กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในเด็กวัยเรียนของ รพ.สต.นาทอน ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

รพ.สต.นาทอน

นางสาววนิดา ยาพระจันทร์
นางสาวสุนิสา ชัยสงคราม
นางหทัยกาญจน์ สันมาหมีน
นางสาวยุวดี แกสมาน

โรงเรียนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.นาทอน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 3 โรงเรียน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากเด็กวัยเรียน โดยเฉพาะเด็กในระดับประถมศึกษาเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นช่วงวัยที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงชุดฟันในช่องปากจากฟันน้ำนมเป็นฟันถาวร ซึ่งฟันที่เริ่มขึ้นจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุเนื่องจากการสะสมแร่ธาตุที่ผิวฟันยังไม่สมบูรณ์และเด็กยังไม่สามารถแปรงฟันได้อย่างถูกวิธีรวมทั้งมีพฤติกรรม เช่น ดื่มน้ำอัดลม กินขนมกรุบกรอบ ปัญหาโรคฟันผุของเด็กวัยนี้จึงส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของร่างกาย และความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กอย่างมาก นอกจากนี้อาจเกิดปัญหาอุบัติเหตุต่อฟันและเนื้อเยื่อในช่องปากได้บ่อย จากการที่เด็กเล่นกีฬาและออกกำลังกายกลางแจ้ง โดยขาดความระมัดระวัง
การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่เสียถูกถอน หรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกัน รวน เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติอาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกัน หรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็นปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าแสดงออก
การแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมการตรวจสุขภาพช่องปากการแปรงฟันที่ถูกวิธีการบำบัดรักษา และการติดตามประเมินผล ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทอน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อการเฝ้าระวังและส่งเสริมการป้องกันฟันผุในเด็กวัยเรียนในพื้นที่เขตรับผิดชอบ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กวัยเรียนอายุ 4 – 12 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน
  1. เด็กวัยเรียนอายุ 4 – 12 ปี ได้รับความรู้เรื่องทันตสุขภาพ ร้อยละ 90
  2. เด็กวัยเรียนอายุ 4 – 12 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน ร้อยละ 90
1.00
2 เพื่อให้เด็กวัยเรียนอายุ 4 – 12 ปี ได้รับเคลือบฟลูออไรด์วานิชเพื่อลดการผุของฟันและป้องกันฟันผุ

1 เด็กวัยเรียนอายุ 4 – 12 ปี ได้รับการเคลือบฟลูออไรด์วานิช
ร้อยละ 90 2. เด็กวัยเรียนอายุ 12 ปี ฟันดีไม่มีผุ ร้อยละ 30

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 450
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2020

กำหนดเสร็จ 31/07/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในเด็กวัยเรียน ปีงบประมาณ 2563

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในเด็กวัยเรียน ปีงบประมาณ 2563
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านทางโรงเรียนและอสม.
  2. ส่งหนังสือถึงกลุ่มเป้าหมายในโรงเรียนเขตรับผิดชอบตำบลนาทอนจำนวน 3 โรงเรียน
  3. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องทันตสุขภาพในเด็กวัยเรียนในโรงเรียนเขตรับผิดชอบตำบลนาทอน จำนวน 3 โรงเรียน

    กิจกรรมดำเนินการ
    ขั้นเตรียมการ
    1.ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน
    2.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
    3.จัดทำทะเบียนรายชื่อเด็กวัยเรียนในโรงเรียนเขตพื้นที่รับผิดชอบตำบลนาทอน
    4.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    ขั้นดำเนินการ
    1.ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านทางโรงเรียนและอสม.
    2.จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขทั้งตำบลในพื้นที่ดำเนินโครงการและจัดทำหนังสือถึงโรงเรียนเขตรับผิดชอบตำบลนาทอน
    3.จัดทำทะเบียนรายชื่อเด็กวัยเรียนในโรงเรียนเขตพื้นที่รับผิดชอบตำบลนาทอน
    4.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องทันตสุขภาพในเด็กวัยเรียนในโรงเรียนในพื้นเขตรับผิดชอบตำบลนาทอน 3 โรงเรียนจำนวน 450 คน 5.ตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน
    6.สาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธีพร้อมทั้งฝึกปฏิบัติการแปรงฟัน
    7.ให้บริการเคลือบฟลูออไรด์วานิชเพื่อป้องกันฟันผุในเด็กวัยเรียนในโรงเรียนเขตพื้นที่รับผิดชอบตำบลนาทอน
    8.สรุปและรวบรวมผลการดำเนินงาน

    งบประมาณ
    -ค่าป้ายไวนิลโครงการเป็นเงิน 500บาท
    -ค่าชุดอุปกรณ์สาธิตทำความสะอาดช่องปาก จำนวน 450 ชุด X 40 บาท เป็นเงิน 18,000 บาท
    -ค่าฟลูออไรด์วานิช จำนาน 12 หลอด X 1,000 บาท เป็นเงิน 12,000 บาท
    -ค่าพูกันทาฟลูออไรด์ จำนวน 5 กล่อง X 150 บาท เป็นเงิน 750 บาท
    -ค่าถ่ายเอกสารแบบตรวจสุขภาพช่องปากและเอกสารความรู้ เป็นเงิน 2,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กวัยเรียนอายุ 4 – 12 ปี ได้รับความรู้เรื่องทันตสุขภาพ ร้อยละ 90
  2. เด็กวัยเรียนอายุ 4 – 12 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน ร้อยละ 90
  3. เด็กวัยเรียนอายุ 4 – 12 ปี ได้รับเคลือบฟลูออไรด์วานิช ร้อยละ 90
  4. เด็กวัยเรียนอายุ 12 ปี ฟันดีไม่มีผุ ร้อยละ 30
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กวัยเรียนอายุ 4 – 12 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน ร้อยละ 90
2.เด็กวัยเรียนอายุ 4 – 12 ปี ได้รับการเคลือบฟลูออไรด์วานิช ร้อยละ 90
3.เด็กวัยเรียนอายุ 12 ปี ฟันดีไม่มีผุ ร้อยละ 30
4.โรงเรียนมีกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน ร้อยละ 100


>