กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและป้องกันภัยโรคไข้เลือดออกปี 2563 ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและป้องกันภัยโรคไข้เลือดออกปี 2563 ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

หน่วยบริการปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลควนโดน

ม.5-10 ต.ควนสตอ อ.ควนโดน จ.สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขอย่างมาก ในระยะ 60 ปี ที่ผ่านมานับตั้งแต่มีการระบาดของโรคครั้งแรกในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2501 อัตราอุบัติการณ์ของโรคมีแนวโน้มสูงขึ้นมาโดยตลอด นอกจากนี้ได้มีการแพร่กระจายของโรคไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการคมนาคมสะดวก ผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคในระยะที่ผ่านมายังไม่สามารถลดโรคได้ตามเป้าหมายที่กำหนด กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้พยายามหาแนวทางแก้ไข้อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พาหะนำโรคไข้เลือดออก การใช้ทรายทีมีฟอสกำจัดลูกน้ำยุงลาย การใช้สารเคมีพ่นหมอกควันทำลายยุงตัวแก่ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวในระยะแรก เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในระดับต่างๆ จะเป็นผู้ดำเนินการ แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ลดลงได้ เมื่อพิจารณาปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคที่สำคัญที่สุด คือ ความตระหนัก และความร่วมมือกันของประชาชนทุกครัวเรือนในชุมชน ในการทำกิจกรรมกำจัดลูกน้ำยุงลาย ยังไม่จริงจังและขาดความต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคยังไม่ชัดเจน
เนื่องจากโรคไข้เลือดออกซึ่งมีสาเหตุเกิดจากยุงลายกัด ทำให้คนในหมู่บ้านป่วย และเสียค่าใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาล และอาจเสียชีวิตได้ ในขณะเดียวกันการระบาดของโรคก็เป็นไปได้ง่ายและรวดเร็ว นับเป็นปัญหาต่อสุขภาพอนามัยของคนในชุมชนเป็นอย่างมาก จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการควบคุม ป้องกัน การเกิดและการระบาดของโรคไข้เลือดออก ให้มีความต่อเนื่องและมีความเป็นรูปธรรม โดยคนในครัวเรือน ชุมชน ได้มีส่วนร่วม ในการควบคุม และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง ในบ้านและบริเวณบ้านของตัวเอง อย่างจริงจังและต่อเนื่อง ซึ่งจะนำไปสู่ความปลอดจากโรคไข้เลือดออก และการมีสุขภาพดีต่อไป
ดังนั้น จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและป้องกันภัยโรคไข้เลือดออกปี 2563 ตำบลควนสตออำเภอควนโดน จังหวัดสตูลขึ้น เพื่อฟื้นฟูความรู้และวิชาการที่ทันสมัย และถ่ายทอดแนวทางการดำเนินงานเชิงรุกในชุมชนเพื่อให้แกนนำสามารถควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ชุมชนสามารถจัดการสิ่งแวดล้อมลดแหล่ง เพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายได้และมีการป้องกันโรคไข้เลือดออก

ร้อยละ 80 ของของกลุ่มเป้าหมาย มีการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างถูกหลักสุขาภิบาล

0.00
2 เพื่อส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ร้อยละ 80 ของทีม SRRT และเครือข่ายมีการส่งรายงานการเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคไข้เลือดออก

0.00
3 จัดการสภาพแวดล้อมเพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน และลดจำนวนของยุงลายภายในบ้านและนอกบ้าน

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีค่า HI CI ลดลง

0.00

เพื่อให้ชุมชนสามารถจัดการสิ่งแวดล้อมลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายได้และมีการป้องกันโรคไข้เลือดออก

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 85
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 310
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ ฟื้นฟูความรู้และส่งเสริมการทำงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ ฟื้นฟูความรู้และส่งเสริมการทำงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แจ้งกลุ่มเป้าหมายในการอบรม
- กำหนด สถานที่  วัน เดือน ปี
- ประสานทีมวิทยากร
- เชิญทีมวิทยากร และผู้เข้าร่วมอบรม - ดำเนินการอบรม 1.1 กิจกรรมย่อย จัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพทีมSRRT ฟื้นฟูความรู้และส่งเสริมการทำงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ค่าวิทยากร 6 ชม. x 300 บ. = 1,800 บาท ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม   = 2,575 บาท ช่วงเช้า -ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม 1 มื้อ 55บ. x 85 คน = 4,675 บาท -ค่าอาหารว่าง 1 มื้อๆ ละ 25 บ. x 85 คน = 2,125 บาท ช่วงบ่าย -ค่าอาหารว่าง 1 มื้อๆ ละ 25 บ. x 310 คน = 7,750 บาท 1.2 กิจกรรมย่อย จัดอบรมให้ความรู้แก่ชาวบ้านในการจัดการสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายโดยการสำรวจลูกน้ำยุงลาย 6 หมู่บ้าน           หมู่ที่ 5    ค่าวิทยากร 3 ชม.(ไม่เบิก)                        ค่าอาหารว่าง25บ. x 45 คน = 1,125 บาท           หมู่ที่ 6    ค่าวิทยากร 3 ชม.(ไม่เบิก)                        ค่าอาหารว่าง 25 บ.x 39 คน = 975 บาท           หมู่ที่ 7    ค่าวิทยากร3 ชม.(ไม่เบิก)                        ค่าอาหารว่าง 25 บ.x 39 คน = 975 บาท           หมู่ที่ 8    ค่าวิทยากร 3 ชม.(ไม่เบิก)                        ค่าอาหารว่าง 25 บ.x 62 คน = 750 บาท           หมู่ที่ 9   ค่าวิทยากร 3 ชม.(ไม่เบิก)                       ค่าอาหารว่าง 25 บ.x 54 คน =1,350 บาท           หมู่ที่ 10 ค่าวิทยากร 3 ชม.(ไม่เบิก)                       ค่าอาหารว่าง 25 บ.x 36 คน = 900 บาท 1.3 กิจกรรมย่อย สรุปและรายงานผลการดำเนินกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในหมู่ที่ 5-10ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล สามารถจัดการสิ่งแวดล้อมในบริเวณรอบบ้านของตนเองและปราศจากแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้อย่างต่อเนื่องค่า HI และ CI ลดลง
2. จำนวนยุงภายในบ้านและนอกบ้านลดลงเกิดการสร้างเครือข่ายการป้องกัน เฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกในระดับพื้นที่
3. ชุมชนมีวิธีในการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกในระยะยาว


>