กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยในกลุ่มเกษตรกร (กลุ่มเสี่ยง)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

ชมรมบัณฑิตอาสาตำบลบูกิต

1 นายซุลกิปลี ยูโซ๊ะ
2 นางสาวอาซียะห์ อับดุลลาเตะ
3 นายมารวาซี สาแม
4 นายดุลรอมานเจ๊ะโด
5 นางสาวซีะฮีรา สาแม

โรงเรียนตาดีกามูฮัมมาดียะห์กูเว หมู่ที่ 4 ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานแรงงานนอกระบบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่ (คน)

 

10.00
2 ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ

 

10.00
3 จำนวนมาตราการในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน

 

5.00

ปัจจจุบันกลุ่มเกษตรกรมีความสำคัญในหมู่บ้าน และเป็นพืนฐานสำคัญในระบบเศรษฐกิจของประเทศ แต่เนื่องจากประชาชนที่อยู่ในภาคเกษตรเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สุดเนื่องจากปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานเช่น เกษตรกรที่ทำนามีโอกาสเสี่ยงต่อการถูกหอยหรือของมีคมบาดทำให้เกิดบาดแผลและปัญหาการเจ็บป่วยจากการทำงาน ได้แก่อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเนื่องจากการยกของที่ไม่ถูกวิธี ทำให้ปวดไหล่และหลังการเร่งรีบทำงานมีผลทำให้เคร่งเครียดทางจิตใจ ออกแรงมากเกินกำลังเป็นประจำการทำงานด้วยท่าทางที่ไม่เหมาะสม การเคลื่อนไหวของร่างกายในลักษณะซ้ำซาก การส่งเสริมการเกษตรกรที่สำคัญประการหนึ่งคือการส่งเสริม และสนับสนุนการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ เพื่อการสร้างรายได้และปรับปรุงคุณภาพชีวิตครอบครัวเกษตรกรในโครงการส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานของแรงงานภาคเกษตรโดยการส่งเสริมความรู้ด้านอาชีวอนามัยและให้ตระหนักถึงอันตรายจากการทำงานและสุขภาพรวมไปถึงการปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานเพื่อลดความเสี่ยงจากการที่จะได้รับอันตรายโรคจากการทำงาน
ชมรมบัณฑิตอาสาตำบลบูกิต ได้เล็งเห็น เข้าใจปัญหาและตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มเกษตรกร จึงได้จัดทำ และนำเสนอโครงการส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยในกลุ่มเกษตรกร (กลุ่มเสียง) เพือ่เป็นการอบรมถ่ายทอดความรู้ด้านอาชีวอนามัยแก่เกษตรเพื่อให้รู้จักป้องกันอันตรายอันเกิดจากการทำงานในภาคเกษตรซึ่งจะส่งผลทำให้เกษตรกรมีการทำงานที่ดีมีประสิทธิภาพตลอดจนการมีสุขอนามัยที่ดีขึ้นด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเกษตรกร (กลุ่มเสียง) มีความรู้ ความเข้าใจด้านการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยที่ดี

กลุมเกษตรกรจำนวน 40 คน มีความรู้ ความเข้าใจการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยที่ดี

40.00 40.00
2 เพื่อลดจำนวนแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ

ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ ลดลง

10.00 5.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่

จำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่ เพิ่มขึ้น(คน)

10.00 10.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนมาตราการ ในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน

มีจำนวนมาตราการในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน เพิ่มขึ้น

5.00 3.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการฯ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการฯให้ประชาชนรับทราบ 2.เชิญชวนบุคคลเป้าหมาย เพื่อเข้าร่วมโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ร้อยละ 90 เกษตรกรได้รับทราบถึงการดำเนินโครงการ 2.ร้อยละ 90 เกษตรกรมีความสนใจที่อยากเข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 การอบรมให้มีความรู้ ความเข้าใจด้านการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยที่เกิดจากการทำงาน

ชื่อกิจกรรม
การอบรมให้มีความรู้ ความเข้าใจด้านการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยที่เกิดจากการทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าวิทยากร 5 ชม.ๆละ 600 บาท จำนวน 1 คน เป็นเงิน 3,000 บาท

2.ค่าอาหารกลางวัน 30 คนๆละ 60 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

3.ค่าอาหารว่าง 30 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเิงน 1,500 บาท

4.ค่าป้ายไวนิล 3*1.5 เมตร เป็นเงิน 1,125 บาท

5.ค่าเอกสาร วัสดุ (สมุด ปากกา ) 30 คนๆละ 85 บาทเป็นเิงน 2,550 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 เกษตรกรร้อยละ 90 มีความรู้ ความเข้าใจด้านการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยที่เกิดจากการทำงานได้มากขึ้น 2 เกษตรกรร้อยละ 90 รู้จักป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและความปลอดภัยจากการทำงานในชีวิตประจำวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9975.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,975.00 บาท

หมายเหตุ :
ขั้นตอน และวิธีการดำเนินโครงการ
1. ประชุมคณะกรรมการชมรมบัณฑิตอาสา เพื่อพิจารณากำหนดโครงการ
2. จัดทำเอกสาร และนำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
3. ประชุมว่างแผน และดำเนินโครงการ
3.1 การประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการฯ
3.2 อบรมให้มีความรู้ ความเข้าใจด้านการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยที่เกิดจากการทำงาน
4. รายงานและติดตามผลการดำเนินโครงการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 เกษตรกรได้เรียนรู้ ความเข้าใจการดูแลสุขภาพชิวอนามัย และเพิ่มความสมารถในการดูแลความปลอดภัยที่เกิดจากการทำงานมากขึ้น
2 เกษตรกรได้เรียนรู้ และรู้จักป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและความปลอดภัยจากการทำงานในชีวิตประจำวันมากขึ้น
3 เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจของการสร้างรายได้และปรับปรุงคุณภาพชีวิตครอบครัวเกษตรกรให้ดีขึ้น


>