กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะกาฮะรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเสริมสร้างระบบการดูแลสุขภาพผู้พิการในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะกาฮะรัง

องค์การบริหารส่วนตำบลปะกาฮะรัง

ศูนย์พัฒนาคุณภาพและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาเกี่ยวกับคนพิการได้รับความสนใจจากสังคมในวงกว้างมาเป็นเวลานาน สำหรับประเทศไทยการดำเนินการด้านสงเคราะห์ พัฒนา และฟื้นฟูคนพิการ กล่าวได้ว่าส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลและแรงผลัดดันจากภายนอกประเทศทั้งระดับโลกและระดับภูมิภาค ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับคนพิการเป็นอย่างมาก จากการที่รัฐบาลได้วางนโยบาย ยุทธศาสตร์การบริหาราชการแผ่นดิน ยุทธศาสตร์ที่ 4 นโยบายสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ข้อ 4.5 นโยบายความมั่นคงของชีวิตและสังคม ข้อ 4.5.5 เสริมสร้างให้ผู็สูงอายุ คนพิการ และผู็ด้อยโอกาสมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณุะต่างๆ สำหรับรองรับผู็สูงอายุและคนพิการ ประกอบกับอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 (และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 6 พ.ศ.2552) มาตรา 67 (6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลถือว่าเป็นบทบาทหน้าที่หลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการให้มีการพัฒนาคุณภาพที่ดีขึ้น และสามารถใช้ชีวิตในอนาคตได้อย่างมีความสุข องค์การบริหารส่วนตำบลปะกาฮะรัง ได้เล็งเห็นความสำคัญการส่งเสริมและยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นประกอบกับพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 (และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 6 ปี พ.ศ.2552) จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพผู็ดูแลคนพิการ/คนพิการ เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ การจัดสวัสดิการการส่งเสริมและพิทักษ์ สิทธิการสนับสนุนให้คนพิการสามารถดำรงชีวิตได้อย่างอิสระ มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์และเสมอภาคกับบุคคลทั่วไป มีส่วร่วมทางสังคมอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้
ดังนั้น เพื่อให้มีการดูแลผู็พิการอย่างต่อเนื่องยั่งยืนของผู็พิการ องค์การบริหารว่นตำบลปะกาฮะรัง และแกนนำ/อสม. ให้มีศักยภาพในการปฏิบัติงานฟื้นฟูสมรรถภาพผู็พิการ รวมทั้งผู้พิการรายเดิมที่จำเป็น ต้องได้รับการดูแล และผู้พิการที่ยังไม่เคยได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ตลอดจนเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้พิการในชุมชนที่ดีขึ้น ครอบคลุมทุกพื้นที่ขององค์กรบริหารส่วนตำบลปะกาฮะรังจึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างระบบการดูลสุขภาพ ผู้พิการในชุมชน เพื่อให้แกนนำ ญาติ/อาสาสมัครหมู่บ้านสามารถดูแลและช่วยเหลือกันเองได้อย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง
โครงการดังกล่าวปรากฏในแผนงาน/โครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปะกาฮะรัง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ยุทธศาสตร์ที่ 3 กิจกรรมเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและฟื้นฟูสมรรถภาพและการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิฯ โครงการที่ 3.3

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู็พิการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยญาติหรือผู้ดูแล

ร้อยละ 80 ผู้พิการได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง ถูกวิธี

0.00
2 เพื่อให้ญาติหรือผู้ดูแลมีความรู้และทักษะในการดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ

ร้อยละ 80 ผู้ดูแลผู้พิการมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลผู็พิการ

0.00
3 เพื่อให้ผู้พิการมีความรู้ในสิทธิของผู้พิการและสามารถช่วยเหลือตัวเองและผู้พอการคนอื่นได้

ร้อยละ 75 ผู็พิการมีความรู้ และสามารถช่วยเหลือตนเองและนำผู้พิการคนอื่นได้

0.00
4 เพื่อให้ญาติและผู้ดูแลผู้พิการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู็พิการในโรงพยาบส่งเสริมสุขภาพตำบลและในชุมชน

ร้อยละ 80 ผู้ดูแลผู้พิการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ

0.00
5 เพื่อค้นหาและควบคุมโรค

สามารถลดและควบคุมโรค

0.00
6 เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 70
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/01/2020

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมฟื้นฟูให้ความรู้และฝึกทักษะเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและติดตามเยี่ยมบ้านจิตอาสา

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมฟื้นฟูให้ความรู้และฝึกทักษะเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและติดตามเยี่ยมบ้านจิตอาสา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่าง  2 มื้อ มื้อละ 25 บาท จำนวน 70 คน เป็นเงิน 3500 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ มื้อละ 50 บาท จำนวน 70 คน เป็นเงิน 3500 บาท 3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คน คนละ 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 500 บาท เป็นเงิน 2500 บาท 4.ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 70 ชุด ชุดละ 50 บาท เป็นเงิน 3500 บาท 5.ค่าจัดทำคู่มือในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการ จำนวน 70 เล่ม เล่มละ 20 บาท เป็นเงิน 1400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14400.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสื่อป้ายประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสื่อป้ายประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1*2 เมตร จำนวน 1 ป้าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้พิการ ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยญาติหรือผู้ดูแล
2.ญาติหรือผู้ดูแลมีความรู้และทักษะในการดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ
3.ผู้ดูแลคนพิการมีความรู้ในสิทธิของผู้พิการและสามารถช่วยเหลือตัวเองและผู้พิการได้
4.ญาติและผู้ดูแลผู้พิการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู็พิการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและในชุมชน
5.สามารถค้นหาและควบคุมโรค
6.สามารถพัฒนาเป็นศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการตำบลปะกาฮะรัง


>