กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

การดูแลและส่งเสริมสุขภาพด้วยสมุนไพรในครัวเรือน ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

กลุ่มงานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลควนโดน

ม.5-10 ต.ควนสตอ อ.ควนโดนจ.สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพ มีมาตั้งแต่ดั้งเดิม อยู่คู่กับชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนซึ่งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกแต่งกันไปตามแต่ละสังคม ชุมชน วัฒนธรรม สามารถตอบสนองต่อการดูแลสุขภาพและความเจ็บป่วยของประชาชนได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันสังคมที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้ชุมชนมีค่านิยมตามแนวทางตะวันตกเป็นหลักโดยเฉพาะด้านการดูแลสุขภาพที่เป็นการพึ่งพาจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ภูมิปัญญาและองค์ความรู้การดูแลสุขภาพเดิมที่มีอยู่ในชุมชนไม่ได้รับการพัฒนา ถูกทอดทิ้งคนรุ่นใหม่ขาดการสืบทอดทำให้ชุมชนรับประโยชน์จากภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรพื้นบ้านน้อยกว่าที่ควรจะเป็นทั้งๆที่ความรู้เหล่านี้ สามารถช่วยดูแลรักษาความเจ็บป่วยให้กับชาวบ้านได้อีกทั้งสมุนไพรมีความสำคัญและเป็นสิ่งล้ำค่าที่ควรเก็บรวบรวม อนุรักษ์ฟื้นฟูให้อยู่คู่กับคนในชุมชน
ตำบลควนสตออำเภอควนโดน เป็นชุมชนที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ และผู้คนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติในความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติทำให้มีสมุนไพรมากมายในชุมชนแต่ขาดการนำสมุนไพรเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางกลุ่มงานแพทย์แผนไทย จึงได้จัดโครงการการดูแลและส่งเสริมสุขภาพด้วยสมุนไพรในครัวเรือนขึ้นมา เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้เรียนรู้ถึงคุณค่าของสมุนไพร เพิ่มพื้นที่การปลูกสมุนไพร และนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และเห็นคุณค่าของพืชสมุนไพรในชุมชน

ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการใช้สมุนไพร

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำสมุนไพรในชุมชน มาใช้ให้เกิดประโยชน์

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพได้

0.00
3 เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนปลูกสมุนไพรมากขึ้น

ร้อยละ 50 ของผู้เข้าร่วมโครงการปลูกสมุนไพรในครัวเรือน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 วางแผนงานและเสนอโครงการ

ชื่อกิจกรรม
วางแผนงานและเสนอโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ขั้นตอนการวางแผนงาน 1.1 ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ      1.2 แต่งตั้งเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ 2. เสนอโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลควนสตอ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ดำเนินการจัดกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินการจัดกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ประชาสัมพันธ์โครงการ 2.2 จัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ สื่อความรู้ต่างๆ ได้แก่ แผ่นพับ สมุนไพรตัวอย่าง เป็นต้น 2.3 จัดกิจกรรมอบรมการใช้ประโยชน์จากสมุนไพร      - กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการใช้ประโยชน์จากสมุนไพร      - กิจกรรมสาธิตการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ งบประมาณ ค่าวิทยากร 6 ชม.  = 3,600 บ. ค่าอาหารกลางวัน 80 บ.x 40คน = 3,200 บ. ค่าอาหารว่าง 50 บ.x 40 คน = 2,000บ. ค่าเอกสารคู่มือ 25 บ.x 40 คน= 1,000บ. ค่าวัสดุ,สมุนไพร  = 1,825  บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11625.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,625.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพโดยใช้พืชสมุนไพรในชุมชน
2.ประชาชนมีการปลูกสมุนไพรเพิ่มขึ้น ในทุกครัวเรือน
3.ประชาชนในชุมชนหันมาอนุรักษ์ฟื้นฟู ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพมากขึ้น


>