กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านสาเมาะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

โรงเรียนบ้านสาเมาะ

โรงเรียนบ้านสาเมาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศชาติในอนาคตการพัฒนาเด็กให้ได้รับความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา จึงนับเป็นภารกิจสำคัญของหน่วยงานซึ่งรับผิดชอบจะต้องตระหนัก และให้ความสนใจเพื่อให้การพัฒนาเด็กเป็นไปอย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐานเหมาะสมกับวัย ปัจจุบันเด็กนักเรียนในโรงเรียนบ้านสาเมาะ ประมาณ70เปอร์เซนต์ มีภาวะเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ เหตุผลเพราะผู้ปกครองประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือการกรีดยางพารา ซึ่งต้องทำงานตั้งแต่กลางคืนจนถึงกลางวัน โดยเฉพาะในช่วงเช้าที่ต้องส่งลูกไปโรงเรียนมักเป็นเวลาต้องเก็บน้ำยาง ทำให้การเอาใจใส่ลูกเรื่องการกินอาหารเช้าไม่ค่อยสมบูรณ์ เด็กส่วนมากไม่ได้รับอาหารเช้าก่อนมาเรียน ทำให้ขาดการเตรียมพร้อมสำหรับเด็กที่ควรได้รับสารอาหาร โดยเฉพาะอาหารเช้าซึ่งเป็นมื้อสำคัญสำหรับเด็กที่กำลังเจริญเติบโต เป็นภาวะเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการในเด็ก และการพัฒนาทางด้านร่างกายของเด็กเป็นไปอย่างล่าช้าได้ โรงเรียนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องดำเนินการส่งเสริมด้านโภชนาการให้แก่เด็ก อันเป็นการส่งเสริมการพัฒนาทางด้านร่างกายให้แก่เด็ก ให้ได้รับการพัฒนาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติที่เน้นการพัฒนาผู้เรียน(เด็กและเยาวชน) ให้ เก่ง ดี มีความสุขทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจและสติปัญญาต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และปริมาณเหมาะสมกับร่างกาย
2. เพื่อให้ผู้ปกครอง คณะครู และนักเรียนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์และป้องกันโรคขาดสารอาหารในวัยเด็ก
3. เพื่อลดจำนวนเด็กที่มีภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 378
กลุ่มวัยทำงาน 250
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/05/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านภาวะโภชนาการโรงเรียนบ้านสาเมาะ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านภาวะโภชนาการโรงเรียนบ้านสาเมาะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มที่ 1นักเรียน ชั้นป.1-ป.3 จำนวน 200 คน ค่าอาหารว่าง 200 x 25 = 5,000 กลุ่มที่ 2 นักเรียน ชั้นป.4-ป.6 จำนวน 178 คนค่าอาหารว่าง 178 x 25 = 4,450 กลุ่มที่ 3 ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา คณะครู จำนวน 250 คน ค่าอาหารว่าง 250 x 50 = 12,500 ค่าอาหารกลางวัน 250 x 50 = 12,500 - ค่าวิทยากร 600 × 6 ช.ม.x 2 วัน วันเป็นเงิน 7,200 บาท - ค่าป้ายไวนิลโครงการเป็นเงิน 750 บาท ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ 1,500 บาท - ค่าวัสดุที่ใช้ในการอบรม
- เครื่องชั่งน้ำหนัก 2 เครื่อง เป็นเงิน 750 x 2 = 1,500 บาท
- ที่วัดส่วนสูง 2 เครื่องเป็นเงิน 390 x 2 = 780 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนมีทักษะในการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกาย
  2. ผู้ปกครอง คณะครู และนักเรียนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์และป้องกันโรคขาดสารอาหารในวัยเด็ก
  3. จำนวนเด็กที่มีภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ลดลง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
46180.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 46,180.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดี
2. เด็กนักเรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์กรมอนามัย
3. ผู้ปกครอง ครู นักเรียนมีความรู้ด้านภาวะโภชนาารที่ดี


>