กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ผดุงมาตร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย ตำบลผดุงมาตร ประจำปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ผดุงมาตร

ชมรมอาสาสมัครตำบลผดุงมาตร

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผดุงมาตร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานแรงงานนอกระบบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนของเกษตรกรที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย(คน)

 

100.00

การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชนอกจากจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้วยังก่อให้เกิดปัญหาการได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายของเกษตรกรผู้ใช้ และยังมีสารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วย การใช้สารเคมีทางการเกษตรนานๆ จนทำให้พืชผักมีพิษตกค้างจำนวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพของผู้บริโภคสามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมองผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมาเช่นโรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น จากการดำเนินงานเกษตรกรปลอดโรค ปี 2560 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผดุงมาตรกลุ่มเป้าหมายเกษตรกร จำนวน 100 คน ได้รับการเจาะเลือดตรวจคัดกรองโดยใช้กระดาษ Reactive paper จำนวน 58 คน คิดเป็นร้อยละ 58 พบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 25.86 จึงมีความจำเป็นจะต้องดูแลสุขภาพของเกษตรกรและผู้ใช้สารเคมีศัตรูพืชให้ปลอดภัยจากโรคภัยที่เกิดจากการสะสมสารเคมีในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็ง โรคเรื้อรัง ฯลฯ ไปพร้อมๆกับการส่งเสริมวิธีธรรมชาติในการกำจัดศัตรูพืชทดแทนสารเคมีให้มากขึ้น เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรมีความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เกิดความตระหนัก และการดูแลสุขภาพตนเองโดยใช้วิธีธรรมชาติ เช่นการใช้สมุนไพรในการถอนพิษสารเคมี ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรมีสุขภาพที่ดีพึ่งตนเองได้ และเพื่อผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดสารพิษคุ้มครองผู้บริโภคต่อไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผดุงมาตร จึงได้จัดโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย ตำบลผดุงมาตร ปี 2563 นี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้สารเคมี

เกษตรกรมีความรู้ในการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง

100.00 100.00
2 เพื่อให้เกษตรกรได้รับการคัดกรองหาสารเคมีในเลือด

เกษตรกรได้รับการประเมินความเสี่ยงในการทำงานจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (นบก.1) และเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจเลือดหาสารเคมีตกค้าง

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1.ประชาสัมพันธ์รณรงค์โครงการตรวจสารเคมีในเลือดเกษตรกรในชุมชน 2.จัดอบรมให้ความรู้แก่อสม.และเกษตรกรในการประเมินความเสี่ยง 3.จัดอบรมให้ความรู้แก่อสม.และเกษตรกร เรื่องการใช้สมุนไพรในการล้างพิษสารเคมี 4.มีการประเมินความเสี่ยง โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช นบก.1

งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท 2.ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 เมตร x 2.5 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 690 บาท 3.ค่าวิทยากร 600 บาท X 2 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมอบรมจำนวน 100 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4390.00

กิจกรรมที่ 2 ประเมินความเสี่ยง และเจาะเลือดกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
ประเมินความเสี่ยง และเจาะเลือดกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1.ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเกษตรกรทราบเพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย และนัด วัน เวลา และสถานที่ในการตรวจ 2.ให้บริการตรวจเลือดหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่สัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช โดยจัดหาชุดตรวจการแพ้พิษสารกำจัดศัตรูพืช และกระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส 3.จัดบริการรักษาพยาบาล และฟื้นฟูสุขภาพให้แก่เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง โดยเจ้าหน้าที่รพ.สต.เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการให้คำแนะนำ 4.ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เมื่อสิ้นสุดโครงการ พร้อมรายงานผลการดำเนินงาน 5.ปรับปรุง พัฒนาจากผลการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการจัดทำแผนงาน / โครงการต่อไป

งบประมาณ 1.ค่าน้ำยาทดสอบโคลีนเอสเตอร์เรสในเลือด จำนวน 2 ชุด เป็นเงิน 2,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับรับการเจาะเลือด 100 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2600.00

กิจกรรมที่ 3 จัดอบรมสาธิตการผลิตสารกำจัดวัชพืชและปุ่ยอินทรียร์ทดแทนสารเคมีทางการเกษตร

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมสาธิตการผลิตสารกำจัดวัชพืชและปุ่ยอินทรียร์ทดแทนสารเคมีทางการเกษตร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1.ประเมินความเสี่ยงและเจาะเลือดกลุ่มเป้าหมาย

งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 750 บาท 2. ค่าวิทยกร จำนวน 2 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท 3. ค่าวัสดุสาธิตผลิตสารอินทรีย์ - ถังหมัก 1 ถัง เป็นเงิน 750 บาท - มูลสัตว์ จำนวน 2 ถุง x 60 บาท เป็นเงิน 120 บาท - รำ จำนวน 5 กิโลกรัม x 50 บาท เป็นเงิน 250 บาท - แกลบ จำนวน 2 ถุง x 30 บาท เป็นเงิน 60 บาท - EM จำนวน 1 ลิตร x 90 บาท 4.ค่าวัสดุสารกำจัดวัชพืช - เกลือ จำนวน 60 ถุง x 3 บาท เป็นเงิน 180 บาท - ยูเรีย จำนวน 3 กิโลกรัม x 20 บาท เป็นเงิน 60 บาท - น้ำยาล้างจาน จำนวน 3 ขวด x 12 บาท เป็นเงิน 36 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงสามารถใช้สารกำจัดวัชพืชทดแทนสารเคมีทางการเกษตรได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3496.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1.ติดตามกลุ่มเสี่ยงและเจาะเลือดกลุ่มเสี่ยงซ้ำ

งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงได้รับการเจาะซ้ำทุกราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,236.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.การใช้สารเคมีทางการเกษตรลดลง ลดรายจ่าย
2.เกษตรกรมีความรู้และมีความตระหนักในการทำเกษตรโดยไม่ใช้สารเคมีและได้บริโภคพืชผักที่ปลอดภัย
3.เกษตรกรมีสุขอนามัยดีขึ้น


>