กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์และเด็ก 1,000 วันแรกแห่งชีวิต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนอ.เมืองจ.สตูลปีงบประมาณ 2563

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์และเด็ก 1,000 วันแรกแห่งชีวิต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนอ.เมืองจ.สตูลปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน

นางเบญจมาภรณ์หลีเส็น
นางอารีนีหมัดสะแหละ
นางสาวมุณา กฤติยาสกุล
นางนฤมลโต๊ะหลัง
นางสุกัญญาลัสมาน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์(คน)

 

15.00

จากนโยบาย Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และทิศทางหนึ่งคือ การยกระดับคุณค่ามนุษย์ พัฒนาคนไทยให้เป็น “มนุษย์ที่สมบูรณ์ในศตวรรษที่ 21” ควบคู่กับการเป็น “คนไทย 4.0 ในโลกที่หนึ่ง” โดยมีการกำหนดคุณลักษณะของคนไทย 4.0 คือ คนไทย มี IQ เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 100 ภายใน 5 ปี และร้อยละ 70 ของเด็กไทย มีคะแนน EQ ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้ในปี 2559 กรมสุขภาพจิต ได้ดำเนินการสำรวจสถานการณ์ความฉลาดทางสติปัญญา (ไอคิว: IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว : EQ) เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั่วประเทศ จำนวน 23,641 คน พบว่า เด็กมีคะแนนไอคิว เฉลี่ยอยู่ที่ 98.2 ซึ่งสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจในปี 2554 เฉลี่ยอยู่ที่ 94 แต่สิ่งที่ต้องชวนคิดชวนคุยกันให้มากขึ้นนั้นคือ ยังพบเด็กที่มีระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์บกพร่องหรือต่ำกว่า 70 ถึงร้อยละ 5.8 สูงกว่ามาตรฐานสากล (ไม่ควรเกินร้อยละ 2) สำหรับจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 1 จากข้อมูลสำรวจ ปี 2554 พบว่า มีคะแนนไอคิว เฉลี่ยอยู่ที่ 101.40 และปี 2559 มีคะแนนไอคิว เฉลี่ยอยู่ที่ 100.55
ใน 1,000 วันแรกของชีวิต นับตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงสองขวบปีแรก เป็นช่วงที่โครงสร้างสมองมีการพัฒนาสูงสุด ส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น เด็กจึงควรได้รับสารอาหาร ที่ครบถ้วนในช่วงดังกล่าว โดยช่วง 270 วัน อยู่ในท้องแม่ แม่ควรกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ เช่น ปลา ตับ ไข่ ผัก ผลไม้ และนมสดรสจืด ช่วง 180 วัน (แรกเกิดถึง 6 เดือน) เป็นช่วงที่ลูกควรได้กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนเต็ม เพราะนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูก จากนั้น 550 วัน (หลัง 6 เดือนถึง 2 ปี) ให้ลูกกินนมแม่ควบคู่อาหารตามวัย เพื่อเป็นการเตรียมสมอง ร่วมกับการพัฒนาทักษะของเด็กโดยกระบวนการกระตุ้นผ่านกิจวัตรประจำวัน ในรูปแบบ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน ที่เหมาะสมจากผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเด็กไทย ให้มีคุณภาพ
ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัย จึงเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรที่เริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อน และมีสุขภาพแข็งแรง น้ำหนักทารกแรกเกิด เป็นข้อบ่งชี้ที่สำคัญของการเจริญเติบโต และการมีชีวิตรอดของทารก ทารกที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม มีอัตราการอยู่รอดต่ำมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กล่าช้า ระบบภูมิคุ้มกันต่ำ มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดปัญหาท้องเสีย หรือปอดบวม ในปัจจุบันมีหลักฐานที่แสดงว่า เด็กที่โตขึ้นมาจากทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหา โรคเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน Coronary heart disease และ stroke รวมทั้งค่าใช้จ่ายเพื่อใช้ในการดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ในระยะวิกฤตมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนสูง สาเหตุสำคัญของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2.5 กิโลกรัม (2,500 กรัม) คือ การคลอดก่อนกำหนด (คลอดก่อนกำหนด preterm หมายถึง การคลอดเมื่ออายุครรภ์ ต่ำกว่า 37 สัปดาห์) ประมาณ 75% ของการเสียชีวิตของทารกแรกเกิด เกิดในกลุ่มทารกน้ำหนักน้อย หรือถ้ารอดตายในช่วงต้นของชีวิต ก็อาจมีปัญหา ในด้านการเจริญเติบโต หรือพัฒนาการตามมา เช่น ปัญหาในด้านการเรียน การมองเห็น โรคทางเดินหายใจ โรคทางเดินอาหาร หรือการเป็นเด็กพิการ ปัญญาอ่อน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน เห็นความสำคัญของมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต เพื่อให้การดำเนินงานมีการบูรณาการ โดยให้เกิดคลินิกฝากครรภ์คุณภาพ (ANC)คลินิกเด็กสุขภาพดีมีคุณภาพ (WCC)อาสาสมัครสาธารณสุขคุณภาพ และครอบครัวคุณภาพ ดังนั้น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์และเด็ก 1,000 วันแรกแห่งชีวิต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนอ.เมือง จ.สตูล ปีงบประมาณ 2563

