กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ริโก๋

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดโรค ลดเสี่ยง หลีกเลี่ยงเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ริโก๋

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลริโก๋

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลริโก๋ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศ ในสภาพสังคมปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งเศรษฐกิจและสังคมทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไป ปัจจัยหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนเปลี่ยนไป ความเร่งรีบทำให้โอกาสในการเลือกรับประทานที่มีประโยชน์น้อยลงส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง เห็นได้จากผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีเพิ่มขึ้นทุกปีและจะทำให้มีโอกาสที่จะป่วยด้วยโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน มะเร็ง ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคดังกล่าว น่าจะเป็นหนทางที่ปลอดภัยและประหยัดงบประมาณกว่าการรักษา โดยการเลือกรับประทานอาหารรสเค็มให้น้อยลง งดสูบบุหรี่และ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ หากสามารถปฏิบัติได้สม่ำเสมอน่าจะช่วยให้ประชาชนชาวไทยมีสุขภาพดี ส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นตามไปด้วย จากผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลริโก๋ พ.ศ. ๒๕๖2 ข้อมูลการสำรวจสุขภาพประชาชนในพื้นที่ตำบลริโก๋ พบว่าประชากรกลุ่มเป้าหมาย อายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป จำนวน ๑,629 คน ได้รับการคัดกรองความดันโลหิตสูง และเบาหวาน จำนวน ๑,561 คน (ร้อยละ ๙5.83) พบว่ามีผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 564 คน (ร้อยละ 36.13) และเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 662 คน (ร้อยละ 34.02) สิ่งที่น่าวิตกอย่างยิ่ง คือ ในจำนวนผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ร้อยละ ๖๐ ในชาย และ ๔๐ ในหญิงไม่เคยได้รับการวินิจฉัยมาก่อน (ไม่รู้ตัวว่าเป็นความดันโลหิตสูง) ร้อยละ ๘-๙ ได้รับการวินิจฉัยแต่ไม่ได้รับการรักษา ส่งผลให้อาการทวีความรุนแรงขึ้นเพราะไม่ได้รับการรักษา และในกลุ่มของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา พบว่าจำนวนประมาณน้อยกว่า ๑ ใน ๔ ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์ และมีเพียง ๑ ใน ๔ ที่ได้รับการรักษาและควบคุมความดันโลหิตได้ ซึ่งถือว่าต่ำมากสำหรับการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น
จากเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลริโก๋ จึงมีแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านการดูแลตนเองและส่งเสริมการบริโภคที่ให้กับประชากรกลุ่มนี้ด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจและสังคมให้ดีขึ้น ทำให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้ดียิ่งขึ้น ผู้ป่วยสามารถลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดผู้เสี่ยงสามารถการเจ็บป่วย ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงในการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ภาระและค่าใช้จ่ายของครอบครัว สังคม ในด้านการรักษาพยาบาลที่จะตามมา จึงได้จัดทำโครงการลดโรค ลดเสี่ยง หลีกเลี่ยงเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 90

 

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน

 

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

 

0.00
4 เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและประเมินภาวะแทรกซ้อน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ในผู้ที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป เชิงรุกในหมู่บ้าน ร่วมกับ อสม.

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ในผู้ที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป เชิงรุกในหมู่บ้าน ร่วมกับ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลริโก๋ จำนวน 17,400 บาท  รายละเอียด  ดังนี้ 1. อบรม ให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 120 คน ในเดือน มีนาคม 2563           - อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 120 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท  เป็นเงิน 6,000 บาท           - อาหารกลางวัน จำนวน 120 คนๆ ละ 1 มื้อๆละ 50 บาท           เป็นเงิน 6,000 บาท           - ค่าวัสดุการอบรม จำนวน 120 คนๆ ละ 30 บาท               เป็นเงิน 3,600 บาท 2.  ไวนิลปิงปอง 7 สี                          เป็นเงิน 1,000 บาท 3.  ไวนิลอบรมโครงการ จำนวน 1 แผ่น                  เป็นเงิน 800 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 17,400 บาท (หนึ่งหมื่นเจ็ดพันสี่ร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17400.00

กิจกรรมที่ 2 อบรม ให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 2 รุ่นๆละ 60 คน รวมจำนวน 12๐ คน อบรมในเดือน มีนาคม 2563

ชื่อกิจกรรม
อบรม ให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 2 รุ่นๆละ 60 คน รวมจำนวน 12๐ คน อบรมในเดือน มีนาคม 2563
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 จำแนกกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรอง ตามปิงปองจราจร 7 สี

ชื่อกิจกรรม
จำแนกกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรอง ตามปิงปองจราจร 7 สี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน มากกว่า
หรือเท่ากับ ร้อยละ 90 เพื่อเป็นการป้องกัน และโอกาสเพิ่มผู้ป่วยรายใหม่ลดลง ร้อยละ 0.25 ขึ้นไป
2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคในชุมชน


>