนให้สามารถลดปริมาณขยะ คัดแยกขยะ นำขยะ มาใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบ
  2. ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะ โดยการลดและคัดแยกขยะจากครัวเรือนของตนเอง
  3. ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการทิ้งขยะมูลฝอย
  4. สามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคและพาหะนำโรคต่างๆ
  5. ลดการเกิดโรคจากขยะในชุมชนได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
44470.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 44,470.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สร้างความมีส่วนร่วมของประชาชนให้สามารถลดปริมาณขยะ คัดแยกขยะ นำขยะ มาใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบ
2. ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะ โดยการลดและคัดแยกขยะจากครัวเรือนของตนเอง
3. ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการทิ้งขยะมูลฝอย
4. สามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคและพาหะนำโรคต่างๆ
5. ลดการเกิดโรคจากขยะในชุมชนได้


>