กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนร่วมใจใส่ใจดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนเขตเทศบาลตำบลบูเก๊ะตา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูด

นางแวเยาะวาเย็ง

เขตเทศบาลตำบลบูเก๊ะตา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันโรคทางจิตเวชเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข นับวันเพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ โรคทางจิตเวชก่อให้เกิดความผิดปกติทางด้านความคิด อารมณ์ การรับรู้ และพฤติกรรม จำเป็นต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิต การเจ็บป่วยซ้ำถี่มากขึ้น ยิ่งทำให้เกิดความเสื่อมถอยของบุคลิกภาพขาดทักษะพื้นฐานในการแก้ปัญหา มีพฤติกรรมก้าวร้าว หลงผิด ประสาทหลอน และพฤติกรรมฆ่าตัวตาย เป็นต้น การมีสมาชิกในครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคทางจิตเวช มีผลกระทบต่อสมาชิกในครอบครัวเป็นอย่างมาdทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ
จากข้อมูลผู้ป่วยโรคจิตเวชในประเทศไทยจากรายงาน HDC พบว่า จังหวัดนราธิวาส มีปัญหาในเรื่องผู้ป่วยจิตเวช ตั้งแต่ปี๒๕๕๗-๒๕๕๙ มีผู้ป่วยทั้งหมด ๒,๙๔๕ ราย๓,๔๕๘ ราย ๓,๖๔๑ ตามลำดับ ภาพรวมของโรงพยาบาลแว้ง พบว่าผู้ป่วยด้วยโรคจิตเวชที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตั้งแต่ปี๒๕๕๗-๒๕๖๐ ดังนี้จำนวน ๔๓๙ ราย , ๔๘๓ ราย ๕๒๘ ราย และ ๕๖๙ ราย ตามลำดับจะเห็นได้ว่าข้อมูลสถิติผู้ป่วยโรคจิตเวชของอำเภอแว้งมีจำนวนเพิ่มขึ้น สาเหตุจากปัญหายาเสพติด ประชาชนได้รับการศึกษาค่อนข้างต่ำ เศรษฐกิจ ซึ่งผู้ป่วยจิตเวชมีแนวโน้มเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูดมีผู้ป่วยจิตเวชในเขตเทศบาลอยู่ทั้งหมด 30 ราย รักษาอย่างต่อเนื่อง 15 ราย รักษาไม่ต่อเนื่อง 10 รายและไม่ยอมเข้ารับการรักษา 5 ราย คิดเป็นร้อยละ ๕๐, ร้อยละ16.67 ตามลำดับ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาผู้ป่วยอาการกำเริบฉุกเฉินมากขึ้น
ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูดเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการชุมชนร่วมใจใส่ใจดูแลผู้ป่วยจิตเวชขึ้น โดยร่วมกับกองทุนเทศบาลตำบลบูเก๊ะตา เพื่อให้ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช อสม.และผู้นำชุมชน มีความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเวช สามารถให้การดูแลผู้ป่วยอย่างถูกต้อง ผู้ป่วยรับยาอย่างต่อเนื่อง ลดอาการกำเริบของผู้ป่วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ญาติ อสม.ผู้นำชุมชนและผู้นำศาสนา มีความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเวช

ญาติ อสม.ผู้นำชุมชนและผู้นำศาสนา ที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเวช เพิ่มขึ้น

80.00
2 2.เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ผู้ป่วยจิตเวชรับยาตามนัด

70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 30
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อาสาสมัครสาธารณสุข 40

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเวชแก่ญาติ อสม.ผู้นำชุมชนและผู้นำศาสนา

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเวชแก่ญาติ อสม.ผู้นำชุมชนและผู้นำศาสนา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไวนิลโครงการ ขนาด 2.2 x 1.8 เมตร เป็นเงิน 1,000 บาท
ค่าอาหารกลางวัน 80 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 80 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 2 คนๆละ3 ชั่งโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 3,600บาท
ค่าวัสดุอุปกรณ์2,400 บาท
รวม เป็นเงิน 15,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เพิ่มขึ้น มากกว่าร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชโดยภาคีเครือข่ายในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชโดยภาคีเครือข่ายในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชโดยภาคีเครือข่ายในชุมชน เช่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่อปท.ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และอสม.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยจิตเวชได้รับการเยี่ยมบ้านโดยภาคีเครือข่ายในชุมชน ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ญาติผู้ดูแลและภาคีเครือข่ายมีความรู้เพิ่มขึ้น
อัตราผู้ป่วยจิตเวชรับยาตามนัด เพิ่มขึ้น
อัตราผู้ป่วยจิตเวชมีอาการกำเริบฉุกเฉิน น้อยกว่า ร้อยละ 50


>