กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอนามัยแม่และเด็กลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ

1.นายสมภพสุวรรณชมภู
2.นางสาวอามีเนาะสาและ
3.นางสาวซากียะห์ แวดาโอะ
4.นางสาวเจะมาสนีเจะและ
5.นางสาวฟาตีฮะบือราเฮง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์(คน)

 

80.00
2 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)

 

80.00
3 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะซีด(คน)

 

80.00

การฝากครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์และ การคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อนและมีสุขภาพแข็งแรงครรภ์คุณภาพเป็นเป้าหมายหลักของการให้บริการฝากครรภ์ทุกหน่วยบริการสาธารณสุข ซึ่ง จุดเริ่มต้นที่สำคัญของการฝากครรภ์คุณภาพคือการที่หญิงตั้งครรภ์มารับบริการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ เพื่อให้สามารถให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก ช่วยในการค้นหาหญิง ตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงหรือมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและมีคุณภาพ เกิดความ ปลอดภัยทั้งมารดาและทารกในครรภ์
ทุกวันนี้ ในโลกยังมีผู้หญิงเสียชีวิต จากปัญหาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอด และมีอีกนับหมื่นๆ คนที่ประสบภาวะแทรกซ้อน สำหรับประเทศไทย โดยเฉลี่ยผู้หญิงเสียชีวิตจากการตั้งครรภ์และการคลอด วันละ 1-2 คนมีแม่และเด็กจำนวนมากเจ็บป่วยรุนแรงถึงพิการ จากสาเหตุส่วนใหญ่ที่สามารถป้องกันได้อันตรายจากการตั้งครรภ์และการคลอดลูกจะลดลงได้ เมื่อผู้หญิงมีสุขภาพแข็งแรง และมีภาวะโภชนาการดีตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ มีการตั้งครรภ์เมื่อพร้อม มีข้อมูลจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่าสภาวะการ ตั้งครรภ์ และคลอดบุตรก่อนวัยอันควรของหญิงอายุต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และหญิงอายุต่ำกว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์ ตั้งแต่ปี 2540 - 2556 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกือบทุกปี การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหรือท้องวัยทีน คือ การตั้งครรภ์เมื่ออายุ ๑๙ ปี หรืออ่อนกว่านี้ พบร้อยละ 10 – 30 ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ของทุกประเทศทั่วโลก ใน ๑๐ ปี มานี้เอง ท้องในวัยทีนในประเทศไทยมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น จากร้อยละ 10 ในปี พ.ศ. 2536 เป็นกว่าร้อยละ 50 ทั้งนี้พฤติกรรม เสี่ยงดังกล่าว เป็นสาเหตุหนึ่งของการตายคลอดคลอดบุตรน้ำหนักตัวน้อยกว่า2,500 กรัมซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่สามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการ“อนามัยแม่และเด็กลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย” เพื่อป้องกันอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ มีภาวะโภชนาการดีตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ มีการตั้งครรภ์เมื่อพร้อมตั้งแต่อายุ 20ปีขึ้นไป ไปรับการตรวจสุขภาพเร็วที่สุดตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ รับการตรวจครรภ์เป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ ฝากครรภ์อย่างน้อย 5 ครั้ง และได้รับการคลอดในสถานบริการ(โรงพยาบาล)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ผ่านร้อยละ 80

80.00 1.00
2 เพื่อหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ

ผ่านร้อยละ 80

80.00 1.00
3 เพื่อหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์

ผ่านร้อยละ 70

70.00 1.00
4 เพื่อหญิงตั้งครรภ์คลอดในสถานบริการ(รพ.)

ผ่านร้อยละ 100

80.00 1.00
5 เพื่อหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์มีอายุ 20 ปีขึ้นไป

ผ่านร้อยละ 100

80.00 1.00
6 เพื่อเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในหญิงครรภ์

ผ่านร้อยละ 80

80.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 80
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/12/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมชี้แจงแก่หญิงตั้งครรภ์และคู่สมรสที่มีภาวะเสี่ยง วัยเจริญพันธ์ชายหญิงอายุ๑๕-๔๕ ปี คู่สมรสใหม่และอาสาสมัครสาธารณสุขในเรื่องเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ การฝากครรภ์คุณภาพ การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
อบรมชี้แจงแก่หญิงตั้งครรภ์และคู่สมรสที่มีภาวะเสี่ยง วัยเจริญพันธ์ชายหญิงอายุ๑๕-๔๕ ปี คู่สมรสใหม่และอาสาสมัครสาธารณสุขในเรื่องเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ การฝากครรภ์คุณภาพ การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 2 มื้อๆละ 25บาท จำนวน 85 คน    เป็นเงิน  4,250 บาท -ค่าอาหารกลางวัน   จำนวน 1 มื้อๆละ 50บาท จำนวน 85 คน  เป็นเงิน  4,250 บาท
  • ค่าพาหนะสำหรับผู้เข้ารับการอบรม จำนวน ๘๕ คนๆ 50 บาท     เป็นเงิน  4,250 บาท
  • ค่าจัดป้ายโครงการขนาด  เป็นเงิน   600 บาท
  • ค่าตอบทนวิทยากร   1 ชั่วโมง    เป็นเงิน   600 บาท
  • ค่าเอกสารประกอบการประชุม     จำนวน 85 ชุดX 20 บาท    เป็นเงิน   1,700  บาท -ค่าตอบแทนชุดของขวัญแก่หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์  จำนวน 50 ชุด X 100 บาท     เป็นเงิน 5,000 บาท -  ค่าตอบแทนชุดของขวัญแก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดดีขึ้น   จำนวน 50 ชุดX 100บาท    เป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่าตอบแทนชุดของขวัญแก่หญิงตั้งครรภ์ที่คลอดในสถานบริการ(รพ.)     จำนวน 50 ชุด X 100 บาท     เป็นเงิน 5,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. อัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์เพิ่มขึ้น
  2. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการดูแลตลอดระยะของการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ
  3. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์
  4. หญิงตั้งครรภ์คลอดในสถานบริการเพิ่มขึ้น
  5. มารดามีบุตรอายุต่ำกว่า 20 ปีน้อยลง
  6. ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์น้อยลง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30650.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,650.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์เพิ่มขึ้น
2. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการดูแลตลอดระยะของการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ
3. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์
4. หญิงตั้งครรภ์คลอดในสถานบริการเพิ่มขึ้น
5. มารดามีบุตรอายุต่ำกว่า 20 ปีน้อยลง
6. ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์น้อยลง


>