กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังอ่อนหวาน มัน เค็มลดเสี่ยง ลดโรค ลดแทรกซ้อน ความดันโลหิตสูงและเบาหวานตำบลยะหา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

หมูู่ที่ 4,5,7,8 ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน

 

124.00
2 กลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน

 

25.00
3 กลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิต

 

268.00
4 กลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิต

 

27.00
5 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

 

298.00

โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจและหลอดเลือด นับเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ในปัจจุบันซึ่งทั่วโลกให้ความสำคัญกับการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้นเนื่องจากสภาวะความเป็นอยู่ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของประชาชนทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบก่อให้เกิดโรค เกิดภาวะแทรกซ้อน เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยง มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย ความเครียด การดื่มสุรา สูบบุหรี่ และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD)โรคหัวใจและหลอดเลือด(CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข เป็นต้น
จากข้อมูลการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอปี 2562 พบกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 124 ราย และ 25 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.65 และ 1.95ผู้ป่วยรายใหม่14 ราย พบกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 268 ราย และ 27 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.93 และ 2.41 ตามลำดับ ผู้ป่วยรายใหม่36ราย ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด 298 รายควบคุมระดับความดันได้ดีจำนวน 163 คน คิดเป็นร้อยละ 54.69 มีภาวะโรคแทรกซ้อน 61 ราย ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน109 ราย ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีจำนวน 39 คนคิดเป็นร้อยละ 35.44 มีภาวะแทรกซ้อน 15 ราย มีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้นการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ในประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป จึงมีความจำเป็นต้องได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ ผู้ป่วยสามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตได้ และกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงสูงจำเป็นต้องได้รับการส่งต่อพบแพทย์เพื่อเข้ากระบวนการรักษาต่อไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอเห็นความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังอ่อนหวาน มัน เค็มลดเสี่ยง ลดโรค ลดแทรกซ้อน ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องและมีพฤติกรรมเหมาะสมในการป้องกันโรค

จำนวนประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องและมีพฤติกรรมเหมาะสมในการป้องกันโรค

200.00 200.00

1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนได้
3. กลุ่มป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันได้ดี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 1,386
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 431
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 444
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/02/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้บริการคัดกรอง DM HT

ชื่อกิจกรรม
ให้บริการคัดกรอง DM HT
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 ให้บริการคัดกรอง DM HT กลุ่ม 15 - 34 ปี ด้วยแบบคัดกรองด้วยวาจา 6 ข้อ และคัดกรอง DM HT กลุ่ม 35 ปีขึ้นไป และประเมิน CVD Risk  score จากนั้นคัดแยกกลุ่ม ปกติ  เสี่ยง  ป่วย  พร้อมจัดทำทะเบียน     กลุ่มเสี่ยง HT •  กลุ่มสงสัยป่วย sbp>=140 หรือ dbp>=90
•  กลุ่มเสียง 2 sbpอยู๋ระหว๋าง 130 ถึง 139 หรือ dbpอย๋ระหว๋าง 85 ถึง 89
•  กลุ่มเสียง 1 sbpอยู๋ระหว๋าง 120 ถึง 129 หรือ dbpอยู๋ระหว๋าง 80 ถึง 84                    กลุ่มเสี่ยง DM •  กลุ่มเสี่ยง  FBS  100-125  mg/dl •  กลุ่มเสี่ยง  RPG 140-199  mg/dl

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถคัดกรอง DM HT และมีการจัดทำทะเบียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้โรงเรียน NCD Lakor แก่กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้โรงเรียน NCD Lakor แก่กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมให้ความรู้ โรงเรียน NCD Lakor แก่กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย จำนวน 200 คนแบ่งเป็น 4 รุ่นๆ ละ 50 คน แต่ละรุ่นจัดอบรม 4 ครั้งโดยมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมดังนี้ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 4 รุ่นๆ ละ 50 คน จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 20,000บาท 2.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 12 ชั่วโมง ๆละ 600เป็นเงิน7,200บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเสี่ยงมีความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อย่างน้อยร้อยละ 80 2.จำนวนผู้ป่วยรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงลดลง จากปีก่อน 3.ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ (HbA1C < 7%) เพิ่มขึ้นจากก่อนเข้าร่วมโครงการ อย่าง น้อยร้อยละ 10 4.ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ (BP <140/90 mmHg) เพิ่มขึ้นจากก่อนเข้าร่วมโครงการ อย่างน้อยร้อยละ 10