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ให้เป็นไปตามมาตรฐาน
  1. หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
  2. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์5ครั้ง ตามเกณฑ์มาตรฐาน
  3. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงในการตั้งครรภ์และได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
15.00 80.00
2 เพื่อสนับสนุนให้เด็กแรกเกิดถึง 6 เดือนกินนมแม่อย่างเดียว

อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน

8.00 50.00
3 เพื่อสนับสนุนให้เด็กแรกเกิดถึง 2 ปี มีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน และฟันไม่ผุ

1.ร้อยละของเด็ก 0-2 ปี มีพัฒนาการเด็กสมวัย
2.ร้อยละของเด็ก 0-2 ปี สูงดีสมส่วน

15.00 52.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 15
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 8
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/01/2020

กำหนดเสร็จ : 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุข

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุข (เนื้อหาประกอบด้วยการค้นหาหญิงตั้งครรภ์ในชุมชนให้มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์การดูแลและติดตามหญิงตั้งครรภ์ให้ได้รับยาวิตามินเสริมธาตุเหล็กตามแผนการรักษาประโยชน์ของการฝากครรภ์ การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การดูแลหญิงหลังคลอด การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็ก และติดตามเด็กกลุ่มปกติ

งบประมาณ

  • ค่าอาหารกลางวัน49 คน x 1 มื้อๆ ละ 75 บาท เป็นเงิน 3,675 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 49 คน x 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,450 บาท

  • ค่าจัดทำคู่มือสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขจำนวน 49 เล่มๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,450 บาท

รวมเป็นเงิน 8,575 บาท (แปดพันห้าร้อยเจ็ดสิบห้าบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครสาธารณสุขเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8575.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่ขึ้นทะเบียน มหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่ขึ้นทะเบียน มหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข มีการประชาสัมพันธ์เชิญชวนร่วมกันค้นหาหญิงตั้งครรภ์และแนะนำเข้าร่วมกิจกรรมโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต
  2. จัดทำเอกสารข้อมูลและแผนดูแลสำหรับหญิงตั้งครรภ์รายบุคคล (Individual Care plan)
  3. จัดกิจกรรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะหญิงตั้งครรภ์และสามีตามหลักสูตรเนื้อหา การส่งเสริมสุขภาพ 1,000 แรกแห่งชีวิต (เนื้อหาหลักประกอบด้วย พันธะสัญญา 1,000 วัน อาหาร การพักผ่อน วิธีการออกกำลังกาย การสร้างสมาธิด้วยจิตประภัสสร การประเมินความเครียดและวิธีการจัดการความเครียด วิธีการส่งเสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโต ศักยภาพสมองเด็ก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิธีการสังเกตอาการเจ็บครรภ์เตือนอาการเจ็บครรภ์คลอด และอาการผิดปกติที่ต้องรีบมาพบแพทย์
  4. ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการฯ

