กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชาวทุ่งใหญ่ขยับร่างกายปลอดภัยจากโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

ชุมชนบ้านทุ่งใหญ่

1. นายคล่องชื่นอารมณ์
2. นายนิพลสุวรรณโณ
3. นางสาวธนัญญายอดสุวรรณ
4. นางสาวกฤษณีชื่นอารมณ์
5. นางสาวธัญจิราฮิ่นเซ่ง

ชุมชนบ้านทุ่งใหญ่ หมู่ 8 ตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

 

50.00
2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

50.00
3 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

 

50.00
4 ร้อยละของเยาวชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเสพติด เช่น กระท่อม เฮโรอีน ยาบ้า เป็นต้น

 

10.00

กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลนาทอน มีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเองครอบครัวและชุมชนเพื่อการมีสุขภาพที่ดี ตามแผนพัฒนายุทธศาสตร์แห่งชาติโดยมีวิสัยทัศน์ที่จะทำให้ประชาชนไทยอยู่เย็นเป็นสุขทั้งกายใจสังคมปัญญาและจิตวิญญาณมีสัมมาอาชีพทำงานด้วยความสุขดำรงชีวิตอยู่บนพื้นฐานความพอดีพอประมาณมีเหตุผลมีภูมิคุ้มภัยในตัวที่ดีภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวส่งผลให้ครอบครัวอบอุ่นมั่นคง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันมีสุขภาพแข็งแรงอายุยืนยาวและหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญของมิติทางกายคือให้คนไทยออกกำลังกายสม่ำเสมอ ประชาชนรวมกลุ่มกันดูแลสุขภาพของตนเองครอบครัวและชุมชนเพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้แก่ออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย อารมณ์ อโรคยาอนามัยสิ่งแวดล้อมและอบายมุขโดยมีเป้าหมายให้ประชาชน ได้การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
ปัจจุบันการออกกำลังกายเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายดังจะเห็นได้จากการมีชมรม,กลุ่มออกกำลังกาย ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แอโรบิครำไม้พลอง โยคะ ฟุตบอลเซปัคตะกร้อเป็นต้นทั้งนี้เนื่องจากการออกกำลังกายเป็นเครื่องมือในการสร้างเสริมสุขภาพที่มีค่าใช้จ่ายในการนำไปสู่สุขภาพแข็งแรงสุขภาพจิตดีส่งผลให้คุณภาพชีวิตที่ดีปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งการออกกำลังกายแบบแอโรบิคหรือที่ทุกคนมักคุ้นกับการเรียกว่าเต้นแอโรบิคเป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเป็นอย่างมากในปัจจุบันตั้งแต่ระดับชุมชนชนบทชุมชนเมืองซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่สร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินแต่ให้ผลที่คุ้มค่าต่อสุขภาพอย่างยิ่ง
ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเป็นการดูแลรักษาสุขภาพเป็นเบื้องต้นในการป้องกันโรคต่างๆ เป็นการส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรงปลอดโรค ห่างไกลจากยาเสพติด ใช้เวลาช่วงเย็นเป็นการพบปะกันของคนในชุมชนเพื่อร่วมกิจกรรมสันทนาการการออกกำลังกายร่วมกัน และเพิ่มความเข้มแข็ง ความสามัคคีให้คนในชุมชนอีกทางหนึ่ง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาเยาวชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเสพติด เช่น กระท่อม เฮโรอีน ยาบ้า เป็นต้น

ร้อยละของเยาวชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเสพติด เช่น กระท่อม เฮโรอีน ยาบ้า เป็นต้น

10.00 10.00
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)

50.00 50.00
3 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

50.00 50.00
4 เพิ่มพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

50.00 100.00
5 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

คนในชุมชนมีมวลกายที่ลดลง มีสุขภาพแข็งแรงมากขึ้น

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 10
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2020

กำหนดเสร็จ 31/07/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขยับร่างกายแล้วปลอดภัยด้วยอาหาร

ชื่อกิจกรรม
ขยับร่างกายแล้วปลอดภัยด้วยอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมพัฒนาศักยภาพแม่บ้านผู้ประกอบอาหารเชิญวิทยากรให้ความรู้แก่ชาวบ้านในเรื่องทุพโภชนาการ การประกอบอาหารที่ถูกวิธี และสาธิตเมนูอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
แม่บ้านผู้ประกอบอาหารจำนวน 85 คน
ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 5 คน
- ป้ายจำนวน ๑ ป้าย = ๕๐๐บาท
- ค่าวิทยากร ๑ คน ๖ ชั่วโมงๆ ละ ๖๐๐ บาท = ๓,๖๐๐บาท
- ค่าอาหารว่าง ๒ มื้อๆละ ๒๐ บาท จำนวน 90 คน = ๓,๖๐๐บาท
- ค่าอาหารกลางวัน๑ มื้อๆละ ๖๐ บาท จำนวน 90 คน = ๕,๔๐๐บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 เมษายน 2563 ถึง 25 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แม่บ้านเข้าใจหลักการประกอบอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ให้คนในครอบครัวรับประทาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13100.00

กิจกรรมที่ 2 ขยับร่างกายวันละนิดชีวิตมีสุข

ชื่อกิจกรรม
ขยับร่างกายวันละนิดชีวิตมีสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ทำกิจกรรมเก็บข้อมูลการออกกำลังกายของคนในชุมชนเป็นเวลา 3 เดือน ตรวจวัดมวลกาย ของชาวบ้าน
เชิญวิทยากรให้ความรู้แก่ชาวบ้านเรื่องมวลกาย และแคลลอรี่ พลังงานที่ร่างกายต้องใช้ในแต่ละวัน
- ค่าวิทยากร ๑ คน ๖ ชั่วโมงๆ ละ ๖๐๐ บาท = ๓,๖๐๐บาท
- ค่าอาหารว่าง ๒ มื้อๆละ ๒๐ บาท จำนวน 90 คน = ๓,๖๐๐ บาท
- ค่าอาหารกลางวัน๑ มื้อๆละ ๖๐ บาท จำนวน 90 คน = ๕,๔๐๐ บาท

กิจกรรมประกาศผลการจัดเก็บข้อมูลการออกกำลังกายในชุมชน
ผู้ที่มีมวลกายลดลง
ผู้ที่มาขยับร่างกายเยอะที่สุดในเวลา ๓ เดือน
ผู้ที่มีน้ำหนักลดลง จากวันแรกที่ร่วมโครงการ
-ค่ารางวัลสำหรับ ผู้ที่มีมวลกายลดลง ,ผู้ที่มาขยับร่างกายเยอะที่สุดในเวลา ๓ เดือน ,ผู้ที่มีน้ำหนักลดลง จากวันแรกที่ร่วมโครงการจำนวนเงิน 2500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. ประชาชนได้รับการสร้างเสริมสุขภาวะร่างกายของประชาชน
๒. ประชาชนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย
๓. ประชาชนมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันไม่พึงปรารถนา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.ประชาชนได้รับการสร้างเสริมสุขภาวะร่างกายของประชาชน
๒.ประชาชนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย
๓. ประชาชนมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันไม่พึงปรารถนา
๔.ประชาชนทราบวิธีการดูแลตนเองเมื่อเป็นผู้ป่วยเรื้อรัง
๕.แม่บ้านทราบหลักการประกอบอาหารที่ถุกหลักโภชนาการเพื่อไม่ให้เป็นโรคต่างๆ


>