กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาระบบบริการสำหรับผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองคลองแห ประจำปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทสบาลเมืองคลองแห

ตำบลคลองแห

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน (คน)

 

17.00
2 จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)

 

30.00
3 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว(คน)

 

20.00

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยพบการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรในปี ๒๕๓๗ มีผู้สูงอายุ ๔ ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ ๖.๘ ของประชากรทั้งหมด) ในปี ๒๕๕๗ เพิ่มเป็น ๑๐ ล้านคน (ร้อยละ ๑๔.๙) และคาดว่าในอีก ๒๕ ปีข้างหน้า จะเพิ่มเป็น ๒๐.๕ ล้านคน (ร้อยละ ๓๒.๑) และมีอัตราส่วนวัยแรงงานต่อผู้สูงอายุลดลงจาก ๖:๑ ในปี ๒๕๕๓จะเหลือวัยแรงงาน ๒ คน ต่อผู้สูงอายุ ๑ คนในปี ๒๕๘๓ซึ่งจะส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการให้บริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคและปัญหาสุขภาพ ได้ถึงร้อยละ ๙๕ ของผู้สูงอายุทั้งหมดซึ่งจากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข ที่ได้ดำเนินการคัดกรองเพื่อจำแนกกลุ่มผู้สูงอายุตามภาวะพึ่งพิงและประเมินความจำเป็นด้านการสนับสนุนบริการ และจัดบริการด้านสุขภาพและสังคม จำนวน ๖,๓๙๔,๐๒๒ ราย จำแนกเป็นกลุ่มติดสังคมประมาณ ๕ ล้านคน และกลุ่มติดบ้านติดเตียง ประมาณ ๑.๓ ล้านคน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมทั้งทางด้าน ร่างกาย จิตใจสังคม จิตวิญญาณ
เทศบาลเมืองคลองแหตระหนักและให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมรับมือและวางแนวทางเพื่อรองรับที่ประเทศไทยและประชากรในพื้นที่เทศบาลเมืองคลองแหเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ จึงได้มีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาลเมืองคลองแหขึ้น เพื่อดำเนินงานเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม โดยมีนโยบายด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทุกกลุ่ม ซึ่งนโยบายสำคัญคือ การทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่แข็งแรง ชะลอการเกิดโรคและความเจ็บป่วยจนต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิง และวางระบบการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีดูแลตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี การจัดการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวจึงเป็นเรื่องสำคัญศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาลเมืองคลองแหร่วมกับ เทศบาลเมืองคลองแหและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบบริการด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่ “รวมพลังขับเคลื่อนสังคมผู้สูงวัย เข้าใจ เข้าถึง พึ่งได้” จัดระบบการดูแลที่มีประสิทธิภาพ ยั่งยืนและ จัดเตรียมระบบดูแลในบ้าน สถานพักฟื้น และโรงพยาบาลที่เป็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชนและครอบครัว ซึ่งการเตรียมระบบดูแลในบ้าน จำเป็นต้องมีสำรวจและค้นหาและประเมินสุขภาพของผู้สูงอายุเพื่อจำแนกประเภทผู้สูงอายุ พร้อมทั้งเตรียมองค์ความรู้ให้กับผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) โดยการจัดอบรมหลักสูตรกรมอนามัย ๗๐ ชั่วโมง(กำหนดผู้ดูแลผู้สูงอายุ ๑ คน ดูแลผู้สูงอายุ ๑๐ คน) เพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
ตำบลคลองแหเป็นพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินการตามโครงการพัฒนาระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบลคลองแห เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพบรรลุตามวัตถุประสงค์ จึงต้องมีการจัดการระบบข้อมูลทางด้านสุขภาพของผู้สูงอายุและบถุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตเทศบาลเมืองคลองแหจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบบริการสำหรับผู้สูงอายุเทศบาลเมืองคลองแห ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดบริการดูแลระยะยาวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

ลดจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว(คน)

20.00 40.00
2 เพื่อจัดบริการดูแลระยะยาวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

จำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน (คน)

17.00 40.00
3 จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)

บุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)

50.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ 60
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 10
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมทีมคณะทำงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมทีมคณะทำงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมทีมคณะทำงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวจำนวน20 คน (2ครั้ง)
- ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่มจำนวน 20 คน ๆละ 25 บาท จำนวนมื้อ เป็นเงิน1,000 บาท
- ค่าเอกสารการประชุม20 ชุดๆละ 25 บาทx 2 ครั้งเป็นเงิน 1,000บาท รวมเป็นเงิน 2,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานมีแผนงานดำเนินงามตามกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 2 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ เพื่อจัดบริการด้านสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ เพื่อจัดบริการด้านสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรม Care giver หลักสูตร 70 ชั่วโมง
-ภาคทฤษฎีและปฏิบัติในห้องเรียน จำนวน 8 วัน รวม 50 ชั่วโมง - ฝึกปฏิบัติในสถานพยาบาล 10ชั่วโมง และฝึกปฏิบัติในชุมชน 10 ชั่วโมง
- ค่าอาหารกลางวันผู้เข้ารับการอบรมและวิทยากร 50 คน ๆละ 70 บาท/มื้อ จำนวน 8 มื้อ เป็นเงิน๒8,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรมและวิทยากร 50คนๆละ 25 บาท/มื้อจำนวน 16 มื้อ เป็นเงิน20,000บาท
- ค่าเอกสารประกอบการอบรม40 เล่ม x 180 บาทเป็นเงิน 7,200บาท -ค่าป้ายไวนิล ขนาด 2 x 2.5 เมตร รวม 5 ตรม.ราคา ตรม.ละ 120 บาทเป็นเงิน 600 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรภาคทฤษฎี 50 ช.ม.ๆ ละ ๖00 บาทเป็นเงิน 30,000บาท ภาคปฏิบัติ 20 ช.ม.ๆ ละ600 บาท เป็นเงิน12,000 บาทรวมเป็นเงิน42,000บาท - ค่าประกาศนียบัตรพร้อมกรอบ จำนวน 40 ใบๆละ120 บาท เป็นเงิน4,800 บาท - ค่ากระเป๋าใส่เอกสารจำนวน 40 ใบ ๆละ 250 บาท เป็นเงิน 10,000บาท รวมเป็นเงิน 112,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

CARE GIVERผ่านการอบรม ร้อยละ 100สามารถให้การดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงได้อย่างคุณภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
112600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 114,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เกิดระบบบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นมีภาวะพึ่งพิงได้รับบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2.บุคลากรในการดูแลระยะยาวมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม และสามารถให้การดูแลอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ


>