กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะกาฮะรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเยาวชนรุน่ใหม่ เรียนรู้ดูแลสุขภาพตัวเอง (self care)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะกาฮะรัง

สภาเด็กและเยาวชน

1.นางสาวนัสรีณ๊ มะมิง
2.นางสาวอัสมะ สาและ
3.นางสาวไพร่า สาเมาะ
4.นายสูกรพลี โตะเกะ
5.นายอัฟฟาน สุดี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

วัยรุ่นเป็นวัยที่มีความสำคัญเนื่องจากเป็นช่วงวัยของการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นผู้ใหญ่ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงถือเป็นสิ่งสำคัญและอาจกล่าวได้ว่าเป็นวิกฤตแห่งชีวิตหากไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม หรือการได้รับข้อมูล การสนับสนุนจากครอบครัวและบุคลากรรอบข้างที่ถูกต้อง ก็อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่เหมาะสมได้ ดังนั้น การได้รับข้อมูล การสนับสนุนจากครอบครัวและบุคคลรอบข้าง รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์และการศึกษา จะส่งผลให้วัยรุ่นได้รับความรู้ข้อมูลข่าวสารเพื่อให้เกิดการปรับตัว และเกิดพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมเพื่อลดปัญหาทางสุขภาพต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัญหาการดูแลสุขอนามัยที่ไม่เหมาะสม ปัญหาการคบเพื่อต่างเพศ เป็นต้น อีกทั้งปัญหาการปรับตัวของวัยรุ่นที่ขาดความรู้ ประสบการณ์และขาดการสนับสนุนจากผู็ปกครอง สถาบันการศึกษาและบุคลกรทีมสุขภาพ อาจนำไปสู่การมีพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ เช่น ปัญหาด้านอนามัยเจริญพันธุ์ เพศสัมพันธ์ การใช้สารเสพติด ปัญหาการคบเพื่อน การเตรีนมความพร้อมเพื่อพัฒนาทักาะในการดูแลตนเองจะช่วยสร้างความตระหนักและปลุกจิตสำนึกให้แก่วัยรุ่น เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นที่มีผลต่อสุขภาพได้
จากการประเมินและค้นหาปัญหาของวัยรุ่นในตำบลปะกาฮะรัง พบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการขาดความรู้ในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย การดูลแสุขอนามัยบุคคล ทักษะการใช้ชีวิต ซึ่งคณะผู้จัดทำโครงการฯ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ร่วมกันจัดจัดทำโครงการ เยาวชนรุ่นใหม่ เรียนรู้ ดูแลสุขภาพตนเอง (self care) เพื่อเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนตามพัฒนาการด้านต่างๆสุขอนามัยการปฏิบัติตัว และทักษะการใช้ชีวิตโดยให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ เมื่อสิ้นสุดโครงการผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ปรับตัวให้ผ่านภาวะวิกฤตและก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ได้อย่างมีคุณค่าต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงตามพัฒนาการด้านต่างๆ ในวัยรุ่นให้แก่เยาวชนที่ร่วมกิจกรรม

จำนวนผู้ร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น

0.00
2 เพื่อให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้รฦู็จักวิธีดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล และการดูแลสุขภาพด้านร่างกายที่เหมาะสมตามวัย

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

0.00
3 เพื่อให้ความรู้การใช้ทักษะชีวิตทางสังคมให้แก่กลุ่มวัยรุ่นในแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ถูกต้อง เหมาะสมในเรื่องเพศศึกษา สิ่งเสพติด การใช้อินเตอร์เน็ต สื่อออนไลน์ต่างๆ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 21/12/2019

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมบรรยายให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมบรรยายให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท ค่าอาหารกลางวัน 70 คน คนละ 50 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท ค่าอาหารว่าง 70 คน คนละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท ค่าป้ายไวนิล 1 ป้าย ขนาด 1*3 เมตร เป็นเงิน 900 บาท ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 70 ชุด ชุดละ 50 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงตามพัฒนาการด้านต่างๆ สุขอนามัย การปฏิบัติตัว การรู้จักใช้ทักษะชีวิตทางสังคมในแนวทางที่เหมาะสมนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่แก่บุคคลในวัยเดียวกันได้


>