กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ยิ้มสดใส เด็กไทยฟันดี ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา ปีงบประมาณ2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูด

นางสาวมูนา รือสะ ตำแหน่งเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กวัยเรียน (อายุ 12 ปี) ที่มีปัญหาฟันผุ

 

50.00

แผนพัฒนาทันตสาธารณสุขแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ.2520-2525) จนถึงปัจจุบัน จัดให้เด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาเป็นเป้าหมายหลักในการดำเนินงานทันตสาธารณสุข ปัญหาสุขภาพช่องปากเป็นปัญหาที่สำคัญและก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ ร่วมทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นปัญหาที่สามารถป้องกัน และลดความรุนแรงของโรคได้ เด็กอายุ 6-12 ปี มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่องปากสูง เนื่องจากเป็นกลุ่มวัยที่เริ่มสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมต่างๆที่เข้ามามีอิทธิพล ดังนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการตรวจสอบและการบริการทันตกรรมแก่เด็กช่วงวัยนี้โดยทันตบุคลากรและการปลูกฝังพฤติกรรมทันตสุขภาพที่ถูกต้อง เพื่อจะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพช่องปากที่สมบูรณ์ต่อไป จากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพนักเรียนระดับประเทศ ครั้งที่ 7 ของสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัยพบว่าเด็กประถมศึกษา มีอัตราการเกิดโรคฟันผุ ร้อยละ 52.3 ค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดเพียง 1.92 ซี่/คน มีกลวิธีการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพ และการแก้ปัญหาฟันผุในเด็กวัยเรียน ในหลากหลายกิจกรรมตามที่สำนักทันตสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้านทันตกรรมสำหรับเด็ก"ยิ้มสดใส เด็กไทยฟันดี" ตั้งแต่ปี 2548 เพื่อให้เด็กประถมสึกษาได้รับการดูแลทันตสุขภาพอย่างเหมาะสม โดยทุ่งเน้นบริการส่งเสริมป้งอกันทันตสุขภาพที่มีคุณภาพ และครอบคลุม ร่วมกันพัฒนาศักยภาพของเด็กในการดุแลรักษาอนามัยในช่องปากของตนเอง และมีการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง ในปี 2558 โดยการดำเนินงานครั้งนี้ เด็กชั้นประถมศึกษาที่ 1,3 และ 6 ได้รับบริการตรวจฟันแบบครอบคลุมทุกซี่ในช่องปาก ส่วนนักเรียนชั้นประถมสึกษาปีที่ 1 ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันซี่ที่หนึ่ง ส่วนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันในฟันกรามแท้ซี่ที่สองซึ่งเสี่ยงต่อการผุบนด้านบดเคั้ยว เช่น เดียวกับรุ่นที่ได้รับบริการในปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะสามารถลดอัตราการเกิดโรคฟันผุในฟันกรามแท้ลดลง ระบบการดำเนินโครงการนี้ จึงมุ่งที่จะจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อจัดการระะบริการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพ และการบริหารจัดการที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทที่แตกต่างกันของพื้นที่ และสามารถตอบสนองความจำเป็นของเด็กนักเรียนประถมศึกษาในสถานศึกษาระดับประถมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูด ได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้านทันตกรรมสำหรับเด็ก "ยิ้มสดใส เด็กไทยฟันดี" ในเขตเทศบาลตำบลบูเก๊ะตา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กกลุ่มอายุ 12 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากเพิ่มขึ้น

เด็กในกลุ่มอายุ 12 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80

90.00 60.00
2 เพื่อให้เด็กในกลุ่มอายุ 12 ปี ได้รับบริการทันตกรรมเพิ่มขึ้น

เด็กในกลุ่มอายุ 12 ปี ได้รับบริการทันตกรรมมากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 70

90.00 60.00
3 เพื่อให้เด็กในกลุ่มอายุ 12 ปี มีฟันดีไม่มีผุเพิ่มขึ้น

เด็กในกลุ่มอายุ 12 ปี ไม่มีผุ (Cavity Free) มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 60

90.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 90
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจสุขภภาพช่องปากเด็ก

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสุขภภาพช่องปากเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • สาธิตการวิธีการแปรงฟันที่ถูกต้อง -ฝึกทักษะการแปรงฟันอย่างมีคุณภาพ -ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 x 2 เมตรx1 ผืน= 600บาท -อุปกรณ์โครงการ 700 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กในกลุ่มอายุ 12 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1300.00

กิจกรรมที่ 2 ให้บริการทันตกรรม

ชื่อกิจกรรม
ให้บริการทันตกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้บริการเคลือบหลุมร่องฟันและบริการทันตกรรมตามความจำเป็น ค่าอาหารกลางวัน 50 บาทx90 คน = 4,500 บาท ค่าอาหารว่าง 25 บาทx2 มื้อ x 90 คน = 4,500บาท ค่าชุดแปรงสีฟันยาสีฟัน 50 บาท x 90 คน= 4,500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กในกลุ่มอายุ 12 ปี ได้รับบริการทันตกรรมเพิ่มขึ้น เด็กในกลุ่มอายุ 12 ปี มีฟันดีไม่มีผุ (Cavity Free) เพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กในกลุ่มอายุ 12 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากเพิ่มขึ้น
2. เด็กในกลุ่มอายุ 12 ปี ได้รับบริการทันตกรรมเพิ่มขึ้น
3. เด็กในกลุ่มอายุ 12 ปี มีฟันดีไม่มีผุ (Cavity Free) เพิ่มขึ้น


>