กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เตรียมพร้อมกายใจ หญิงไทยแก้มแดง ดูแลสุขภาพก่อนตั้งครรภ์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

รพ.สต.ควนโดน

รพ.สต.ควนโดน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาเด็กน้อยด้อยคุณภาพ ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2569) ว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ และผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ต.ค.2559 มีนโยบาย "รัฐบาลสนับสนุนและส่งเสริมการเกิดเพิ่มขึ้นด้วยความสมัครใจ เพื่อเพียงพอสำหรับทดแทนประชากร และการเกิดทุกรายมีการวางแผน มีความตั้งใจและมีความพร้อมในทุกด้าน นำไปสู่การคลอดที่ปลอดภัย ทารกแรกเกิดมีสุขภาพแข็งแรง พร้อมที่จะเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ"
คลินิกฝากครรภ์ ได้ทบทวนปัญหาการดูแลหญิงตั้งครรภ์ แล้วพบว่า จากผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก ปี 2561-2562 อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัมร้อยละ 9.32 และ 10.34 (เกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ 7) อัตราการฝากครรภ์เร็วก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 72.72และ 70.49( เกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ) อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี เท่ากับ 32.1 และ 35.71 ( ไม่เกิน42 ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี พันคน)ทำให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับคำแนะนำในการดูแลตนเองล่าช้า การได้รับยาเสริมธาตุเหล็กและการประเมินความเสี่ยงต่างๆล่าช้าปัญหาที่ตามมาคือ ความพิการแต่กำเนิดของทารก เช่น โรคปากแหว่งเพดานโหว่ แขนขาพิการแต่กำเนิด โดยเฉพาะภาวะหลอดประสาทไม่ปิดเป็นต้นซึ่งช่วงเวลาทองคือช่วงอายุ 24-29 ปี โดยรับประทานสัปดาห์ละ 1 ครั้ง อย่างน้อย 3 เดือนก่อนการตั้งครรภ์ จะช่วยลดภาวะพิการแต่กำเนิดของทารกลงได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อแก้ปัญหาการฝากครรภ์ล่าช้าของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่

ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์เร็วก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

70.00 80.00
2 2เพื่อลดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์และป้องกันลูกพิการแต่กำเนิด

ร้อยละหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง ไม่เกินร้อยละ 10

15.00 10.00
3 3 เพื่อแก้ปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่น

อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปีไม่เกิน 42 ต่อประชากรหญิงอายุ 15- 19 ปี 1,000 คน

35.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน 75
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพและฟื้นฟูความรู้ อสม. ด้านอนามัยแม่และเด็ก

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพและฟื้นฟูความรู้ อสม. ด้านอนามัยแม่และเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.คัดเลือก อสม.เข้าร่วมโครงการ จำนวน 25 คน ตัวแทนหมู่บ้านละ 3-4 คน

2.ชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินกิจกรรมในโครงการ

3.ชี้แจ้ง สถานการณ์ปัญหาการดำเนินงานปีที่ผ่านมา เพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาร่วมกัน

4.จัดเตรียมเอกสารหลักสูตรที่จะใช้ในการอบรมกลุ่มเป้าหมายและติดต่อวิทยากร

5.จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพและฟื้นฟูความรู้ อสม. ด้านอนามัยแม่และเด็ก

งบประมาณ

-ค่าอาหารว่างและอาหารกลางวัน จำนวน 25 คน ๆละ 100 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 2,500 บ.

-ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชม.ๆละ 300 บ.เป็นเงิน 1,200 บ.

-ค่าตอบแทนการสำรวจค้นหา หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ในชุมชน จำนวน 25 คน คนละ100 บ. เป็นเงิน 2,500 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.มีความรู้ ความสามารถในการติดตาม ดูแลค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6200.00

กิจกรรมที่ 2 2.กิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องความสำคัญของโฟลิคต่อหญิงวัยเจริญพันธ์และการวางแผนครอบครัว

ชื่อกิจกรรม
2.กิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องความสำคัญของโฟลิคต่อหญิงวัยเจริญพันธ์และการวางแผนครอบครัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กำหนดวันและประชาสัมพันธ์โครงการ

2.ประสาน อสม.ในพื้นที่ เพื่อคัดเลือก กลุ่มเป่าหมายเข้าร่วมโครงการ โดยใช้เกณฑ์ ดังนี้

-หญิงวัยเจริญพันธ์ อายุ 15-45 ปี ที่ยังไม่เคยมีบุตร

-หญิงตั้งครรภ์

-มารดาหลังคลอดบุตร อายุ ไม่เกิน 2 ปี

3.จัดเตรียมแผ่นพับ และสื่อที่ใช้ในการอบรม

4.จัดกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องความสำคัญของโฟลิคต่อหญิงวัยเจริญพันธ์และการวางแผนครอบครัว จำนวน 3 รุ่น รุ่นละ 45คน

รายละเอียดกิจกรรม ดังนี้

4.1 ตรวจหาปริมาณความเข้มข้นเลือด (Hct) ให้แก่กลุ่มเป้าหมายทุกคน

4.2 จ่ายยาเม็ดโฟลิก คนละ 30 เม็ด รับประทาน วันละ 1 เม็ด ต่อเนื่อง 1 เดือน

4.3 กลุ่มเป้าหมายที่วางแผนตั้งครรภ์ รับประทานยาเม็ดโฟลิกต่อเนื่อง 3 เดือน

4.4 ติดตามตรวจความเข้มข้นเลือด (Hct) ทุก 1 เดือน ในกรณีกลุ่มเป้าหมาย ที่มีความเข้มข้นเลือดต่ำกว่าเกณฑ์ (น้อยกว่า33% )

งบประมาณ

-ค่าอาหารว่างและอาหารกลางวัน จำนวน 45 คนคนละ 100 บาท/ มื้อจำนวน 3 มื้อเป็นเงิน 13,500 บ.

-ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คน คนละ 3 ชม.ๆ ละ 300 บาทx 3 วัน เป็นเงิน 5,400 บ.

-ค่ายาเม็ดโฟลิก จำนวน 5 กล่อง (5,000เม็ด) กล่องละ 470 บ. เป็นเงิน 2,350 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. หญิงวัยเจริญพันธ์มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์เร็วและสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ได้
๒. หญิงวัยเจริญพันธ์ได้รับการวางแผนครอบครัว และเตรียมความพร้อมในการตั้งครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,450.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. หญิงวัยเจริญพันธ์มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์เร็วและสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ได้
๒. หญิงวัยเจริญพันธ์ได้รับการวางแผนครอบครัว และเตรียมความพร้อมในการตั้งครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ
๓. หญิงตั้งครรภ์ ไม่เกิดอุบัติการณ์จากภาวะโลหิตจางในขณะตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด และหลังคลอด


>