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27200.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมคลินิก DPAC เพื่อให้บริการแก่ผู้ป่วยเรื้อรัง กลุ่มเสี่ยง และประชาชนทั่วไปที่เข้ามารับบริการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคลินิก DPAC เพื่อให้บริการแก่ผู้ป่วยเรื้อรัง กลุ่มเสี่ยง และประชาชนทั่วไปที่เข้ามารับบริการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ใช้ในการวัดความดันให้แก่ผู้ป่วยในคลินิค DPAC ตลินิก HT+DM และการออกหน่วยเชิงรุกในชุมชน  รายละเอียดค่าใช้จ่ายกิจกรรม ดังนี้ 1. ค่าจัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตสูงแบบสอดแขน จำนวน 1 เครื่อง      เป็นเงิน 70,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยเรื้อรัง ประชาชนที่มีกลุ่มเสี่ยง ได้รับการเฝ้าระวังเรื่องความดันโลหิตสูง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
70000.00

กิจกรรมที่ 4 เฝ้าระวัง ติดตามกลุ่มสงสัยป่วยและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีความจำเป็นตามลำดับก่อนหลัง

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวัง ติดตามกลุ่มสงสัยป่วยและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีความจำเป็นตามลำดับก่อนหลัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามการดูแลผู้ป่วยรายกรณีที่บ้านในกลุ่มสงสัยป่วยต่อความดันโลหิตสูงแและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันไม่ได้ ให้กลับไปวัดความดันด้วยตนเอง (Self Monitoring Blood Pressure: SMBP) ที่บ้านโดยให้ยืมใช้ คนละ 1 สัปดาห์หากเกินเกณฑ์ส่งพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยรายละเอียดค่าใช้จ่าย 1.จัดซื้อเครื่องวัดความดันแบบดิจิทอล จำนวน 6 เครื่องๆ ละ 2,700 บาทเป็นเงิน16,200บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ป่วยสามารถตรวจติดตามความดันได้ด้วยตนเองที่บ้านและบันทึกผลความดันเปรียบเทียบ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16200.00

กิจกรรมที่ 5 ตรวจระดับน้ำตาล ดูแลผู้ป่วยและจัดระบบส่งต่อผู้ป่วย

ชื่อกิจกรรม
ตรวจระดับน้ำตาล ดูแลผู้ป่วยและจัดระบบส่งต่อผู้ป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดกิจกรรมติดตามการดูแลผู้ป่วยรายกรณีที่บ้านโดยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง (SMBG) ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ และ กิจกรรมวัดความดันที่บ้าน(HBPM)  สำหรับกลุ่มป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันไม่ได้ และเยี่ยมบ้านสอบสวนโรค 2.ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังทุกรายโดย นสค.ประจำหมู่บ้านร่วมกับ อาสาสมัตรสาธารณสุข 3.จัดระบบส่งต่อผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนเพื่อรับการรักษาและให้มีการติดตามการนัดหมายต่อเนื่อง ดูแลสภาพจิตใจหรือช่วยเหลือปรับสิ่งแวดล้อมและฟื้นฟูสมรรถภาพรวมถึงประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ป่วยได้รับการดูแลและได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด 2.ผู้ป่วยได้รับการรักษาและติดตามอย่างต่อเนื้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 113,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 กลุ่มเสี่ยงมีความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อย่างน้อยร้อยละ 80
2 จำนวนผู้ป่วยรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงลดลง จากปีก่อน
3 .ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ (HbA1C < 7%) เพิ่มขึ้นจากก่อนเข้าร่วมโครงการ อย่างน้อยร้อยละ 10
4. ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ (BP


>