กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการบริหารจัดการกองทุนฯ การพัฒนาศักยภาพ คณะกรรมการและพัฒนาระบบบริหารจัดการ

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะกาฮะรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการกองทุนฯ การพัฒนาศักยภาพ คณะกรรมการและพัฒนาระบบบริหารจัดการ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะกาฮะรัง

กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปะกาฮะรัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปะกาฮะรัง เป็นองค์กรที่บริหารจัดการเกี่ยวกับการ
สร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพและการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุกในพื้นที่อย่างทั่วถึงและที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต โดยมีแนวทางการดำเนินงานดังนี้ 1.กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 2.กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 3.กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 4.กลุ่มวัยทำงาน 5.กลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรัง 6.กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 7.กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสียง ซึ่งการดำเนินงานกองทุนต้องมีหลักการบริหารงบประมาณอย่างโปร่งใส ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ กองทุนมีกลุ่มบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจให้มาบริหารจัดการ ซึ่งคณะกรรมการกองทุนประกอบด้วยบุคคล 2 ส่วน คือมาจากตำแหน่ง และมาจากการคัดเลือกของหมู่บ้าน ซึ่งคณะกรรมการจะได้รับการแต่งตั้งจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี โดยมีอำนาจหน้าที่ตามระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปะกาฮะรัง เรื่อง การดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2558 ข้อ 11 ว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุน ซึ่งการพิจารณางบประมาณการใช้จ่ายของกองทุนจะใช้จ่ายตามแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติตามระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปะกาฮะรังเรื่อง การดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2558 ข้อ 7 ว่าด้วยการใช้จ่ายงบประมาณของกองทุน นั้น โดยตามระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปะกาฮะรัง เรื่อง การดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2558 ข้อ 7 (4) กำหนดให้กองทุนสามารถกำหนดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพได้ ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพในแต่ละปีงบประมาณ นั้น และในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์นั้นจะต้องมีราคาไม่เกิน 20,000 บาทต่อหน่วย โดยการจัดซื้อจัดจ้างให้ใช้ระเบียบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยอนุโลมและครุภัณฑ์ที่จัดหาได้ให้อยู่ในความดูแลและบำรุงรักษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กองทุนมีความพร้อมในการดำเนินงาน

มีการเสนอมรายงานทางการเงินต่อประธานคณะกรรมการทุกเดือน

0.00
2 เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกองทุน

มีการเสนอรายงานทางการเงินต่อ สปสช. เขต 12 ทุกไตรมาส

0.00
3 เพื่อดำหนดกรอบค่าใช้จ่ายงบประมาณตามแผนงาน/โครงการด้านการบริหารจัดการหรือพัฒนากองทุน

คะแนนการประเมินตนเองเพิ่มขึ้น

0.00
4 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุยคณะอนุกรรมการคณะทำงาน

มีค่าใช้จ่ายไม่เกินร้อยละ 15 ของรายรับปีงบประมาณ 2563

0.00
5 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการอนุมัติและจัดแผน/โครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

คณะกรรมการได้รับการอบรมให้ความรู้ครบ 100%

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคณะกรรมการ/อนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปะกาฮะรัง

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมคณะกรรมการ/อนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปะกาฮะรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตอบแทนการประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ จำนวน 17 คน จำนวน 6 ครั้ง ครั้งละ 300 บาท เป็นเงิน 30,600 บาท 2.ค่าเลี้ยงรับรอง อาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 6 ครั้ง จำนวน 17 ตน คนละ 25 บาท เป็นเงิน 2,550 บาท 3.ค่าตอบแทนการประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ จำนวน 9 คน จำนวน 6 ครั้ง ครั้งละ 300 บาท เป็นเงิน 16,200 บาท 4.ค่าเลี้ยงรับรอง อาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 6 ครั้ง จำนวน 9 คน คนละ 25 บาท เป็นเงิน 1,350 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
50700.00

กิจกรรมที่ 2 พัฒนาการบริหารกองทุนฯ โดยองค์รวม

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาการบริหารกองทุนฯ โดยองค์รวม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวัสดุสำนักงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปะกาฮะรัง

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปะกาฮะรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 60,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปะกาฮะรัง สามารถพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุน พัมนาศักยภาพคณะกรรมการ อนุกรรมการ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
1.กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มีการบันทึกข้อมูลผ่านโปรแกรมออนไลน์และมีฐานข้อมูล เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินงานกองทุนฯ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การบริหารจัดการระบบหลักประกัน
2.คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระบบหลักประกันสุขภาพ มีระบบบริหารจัดการ การติดตาม วิเคราะห์ ประมวลผล ผ่านระบบออนไลน์ สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
3.ส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือในการดำเนินงานสุขภาพชุมชนทั้งในด้านการรักษาพยาบาลในระดับปฐมภูมิ การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพในระดับชุมชน
4.เพื่อพัมนาฐานข้อมูลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การดำเนินงานของกองทุนฯ แก้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เกิดนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการดำเนินงาส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรคในชุมชนของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่


>