กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กสูงดีสมส่วน ปี2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านศาลามะปราง

1. นางกัลญา แสงน่วม
2. นางประดับ แก้วแป้น
3. นางนัยนา เปลี่ยวดี
4. นางจบ อ่อนไพรี
5. นางสุภามีศรี

หมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ1,2,4 10ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพตจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กอายุ 0-6 เดือน มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ไม่เกิน ร้อยละ 10

 

2.00
2 ร้อยละของเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม

 

2.00
3 เด็กอายุ 0-6 เดือน มีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์/สมส่วน ร้อยละ 60

 

2.00
4 เด็กอายุ 0-6 เดือน มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 85

 

2.00

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – ๗๒ เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม หากเด็กได้รับความรัก ความอบอุ่น การอบรมเลี้ยงดูที่เหมาะสมถูกต้อง ส่งเสริมพัฒนาการและประสบการณ์เรียนรู้ที่สอดคล้องกับวัยของเด็ก ได้รับอาหารถูกหลักโภชนาการ การดูแลเอาใจใส่ ความมั่นคงปลอดภัย เด็กวัยนี้จะมีภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง พัฒนาการสมวัยทุกด้านทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจและสังคม พร้อมที่จะเติบโตเป็นประชากรที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต จากรายงานภาวะโภชนาการเด็กแรกเกิด – ๗๒ เดือน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลามะปราง มีจำนวน ๑๕๐ ราย พบว่า มีเด็กที่มีภาวะโภชนาการน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๓๔ และมีน้ำหนักเกินคิดเป็นร้อยละ ๑๑.๘๖ ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาที่มีระดับความรุนแรงสูงในระดับหนึ่ง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความร่วมมือกันในการแก้ปัญหาดังกล่าว ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลามะปรางร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเขาย่าได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังทางโภชนาการในเด็กแรกเกิด – ๗๒ เดือน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัยเติบโตและมีพํมนาการสมวัยเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้มีการจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กแรกเกิด – ๗๒ เดือน ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0-72 เดือนให้มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน ร้อยละ 60

1.เด็กอายุ 0-72 เดือน สูงดีสมส่วนร้อยละ 60

2.00 60.00
2 เพื่อเฝ้าระวังเด็กอายุ 0-72 เดือนที่มีภาวะน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์หรือน้ำหนักเกินเกณฑ์ไม้เกิน ร้อยละ 10

1.เด็กอายุ 0- 72 เดือน มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ไม่เกินร้อยละ 10

2.00 10.00
3 3.เพื่อให้เด็กอายุ 0-72 เดือน มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 80

1.เด็กอายุ 0-72 เดือน มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 80

1.00 80.00

1.เพื่อเฝ้าระวังพัฒนาการเด็ก อายุ 0-72เดือนมีพัฒนาการสมวัย

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 149
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2020

กำหนดเสร็จ 30/07/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. การเฝ้าระวังติดตามการเจริญเติบโตโดย อสม. 2.จัดทำทะเบียน/บัยชีเด็กปฐมวัยที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ 3.จัดหาเครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดส่วนสูง ที่มีมาตรฐาน หากจำเป็นเนื่องจากชำรุดหรือเสื่อม 4.ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กทุก 3 เดือน ตือ ตุลาคม มกราคม เมษายน แ

ชื่อกิจกรรม
1. การเฝ้าระวังติดตามการเจริญเติบโตโดย อสม. 2.จัดทำทะเบียน/บัยชีเด็กปฐมวัยที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ 3.จัดหาเครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดส่วนสูง ที่มีมาตรฐาน หากจำเป็นเนื่องจากชำรุดหรือเสื่อม 4.ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กทุก 3 เดือน ตือ ตุลาคม มกราคม เมษายน แ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวันผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 100คนๆละ 1 มื้อๆละ 60 บาทจำนวน 6,000บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 100 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25บาทจำนวน 5,000 บาท
  3. ค่าสมนาคุณวิทยากรจำนวน5ชั่วโมงๆละ 300 บาท จำนวน 1,500บาท
  4. ค่าอาหารว่างอสม.ติดตามเด็กในพื้นที่ จำนวน50 คนๆละ1 มื้อๆละ 25บาทจำนวน3ครั้ง จำนวน 3,750บาท
  5. ค่าอาหารเสริมเด็กขาดสารอาหารจำนวน25คน จำนวน11,250บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27500.00

กิจกรรมที่ 2 2. การติดตามการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็ก อายุ 9 ,18 ,30 ,42 และ 60 เดือน

ชื่อกิจกรรม
2. การติดตามการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็ก อายุ 9 ,18 ,30 ,42 และ 60 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กอายุ 0-72เดือนมีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วนร้อยละ60
2. เด็กอายุ 0- 72 เดือนมีภ่วะโภชนาการน้อยกว่าเกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 10
3. เด็กอายุ 9 ,18,30 ,42และ 60 เดือนมีพัฒนาการสมวัยร้อยละ85


>