กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกงู

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกงู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันประเทศไทยมีนโยบายในการสร้างสุขภาพนำซ่อมเพื่อแก้ปัญหาโรคเรื้อรัง โดยเน้นการคัดกรอง สุขภาพ จากการรายงานการสำรวจสุขภาพของประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ในพ.ศ. 2551-2552 ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นความดันโลหิตสูงร้อยละ 21.4 เบาหวาน ร้อยละ 6.9 (วิชัย เอกพลากร,2553) และในกลุ่มผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงชาย ร้อยละ 60 และหญิงร้อยละ 40 ไม่เคยได้รับการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงมาก่อน ในขณะที่ 1 ใน 3 ของผู้ที่เป็น เบาหวาน ไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานมาก่อน (วิชัย เอกพลากร,2553)
จากสถิติที่กล่าวมาข้างต้นของผู้ที่เป็นโรคไม่ได้รับการคัดกรองและไม่ได้รับการวินิจฉัยโรคมาก่อน ยังมีจำนวนมากซึ่งบ่งชี้ถึงปัญหาของการคัดกรองที่ไม่ครอบคลุม ทำให้ประชากรขาดโอกาสในการได้รับการคัดกรอง และการเฝ้าระวังโรค การได้รับการแนะนำในการป้องกันโรค กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน โดยนายแพทย์วิชัย เทียนถาวร (2556) ได้ประยุกต์ กระบวนการสร้างสุขภาพสู่งานสาธารณสุขมูลฐานนำมาสู่การพัฒนาการเฝ้าระวัง คัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชากรกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคเพื่อลดอุบัติการณ์เกิดโรค และภาวะแทรกซ้อน
ปี 2562 มีประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบของรพ.สต.บ้านโคกงู จำนวน 1,401 คน ได้รับการตรวจคัดกรองจำนวนทั้งหมด 1,381 คน คิดเป็นร้อยละ 98.57 พบประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 368 คน คิดเป็นร้อยละ26.65 สงสัยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 108 คน คิดเป็นร้อยละ 7.82 เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวน 309 คน คิดเป็นร้อยละ 22.38 สงสัยป่วยเป็นโรคเบาหวาน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 3.48
เพื่อเป็นการดูแลผู้ป่วยและป้องกันโรคในกลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยง จึงจำเป็นต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งกลุ่มเสี่ยงละกลุ่มป่วยด้วย 3อ 2ส ได้แก่ การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการเกี่ยวกับอารมณ์ และการลดการสูบบุหรี่ สิ่งมึนเมา อันจะส่งผลดีต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตประชากรในพื้นที่ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกงู จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ปี 2563

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองภาวะเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน/อัมพฤกษ์ อัมพาตแก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป

ประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 95

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

ผู้ที่ได้รับการคัดกรองและพบภาวะเสี่ยงหรือป่วย ได้รับความรู้ทักษะและพฤติกรรมที่ถูกต้องในการป้องกันและควบคุมโรค ร้อยละ 95

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานมีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น

กลุ่มป่วยได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์และได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมแกนนำ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมแกนนำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1กิจกรรมประชุมวางแผนการดำเนินงานโดยเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุข 1.2 กิจกรรมประชุมติดตามและการประเมินผลการดำเนินงานโดยเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 57 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท x 1 ครั้ง = 1,425 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำมีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1425.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย (ตั้งแต่สีเขียวอ่อน สีเขียวเข้ม สีเหลือง สีส้ม สีแดง และสีดำ) ในการเข้าร่วมกิจกรรมตรวจสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และติดตามเฝ้าระวังสุขภาพด้วยตนเอง ผ่านกระบวนการของปิงปอง 7 สี หรือด้วยนวัตกรรมอื่นๆอย่างต่อเนื่อง(ตรวจสุขภาพ : ตรวจความดันโลหิต (BP)และตรวจน้ำตาลในเลือด (FBS) (ทุกๆ 2 เดือน) - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 132 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บ. X 2 ครั้ง = 13,200 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 132 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บ.x 2 ครั้ง = 6,600 บาท - ค่าสมุดพกประจำตัว เพื่อประเมินติดตามภาวะสุขภาพ/การเปลี่ยนแปลงปิงปอง 7 สี จำนวน 132 เล่ม เล่มละ 12 บาท = 1,584บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงสามารถดูแลตนเองได้และสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับเบาหวานให้กลับมาเป็นปกติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21384.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,809.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ
1. จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติ
2. ประชุมวางแผนการดำเนินงานเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขในแต่ละเขตรับผิดชอบ
3. ประชาสัมพันธ์โครงการโดย อสม. ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา
4. รณรงค์คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานโดย อสม.พร้อมเจ้าหน้าที่ในแต่ละเขตรับผิดชอบ พร้อมสรุปจำนวนผู้มาคัดกรอง ติดตามผู้ที่ยังไม่มาคัดกรอง และแบ่งกลุ่มผู้รับการคัดกรอง เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย
5. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย ให้ความรู้เรื่อง 3อ 2ส จัดบอร์ดให้สุขศึกษาโดยใช้ปิงปอง 7 สี
6. ติดตามตรวจวัดความดันโลหิตและค่าน้ำตาลในเลือด ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย หาค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เส้นรอบเอว และการกินยาในกลุ่มป่วย โดยเจ้าหน้าที่หรือ อสม.ทุก 2 เดือน
7. ประชุมติดตามประเมินผลการดำเนินงาน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
3. กลุ่มเสี่ยงและป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานมีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น


>