กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังสุขภาพของคนในชุมชน บ้านปลักซิมปอ ม.6 ตำบลควนสตออำเภอควนโดนจังหวัดสตูล

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

ชมรม อสม.หมู่ที่ 6 ต.ควนสตอ

นางปทุมวดีหลีเยาว์
นางฝาตีม๊ะหลีเส็น
นางสาวสุนันทาเกปัน
นางสาวมัณฑนาหลีเส็น
นางจันสิรินภามาลินี

หมู่ที่ 6 บ้านปลักซิมปอ ต.ควนสตอ อ.ควนโดน จ.สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งด้านความเจริญทางเทคโนโลยี วัตถุ สังคม การเมืองและเศรษฐกิจ รวมไปถึงลักษณะของประชากรและภาวะสุขภาพ วิทยาการทางการแพทย์เจริญขึ้นสามารถให้การรักษาโรคได้มากขึ้น ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยเปลี่ยนเป็นสังคมของผู้สูงอายุและเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้น(จากข้อมูลสถิติรายงานการป่วยของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์พบว่า ในปี ๒๕๕๓ มีผู้ป่วยโรคระบบไหลเวียนเลือดเพิ่มขึ้น ๑.๗๑ เท่า และโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น ๑.๔๕ เท่าของปี ๒๕๕๑) และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมยังส่งผลกระทบต่อปัญหาการดำเนินชีวิตและภาวะสุขภาพในระยะยาว
การคัดกรองภาวะสุขภาพประชาชน เป็นการค้นหา เฝ้าระวังป้องกันโรค ลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไขมัน เป็นต้น รวมทั้งเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังเบื้องต้น จากข้อมูลผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังในเขตตำบลควนสตอ ปี 2562 พบว่ามีผู้ป่วยป่วยด้ายโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 335 ราย ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 159 ราย แนวโน้มว่าจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี ถ้าไม่ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพและได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 6 ตำบลควนสตอ จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญในการคัดกรองสุขภาพประชาชนในเขตรับผิดชอบ เพื่อค้นหา เฝ้าระวัง และกระตุ้นให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้อย่างถูกต้องต่อไป สุขภาพเป็นองค์ประกอบสำคัญของบุคคล ครอบครัว และชุมชน หากบุคคลมีสุขภาพที่ดีแล้ว ย่อมส่งผลให้สามารถกระทำกิจกรรมใดๆได้อย่างเต็มที่ ฉะนั้นจึงต้องสร้างกลยุทธ์การดำเนินการและกิจกรรมในพื้นที่เพื่อมุ่งหวังให้เกิดการส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มประชาชนที่มีความแตกต่างกันในทุกกลุ่มอายุ ทุกสาขาอาชีพ และทุกสภาวะสุขภาพให้มีสุขภาพดี สามารถดำรงชีวิตและประกอบสัมมาอาชีพได้อย่างปกติสุข สนับสนุนให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรง มีความรู้ในการป้องกันโรคให้อยู่ในภาวะสุขภาพที่ดี สามารถดูแลสุขภาพตนเอง สามารถจัดการกับภาวะเสี่ยงต่างๆ และดูแลสิ่งแวดล้อมของชุมชนให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตที่มีคุณภาพ ทาง อสม.ซึ่งเป็นภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพในพื้นที่จึงได้จัดทำโครงการการเฝ้าระวังสุขภาพของคนในชุมชน'บ้านปลักซิมปอม.6ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดนจังหวัดสตูลในปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ขึ้น โดยเน้นให้ประชาชนปรับพฤติกรรมเพื่อเปลี่ยนสุขภาพโดยการปฏิบัติตัวตามหลัก ๓อ.๒ส. ที่ต่อเนื่องและยั่งยืน คือออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมโดยเฉพาะเพิ่มผักและผลไม้ที่ผลิตขึ้นเองในชุมชนและปลอดสารพิษ เป็นการเสริมสร้างกิจกรรมชุมชนให้เข้มแข็ง สนับสนุนให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ เสริมทักษะชีวิตในการจัดการที่ดี เพื่อป้องกันและควบคุมสุขภาพของตน โดยสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่านกลไกของกระบวนการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคเรื้อรัง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองและเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูง

ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูงทุกคนได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน

0.00
2 เพื่อจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในชมรมรักษ์สุขภาพตำบลควนสตอ

50 ของกลุ่มเป้าหมาย มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามหลักการ 3อ2ส ได้ดีขึ้น

0.00
3 เพื่อให้แกนนำ/เครือข่ายมีความรู้ความเข้าใจและสามารถจัดระบบข้อมูลด้านสุขภาพเพื่อการสื่อสารประชาสัมพันธ์และการจัดการสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้

ร้อยละ 80 ของแกนนำ/เครือข่าย มีความรู้ความเข้าใจในข้อมูลด้านการดูแลสุขภาพและสามารถสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ได้อย่างถูกต้อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ 15
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการเฝ้าระวังสุขภาพของคนในชุมชน บ้านปลักซิมปอ ม.6 ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

ชื่อกิจกรรม
โครงการเฝ้าระวังสุขภาพของคนในชุมชน บ้านปลักซิมปอ ม.6 ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมหลัก
-ประชุมเชิงปฏิบัติการ  จัดกิจกรรมการสร้างพลังในประชาชนและสมาชิกชมรม กลุ่มปกติ/เสี่ยง/ป่วย ในเรื่อง 3อ.2ส. งบประมาณ -ค่าตอบแทนวิทยากร(ไม่เบิก) -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 45 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 45 คนๆละ25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,250 บาท 2.กิจกรรม ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่มีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงทุกคนได้รับการติดตามวัดความดันยโลหิตที่บ้าน จำนวน 1 สัปดาห์/คน และส่งต่อในรายที่ผิดปกติเพื่อรับการวินิจฉัยโรคต่อไป ค่าจัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 3 เครื่องๆละ 2,500บาท เป็นเงิน 7,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในพื้นที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมมากขึ้น
2. เกิดความร่วมมือของภาคีเครือข่ายที่หลากหลายในการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนอย่างยั่งยืน
3. เกิด ชุมชน/หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยง ลดโรค ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน


>