กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเสริมพลังผู้ป่วยเบาหวานเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเสริมพลังผู้ป่วยเบาหวานเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุนทอง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุนทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางระบาดวิทยาที่มีสาเหตุการตายของประชาชนเปลี่ยนจากโรคติดเชื้อเฉียบพลันมาเป็นโรคเรื้อรัง ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมอันทำให้บุคคลเคลื่อนไหวร่างกายลดลงและบริโภคอาหารที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพมากขึ้น โรคระบบไหลเวียนเลือดเป็น กลุ่มโรคหนึ่งที่ได้กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่มีความสำคัญเป็นลำดับต้นๆของประเทศไทยในปัจจุบัน กลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดที่สำคัญ คือ ผู้ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน เป็นกลุ่มที่มีปัญหาในการดูแลต่อเนื่องที่บ้านมากที่สุด จากการสำรวจเบื้องต้น พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่ยังมีพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการกับความเครียด การรับประทานยา หรือฉีดยา และการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ซึ่งถ้าไม่ได้รับการแก้ไขจะทำให้ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากยิ่งขึ้น แต่ด้วยเหตุปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งที่ปรับเปลี่ยนได้ และ มีหลักฐานวิชาการยืนยันชัดเจนถึงผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและเสียชีวิต จึงมีความเป็นไปได้ที่จะควบคุมป้องกันหรือชะลอการเกิดหรือการดำเนินของโรคในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุนทองจึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมพลังโครงการเสริมพลังผู้ป่วยโรคเบาหวานเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป

ร้อยละ 95 ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมการดูแลตนเองในเรื่องการรับประทานอาหาร การมีกิจกรรมทางกาย การจัดการความเครียด รับประทานยา ดูแลและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน ได้ถูกต้องเพิ่มขึ้น

0.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินเกณฑ์มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินเกณฑ์ มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงหลังจากเข้าร่วมโครงการ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 17
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 33
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุม อสม.และผู้เกี่ยวข้องต่างๆ เพื่อประสานความเข้าใจชี้แจงวัตถุประสงค์และติดตามผลการ ดำเนินกิจกรรมในระหว่างการดำเนินโครงการฯ

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุม อสม.และผู้เกี่ยวข้องต่างๆ เพื่อประสานความเข้าใจชี้แจงวัตถุประสงค์และติดตามผลการ ดำเนินกิจกรรมในระหว่างการดำเนินโครงการฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุม อสม.และผู้เกี่ยวข้องต่างๆ เพื่อประสานความเข้าใจชี้แจงวัตถุประสงค์และติดตามผลการ ดำเนินกิจกรรมในระหว่างการดำเนินโครงการฯ งบประมาณ - ค่าอาหารและเครื่องดื่มจำนวน 22 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชุมชี้แจ้ง อสม. ให้เข้าใจตรงกัน ในการดำเนินกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1100.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ ทบทวนความรู้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและวิถีชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ ทบทวนความรู้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและวิถีชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการประชุมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทบทวนความรู้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองให้ เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและวิถีชุมชนโดยจัด กิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและญาติดำเนินการครั้งละ 50คนดำเนินการแบบเข้าค่ายไป – กลับจำนวน4 ครั้งห่างกันครั้งละ 2 เดือน รวมระยะเวลาเข้าร่วมกิจกรรมถึงการประเมินผล เดือนกันยายน 2563 งบประมาณ - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยงพฤติกรรมสุขภาพลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการกับความเครียด การรับประทานยา หรือฉีดยา และการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,100.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ
ขั้นเตรียมการแผนการดำเนินงานโครงการโดย
1) ประชาสัมพันธ์โครงการรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ
2) สำรวจภาวะสุขภาพ/ข้อมูลสุขภาพ และความต้องการการเข้าร่วมโครงการของผู้เข้าร่วมโครงการฯ
- จัดประชุม อสม.และผู้เกี่ยวข้องต่างๆ เพื่อประสานความเข้าใจและขอความร่วมมือในการดำเนินโครงการฯ
- ให้บริการตรวจสุขภาพประจำปี แก่ผู้ป่วย ได้แก่การตรวจเลือดประจำปี การตรวจตา การตรวจสุขภาพช่องปาก การตรวจเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน
- จัดแบ่งกลุ่มพี่เลี้ยงในการดูแลกลุ่มผู้ป่วยและ ทบทวนปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานที่ผ่านมา ร่วมกันกำหนดเป้าหมายการดำเนินโครงการและมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วย
(3) รวบรวมข้อมูลผลจากการสำรวจภาวะสุขภาพ/ข้อมูลสุขภาพและความต้องการของผู้เข้าร่วมโครงการฯ
(4) จัดทำรายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการฯ
(5) กำหนดการอบรม/กิจกรรม วัน เวลา วิทยากร สถานที่จัดการอบรม และเอกสารประกอบการอบรม
(6) จัดเตรียมเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการฯ
ขั้นดำเนินการและการสรุปผล
1) ดำเนินการจัดกิจกรรมในแต่ละรุ่นตามแผน
2) ประเมินผลการดำเนินงานทุกครั้งหลังการจัดกิจกรรมของคณะทำงาน
3) รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการหลังจบโครงการเพื่อรายงานความก้าวหน้าและทำรายงานสรุปโครงการตามลำดับ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมการดูแลตนเองในเรื่องการรับประทานอาหาร การมีกิจกรรมทางกาย การจัดการ ความเครียด รับประทานยา ดูแลและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน ได้ถูกต้องเพิ่มขึ้น
3. กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินเกณฑ์มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง


>