กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งค่าย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนห่วงใย ใส่ใจผู้สูงอายุ ปี 2563 ชมรมผู้สูงอายุ รพ.สต. บ้านควนเคี่ยม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งค่าย

ชมรมผู้สูงอายุ รพ.สต. บ้านควนเคี่ยม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในสังคมไทยยกย่องและถือว่าผู้สูงอายุเป็นบุคคลสําคัญที่มีคุณค่าของครอบครัวและชุมชน ดังนั้น ผู้สูงอายุจึงควรได้รับการดูแลสุขภาพให้มีปัญหาน้อยที่สุด เพราะจํานวนและสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุได้มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีอายุยืนยาวกว่าเดิม แต่ผู้สงอายมักมีผลกระทบต่อสุขภาพเนื่องจากความเสื่อมถอยของร่างกายตามวัยรวมทั้งผลของโรคเรื้อรังที่พบบ่อยได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด การเป็นโรคตามัว และหูเสื่อมจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาอุบัติเหตุซึ่งนําไปสู่ภาวะความถดถอยของร่างกายเกิดภาวะพึ่งพาไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อยหรืออาจมีอาการ สมองเสื่อมทําให้ต้องอาศัยพึ่งพาเกิดภาวะทุพพลภาพเป็นภาระแก่ผู้ดูแล สิ่งเหล่านี้ทําให้การดํารงชีวิตของ ผู้สูงอายุไม่มีความสุข นอกจากนี้ประชากรกลุ่มสูงอายุอาจมีปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากภาวะทาง เศรษฐกิจของครอบครัวทําให้ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งในช่วงเวลาทํางานของผู้ดูแล ความเหงาที่ต้องอยู่คนเดียวและ อายุที่มากขึ้นมีความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางด้านจิตใจและอารมณ์
ตําบลทุ่งค่าย อําเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ได้ดําเนินการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียง โดย ผู้ดูแลผู้สูงอายุ(CG) และพยาบาลวิชาชีพ(CM) โดยกองทุนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตําบลทุ่งค่าย แต่มีจําเป็น อย่างยิ่งที่ญาติหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุทั้งกลุ่มติดสังคม กลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดเตียง ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ผู้สูงอายุทั้งในด้านความต้องการทางด้านร่างกายและทางด้านจิตใจ เพื่อให้ผู้สูงอายุอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ ปลอดภัย รับประทานอาหารที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย มีจิตใจที่แจ่มใส ได้รับการดูแลรักษาโรคประจําตัว อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบ้านควน เคียมจึงได้จัดทําโครงการชุมชนห่วงใยใส่ใจสุขภาพผู้สูงอายุขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่ออบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้สูงอายุ เรื่องการดูแลสุขภาพ

 

0.00
2 ผู้สูงอายุที่มีโรคประจําตัวได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง

ผู้สูงอายุที่มีโรคประจําตัวพบแพทย์และเจ้าหน้าที่ตามนัด

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 150
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้สูงอายุ เรื่องการดูแลสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้สูงอายุ เรื่องการดูแลสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพและสามารถดูแลตนเองได้
2.ผู้สูงอายุสามารถดํารงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขทั้งด้านร่างกายและจิตใจ


>