กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็ก0-5ปี ที่เฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการ(คน)

 

133.00

ปัญหาในการดำเนินส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย พบว่าจากข้อมูลล่าสุดร้อยละของเด็กอายุ0-5ปี สูงดีสมส่วน จังหวัดสตูล (2560,2561,2562งวดที่4)เขตอำเภอควนโดน พบเด็กสูงดีสมส่วนเพียงร้อยละ 42.89, 47.36, 53.76 ตามลำดับ สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดสารอาหารเรื้อรัง ซึ่งข้อมูลวิชาการในหลายประเทศระบุว่า เด็กแรกเกิดถึง 5 ปีที่เตี้ย มักมีภูมิต้านทานต่ำ ส่งผลให้ติดเชื้อง่าย เจ็บป่วยบ่อย ป่วยนาน และรุนแรง มีโอกาสเสียชีวิตได้ และยังพบว่ามีผลต่อการพัฒนาสมอง โดยระดับสติปัญญาต่ำกว่าเด็กที่มีส่วนสูงตามเกณฑ์ พัฒนาการล่าช้า และความสามารถในการเรียนรู้บกพร่อง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม เฉื่อยชา ความสูงต่างกันมากกว่า 3.4 ซม.มีผลต่อเกรดที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เด็กที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม หรือมีภาวะเตี้ยมีความเสี่ยงสูงป่วยเป็นโรคเรื้อรังเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เช่น โรคกระดูกพรุน โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย เด็กยังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการเป็นจำนวนมาก
จากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก 0-5 ปี ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน ในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา (ต.ค.-ธ.ค.ปีงบประมาณ 2562) จำนวนเด็กที่เฝ้าระวังภาวะโภชนาการทั้งหมด 514 คน พบว่าเด็กที่เฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการ 133 คน แบ่งเป็นเด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 12 คน คิดเป็นร้อยละ2.33 เด็กที่มีน้ำหนักค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์ 6 คน คิดเป็นร้อยละ1.16 เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ 31 คน คิดเป็นร้อยละ6.03 เด็กที่เริ่มมีน้ำหนักเกินเกณฑ์และท้วม มีทั้งหมด 84 คน คิดเป็นร้อยละ16.34 ซึ่งต้องได้รับการแก้ไขปัญหาต่อไป เพื่อให้เด็ก0-5ปีสูงดีและสมส่วนเพิ่มขึ้น มีภาวะโภชนาการที่สมวัย ส่งผลให้สมองและพัฒนาการที่ดีขึ้น การดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก
จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดนจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามโภชนาการในเด็ก0-5ปี

ร้อยละ80ของ เด็ก0-5ปี ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง

60.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็ก0-5ปี ที่เฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมภาวะโภชนาการ

ร้อยละ70ของผู้ปกครองเด็ก0-5ปี ที่เฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมภาวะโภชนาการ

0.00 70.00
3 เพื่อให้เด็ก0-5ปี มีส่วนสูงอยู่ในระดับดี และรูปร่างสมส่วน

ร้อยละ60 เด็ก0-5ปี สูงดีสมส่วน

50.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองเด็ก0-5ปี 88

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้ปกครองเด็ก เรื่องแนวทางการส่งเสริมโภชนาการเด็ก0-5ปี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้ปกครองเด็ก เรื่องแนวทางการส่งเสริมโภชนาการเด็ก0-5ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้ปกครองเด็ก เรื่องแนวทางการส่งเสริมโภชนาการเด็ก0-5ปี


งบประมาณ ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 44 คน ๆ จำนวน2 รุ่น รุ่นละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 4,400 บาท

ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 44 คนๆละ50 บ. จำนวน 2 รุ่น เป็นเงิน 4,400 บ.

ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน 3 ชม.ๆ ละ300 บาท จำนวน 2 รุ่นเป็นเงิน 1,800 บ.

ติดตามน้ำหนัก ส่วนสูงเด็กอย่างต่อเนื่อง พร้อมวิเคราะห์ข้อมูล

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เด็กอายุ0-5ปี ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ 2.ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลเด็กด้านโภชนาการ 3.เด็ก0-5ปี สูงดีสมส่วน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กอายุ0-5ปี ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ
2.ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลเด็กด้านโภชนาการ
3.เด็ก0-5ปี สูงดีสมส่วน


>