งบประมาณ

  • ค่าจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาดกว้าง 1X3 เมตร จำนวน 8 ป้ายๆละ 300บาทเป็นเงิน 2,400 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คน x 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 750 บาท
  • ค่าไข่ไก่เบอร์ 1สำหรับหญิงตั้งครรภ์เสี่ยง (คลอดบุตรน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม , ซีด และหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น )8 คน X3 แผงๆละ 120 บาท เป็นเงิน 2,880 บาท

รวมเป็นเงิน 6,030 บาท (หกพันสามสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
  2. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงในการตั้งครรภ์และการคลอด โดยการซักประวัติ และการตรวจร่างกายไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  3. หญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6030.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและติดตามเด็กกลุ่มเสี่ยง อายุแรกเกิด ถึง 2 ปี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและติดตามเด็กกลุ่มเสี่ยง อายุแรกเกิด ถึง 2 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข มีการประชาสัมพันธ์เชิญชวนร่วมกันค้นหาเด็กแรกเกิดถึงปีในพื้นที่และแนะนำเข้าร่วมกิจกรรมโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต
  2. จัดบริการคัดกรองค้นหาเด็กที่มีภาวะเสี่ยงเข้าร่วมโครงการ โดยกำหนดเกณฑ์เสี่ยงในเด็กแรกเกิดถึง 2 ปี ดังนี้
  • มีภาวะความพิการแต่กำเนิด
  • มีประวัติมีภาวะขาดอออกซิเจนในระยะแรกเกิด
  • น้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม
  • มีประวัติการคลอดก่อนกำหนด (คลอดก่อน 37 สัปดาห์)
  • มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ (เต้ย,ผอม) หรือเกินเกณฑ์ (อ้วน)
  • มีภาวะซีด ( Hct. <33% หรือ Hb <11gms)
  • เด็กอยู่ในภาวะยากลำบาก (ไม่มีผู้เลี้ยงดู/ครอบครัวหย่าร้าง/เด็กมีประวัติถูกกระทำความรุนแรง)
  • แม่อายุน้อยกว่า 17 ปี
    3.จัดทำเอกสารข้อมูลและแผนดูแลสำหรับเด็กกลุ่มเสี่ยงรายบุคคล
    4.จัดทำแผนปฏิบัติงานการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและติดตามกลุ่มเสี่ยงประจำเดือน
    5.จัดกิจกรรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก ตามหลักสูตรเนื้อหา การส่งเสริมสุขภาพ 1,000 วัน แรกแห่งชีวิต (เนื้อหาหลักประกอบด้วย พันธะสัญญา 1,000 วัน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารตามวัย วิธีการออกกำลังกายและการพักผ่อน การสร้างสมาธิด้วยจิตประภัสสร วิธีการสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัยวิธีการส่งเสริมพันาการเด็กตามแนวทางในคู่มือ DSPM ศักยภาพสมองเด็ก การวัดและการเจริญเติบโต การป้องกันอุบัติเหตุในเด็ก และอาการผิดปกติที่ต้องรีบมาพบแพทย์)
    6.ติดตามเยี่ยมเด็กกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการฯ เดือนละครั้ง


    งบประมาณ

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 15 คน x 6 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน2,250 บาท

    • ค่าไข่ไก่เบอร์ 1สำหรับเด็กกลุ่มเสี่ยง 15คน X3 แผงๆละ 120 บาท เป็นเงิน 5,400 บาท

    รวมเป็นเงิน 7,650 บาท (เจ็ดพันหกร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน (Excusive Breast Feeding) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
2.เด็กแรกเกิดถึง 2 ปี ได้รับการส่งเสริมและประเมินคัดกรองพัฒนาการเด็ก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

3.เด็กกลุ่มที่มีความเสี่ยงได้รับการติดตาม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7650.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,255.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่น้อยกว่าร้อยละ7

2.ร้อยละของเด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการเด็กสมวัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 85

3.ร้อยละของเด็ก 0-5 ปี สูงดีสมส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 52

4.ครอบครัวของหญิงตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัยมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการส่งเสริมอนามัยของแม่และเด็กได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

5.เครือข่ายการดำเนินงานและการบริหารจัดการร่วมกัน ในการแก้ไขปัญหาสำคัญด้านอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่ โดยผ่านกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชิวิตระดับอำเภอ


>