กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนตำบลลางา โดย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลลางา อำเภอมายอจังหวัดปัตตานีปี๒๕๖๔

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลางา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนตำบลลางา โดย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลลางา อำเภอมายอจังหวัดปัตตานีปี๒๕๖๔

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลางา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลลางา

ตำบลลางา จำนวน7 หมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

10.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

10.00
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

10.00
4 ประชาชนมีภาวะเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน เส้นเลือดในสมองแตก และภาวะแทรกซ้อนจากเป็นโรคไต และตา เพิ่มชึ้นทุกปี

 

20.00

กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายการพัฒนาด้านสุขภาพเพื่อให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตที่ดี เกิดความทั่วถึง เท่าเทียมของประชาชนทุกคน โดยให้ประชาชนได้รับรู้สถานะของตนเองและเข้าถึงการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และได้กำหนดให้ดำเนินการพัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัยให้มีความครอบคลุมในมิติทางด้านสุขภาพทั้ง 4 มิติ คือ มิติด้านการป้องกันโรคการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ เน้นให้เกิดการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักด้านสุขภาพ จนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเคยชินให้เป็นพฤติกรรมที่ลดเสี่ยงต่อการเกิดโรค และลดโรคที่เป็นแล้วให้เป็นน้อยลง หรือหายเป็นปกติ โดยเฉพาะ 3อ คือ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ และ 2ส คือ ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มสุรา เป็นการ “ปรับก่อนป่วย” เพราะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีปัจจัยเสี่ยงร่วมกับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตการส่งเสริมสุขภาพจึงเน้นให้ “ประชาชนสุขภาพดี เริ่มต้นที่สร้างนำซ่อม” โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ผู้เป็นพลังชุมชนที่สำคัญในการเป็นผู้นำ เป็นต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (Change Agent) โดยมีบทบาทที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะด้านสุขภาพให้แก่คนในชุมชน โดยมีเป้าหมายในการเป็น “คู่หูสุขภาพ (Buddy Healthy)” ร่วมรู้สถานะสุขภาพ ร่วมปรับพฤติกรรม ต้านภัยโรคเบาหวานแลความดันโลหิตสูง

อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ได้รับการพัฒนาจากหลักการและกลวิธีสาธารณสุขมูลฐาน ซึ่งประเทศไทยได้มีการนำมาใช้ร่วมกับการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศกว่า 3 ทศวรรษ ซึ่งเป็นการพัฒนา โดยเน้นหลักการมีส่วนร่วม คือ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ และร่วมประเมินผลสำเร็จ และปัจจุบันพบว่า อสม.ได้รับการพัฒนาทั้งในด้านปริมาณและด้านสุขภาพ โดย อสม.จะได้รับการฝึกอบรมพัฒนาความรู้และทักษะด้านสุขภาพ สามารถเป็นนักสื่อสารสุขภาพ เป็นต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และสามารถถ่ายทอดความรู้ทักษะด้านสุขภาพให้กับบุคคลอื่น ๆ ในชุมชนได้ อีกทั้งมีการบริหารจัดการองค์กรในรูปแบบของ ชมรม อสม.

ดังนั้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง และส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีของ อสม. ชมรม อสม.ตำบลลางา จึงได้จัดทำโครงการ อสม.พลังชุมชน รู้ตน ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับพฤติกรรม ต้านภัยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดย อสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกันดำเนินการตรวจสุขภาพ ดำเนินกิจกรรมลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เพื่อให้ อสม. องค์กร อสม. และชุมชนพัฒนาเป็นองค์กรสร้างสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคได้อย่างยั่งยืนสืบไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

10.00 560.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

10.00 150.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

10.00 300.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 150
กลุ่มผู้สูงอายุ 628
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 860
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 125
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ ๑ การประชุม อบรม ฝึกทักษะ ของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กิจกรรมที่ ๒ การคัดกรองประชาชน 35 ปีขึ้นไป ให้ความรู้ในการดูแล และส่งเสริมสุขภาพประชาชนในพื้น จัดกลุ่มเรียนรู้ที่มีภาวะเสี่ยง กิจกรรมที่ ๓ การลงพื้นที่ปฏิบัติงาน และติดตามเย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ ๑ การประชุม อบรม ฝึกทักษะ ของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กิจกรรมที่ ๒ การคัดกรองประชาชน 35 ปีขึ้นไป ให้ความรู้ในการดูแล และส่งเสริมสุขภาพประชาชนในพื้น จัดกลุ่มเรียนรู้ที่มีภาวะเสี่ยง กิจกรรมที่ ๓ การลงพื้นที่ปฏิบัติงาน และติดตามเย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ ๑  การประชุม อบรม ฝึกทักษะ ของ  อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
-  ค่าอาหารว่าง และอาหารกลางวัน ๕๐ คนละ ๗๕ บาท จำนวน ๖ ครั้ง                   เป็นเงิน  ๒๒,๕๐๐ บาท กิจกรรมที่ ๒  ให้ความรู้ในการดูแล และส่งเสริมสุขภาพประชาชนในพื้นที่  จัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนในพื้นที่ ครอบครัวละ ๑ คน
-  ค่าอาหารว่าง คนละ ๒๐ บาท ๒ ครั้ง จำนวน ๑,๓๘๐ คน                      เป็นเงิน  ๕๕,๒๐๐ บาท
กิจกรรมที่ ๓  การลงพื้นที่ปฏิบัติงาน และติดตามเยี่ยมบ้านประชาชน ที่มีภาวะเสี่ยง นำมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ รพ.สต.
-  ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑.  อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  มีความรู้ สามารถดูแล ส่งเสริม และสนับสนุนให้ประชาชนตำบลลางามีการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน ๒.  ประชาชนมีความรู้ มีพฤติกรรม และทัศนคติที่ดีในการดูแลสุขภาพตนเอง  ครอบครัว และชุมชน นำไปสู่การมีสุขภาพดี ๓.  ชุมชนมีความเข้มแข็ง ในด้านสังคม สุขภาพ  และคุณภาพชีวิต  สามารถพัฒนาชุมชนตนเองได้แบบยั่งยืน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
77700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 77,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้ สามารถดูแล ส่งเสริม และสนับสนุนให้ประชาชนตำบลลางามีการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน
๒. ประชาชนมีความรู้ มีพฤติกรรม และทัศนคติที่ดีในการดูแลสุขภาพตนเองครอบครัว และชุมชน นำไปสู่การมีสุขภาพดี
๓. ชุมชนมีความเข้มแข็ง ในด้านสังคม สุขภาพและคุณภาพชีวิตสามารถพัฒนาชุมชนตนเองได้แบบยั่งยืน


>