กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมและสนับสนุนภาคีเครือข่าย ในการดำเนินงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2563

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมและสนับสนุนภาคีเครือข่าย ในการดำเนินงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

หน่วยบริการปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลควนโดน

ม.5-ม.10 ต.ควนสตอ อ.ควนโดน จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ใน หมู่ที่ 5 -10 ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560-2562 มีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ร้อยละ รองลงมาคือ3.12 5.63 และ 11.8 ตามลำดับ กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 43.58 รองลงมาคือ 48.05 และ 43.69 ตามลำดับ ผู้ป่วยป่วยรายใหม่โรคเบาหวาน คิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนประชากร เท่ากับ 317.40 (28 ราย) รองลงมาคือ 288.34 (16 ราย) 301.95(17 ราย) ตามลำดับ และผู้ป่วยรายใหม่ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เท่ากับ 1,811.28(60 ราย)รองลงมาคือ 710.48 (40 ราย) และ405.54 (23 ราย)ตามลำดับ ซึ่งผู้ป่วยของทั้ง 2 โรคนี้หากรักษาโดยการรับประทานยาเพียงอย่างเดียว แต่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ดีขึ้นได้ ก็จะส่งผลต่อการเพิ่มความรุนแรงของโรคและเพิ่มความเสี่ยงด้านอื่น ๆ เพิ่มขึ้น เช่น ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง เกิดโรคหัวใจเฉียบพลัน โรคไตเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานขึ้นตาภาวะปลายประสาทอักเสบ แผลเบาหวานที่เท้า การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราที่ผิวหนัง อาการคัน และปัญหาอื่น ๆ
จากการประเมินความรู้ด้านสุขภาพ(HL)และพฤติกรรมสุขภาพ(HB) 3 ปี ย้อนหลัง ในหมู่ที่ 5 – 10 ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดนจังหวัดสตูล พ.ศ. 2560-2562 พบว่าHL เท่ากับ 71.4 74.29 และ 79.74 HB เท่ากับ 72.52 75.10 และ 86.0 โดยยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่ง ในหมู่ที่ 5 – 10 ของตำบลควนสตอ มีชมรมออกกำลังกายใน หมู่ที่ 6 บ้านปลักซิมปอมีกลุ่มออกกำลังกาย และกิจกรรมปีนเขาบอฆ๊ะ ในหมู่ที่ 5 บ้านทางงอ และและกลุ่มอื่นๆ แต่ก็ยังพบว่าโดยส่วนน้อยที่มีประชาชนที่ออกกำลังกาย 3-5 วัน/สัปดาห์ หรือออกกำลังกายทุกวัน
จากสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พบว่า กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยมีแนวโน้มเป็นไปในทิศทางที่เพิ่มขึ้น มีบางปีที่ลดลง ร่วมกับการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพที่ยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์ หากยังไม่ได้รับการแก้ไขที่ต่อเนื่อง คาดว่าในปีต่อๆไป สถานการณ์การเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยจะมีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทางหน่วยบริการปฐมภูมิและองค์รวม ได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมและป้องกันการเกิดกลุ่มและผู้ป่วยรายใหม่อยู่เดิมแล้ว ต้องการที่จะให้ประชาชนทุกคนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ และมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ พร้อมทั้งมีแกนนำ ชมรม สถานที่ที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี จึงได้จัดโครงการ ส่งเสริมและสนับสนุนภาคเครือข่าย ในการดำเนินงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2563 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ดี

กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ดี เพิ่มขึ้นร้อยละ 70

0.00 0.00
2 กลุ่มเป้าหมายมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ(HL)

ร้อยละ 70 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ(HL)

0.00
3 หมู่บ้านมีชมรมสุขภาพหรือชมรมออกกำลังกาย

ร้อยละ 50 ของหมู่บ้านมีชมรมสุขภาพหรือชมรมออกกำลังกาย

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 25/12/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพและสร้างความเข้มแข็งในทีมดำเนินงาน เครือข่ายหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสร้างทีม ร่วมกับกลุ่ม/ชมรมของแต่ละหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพและสร้างความเข้มแข็งในทีมดำเนินงาน เครือข่ายหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสร้างทีม ร่วมกับกลุ่ม/ชมรมของแต่ละหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 พัฒนาศักยภาพและสร้างความเข้มแข็งในทีมดำเนินงาน เครือข่ายหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
สร้างทีม ร่วมกับกลุ่ม/ชมรมของแต่ละหมู่บ้าน - จัดประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน อย่างน้อย 1 ครั้ง - กำหนดผู้รับผิดชอบและบทบาทหน้าที่ชัดเจน กิจกรรมย่อย จัดประชุมเตรียมความพร้อมทีมดำเนินงานและเครือข่ายหมู่บ้านปรับเปลี่ยนฯ 1 ครั้ง เจ้าหน้าที่ 10 คน และเครือข่าย 55 คน และดำเนินการเก็บแบบสำรวจพฤติกรรมสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในชุมชน และโรงเรียน - ค่าอาหารว่าง 25 บ.x 65 คน = 1,375 บ. - ค่าแบบสำรวจ HB/HL 2.5 บ.x 65 ชุด x 6 หมู่บ้าน = 975 บ.

1.2 ประชุมทีมและเครือข่าย เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรม ปัญหาสุขภาพในพื้นที่ และเพื่อวางแผนจัดกิจกรรม - สำรวจพฤติกรรมสุขภาพ(HB) และความรอบรู้ด้านสุขภาพ(HL) ในกลุ่มประชาชนทั่วไป อายุ 15 ปีขึ้นไป และเด็กวัยเรียน - กำหนดปัญหาสุขภาพ/พฤติกรรมสุขภาพที่ต้องแก้ปัญหา จากผลการสำรวจ - กำหนดปัจจัยเอื้อ/ปัจจัยส่งเสริมพฤติกรรม กิจกรรมย่อย ประชุมทีมและเครือข่าย เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมปัญหาสุขภาพในพื้นที่ และเพื่อวางแผนจัดกิจกรรม - ค่าอาหารว่าง 25 บ.x 30 คน= 750 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีการประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน อย่างน้อย 1 ครั้ง
  • มีผู้รับผิดชอบและบทบาทหน้าที่ชัดเจน
  • ได้ปัญหาสุขภาพ/พฤติกรรมสุขภาพที่ต้องแก้ปัญหา จากผลการสำรวจ
  • มีปัจจัยเอื้อ/ปัจจัยส่งเสริมพฤติกรรม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3100.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรม และความรอบรู้ด้านสุขภาพ ป้องกันภาวะเสี่ยงจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยการมีส่วนร่วมของชมรม และเครือข่าย

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรม และความรอบรู้ด้านสุขภาพ ป้องกันภาวะเสี่ยงจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยการมีส่วนร่วมของชมรม และเครือข่าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 จัดกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรม และสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ป้องกันภาวะเสี่ยงจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยการมีส่วนร่วมของชมรม และเครือข่ายการดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมาย - กลุ่มเสี่ยงสูงกลุ่มป่วยควบคุมไม่ได้และชมรม/เครือข่ายสุขภาพ - แบ่ง เป็น 6 ฐาน เพิ่มการเรียนรู้และฝึกทักษะการปฏิบัติตัวให้ถูกต้องเหมาะสม ดังนี้ พฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. ที่พึงประสงค์
1. พฤติกรรมการบริโภคอาหาร 2. พฤติกรรมการออกกำลังกาย และพฤติกรรมการจัดการอารมณ์ความเครียด 3. พฤติกรรมการไม่สูบบุหรี่ และพฤติกรรมไม่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพื่อสุขภาพและป้องกันโรคเรื้อรัง ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่พึงประสงค์ของคนไทย 4. การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ และทักษะการเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง 5. ความรู้ ความเข้าใจทางสุขภาพ และทักษะการจัดการตนเอง 6. ทักษะการสื่อสารสุขภาพ และรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ - สรุป วางแผนติดตาม และประเมินผล หลังจัดกิจกรรม - จัดตั้งชมรมออกกำลังกายออกกกำลังกาย/ชมรมส่งเสริมสุขภาพ กิจกรรมย่อย จัดอบรมกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง และกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารควบคุมโรคได้ จำนวนหมู่บ้านละ 20 คน จำนวน 6 หมู่บ้าน - ค่าวิทยากร 300 บ.x 4 ชม. x 3 วัน = 3,600 บ. - ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม 50 บ.x 3 วัน ๆ ละ 40 คน = 6,000 บ. - ค่าอาหารว่าง 25 บ.x 3 วัน ๆ ละ 40 คน = 6,000 บ. - ค่าวัสดุ 5 บ.x 120 ชุด = 600 บ. รวมเป็นเงิน 16,200 บาท ขอเบิกเพียง 13,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เข้าร่วม ร้อยละ 80
  • กลุ่มป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงควบคุมไม่ได้ ร้อยละ 80
  • เครือข่ายการดำเนินงาน/ชมรมในหมู่บ้าน ร้อยละ 65
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13800.00

กิจกรรมที่ 3 เฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพร่วมกับเครือข่าย ประเมินผล ถอดบทเรียนหลังการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพร่วมกับเครือข่าย ประเมินผล ถอดบทเรียนหลังการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 กิจกรรมย่อย ประเมินผลความรอบรู้และพฤติกรรม ด้านสุขภาพหลังจัดกิจกรรม - ค่าแบบสำรวจ HB/HL 2.5 บ.x 40 ชุด x 6 หมู่บ้าน = 600 บ. 3.2 กิจกรรมย่อย ประชุมสรุปผลหลังการดำเนินงาน ถอดบทเรียน และเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพร่วมกับเครือข่าย จำนวน 25 คน - ค่าอาหารว่าง 25 บ.x 25 คน = 500บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ได้ข้อมูลHB/HL ที่ยังไม่ถูกต้องนำข้อมูลไปปรับกิจกรรม
  • มีผลการประเมินเปรียบเทียบก่อน-หลัง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,000.00 บาท

หมายเหตุ :
1. มีชมรมออกกำลังกายหรือชมรมสุขภาพ หมู่บ้านละ 1 ชมรม
2. มีประชาชนออกกำลังกายเพิ่มขึ้น
3. กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมได้รับการอบรมมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น
4. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรค

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>