กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้สูงวัยท่าศิลาดูแลห่วงใยรักษ์สุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

ชุมชนบ้านท่าศิลา

1.นายวิรัตน์ รักษะโบ๊ะ
2.นายศิลาวุฒิ เทศนอก
3.นายยุโสบ หวาหาบ 093-6014015
4.นายประกิจ ระเชาะ
5.น.ส.อัสมาอ์ หมีนคลาน

ม.5 บ้านท่าศิลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

............ปัญหาสุขภาพเป็นบัญหาสำคัญที่มีผลต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคม ทั้งส่วนบุคคล ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ ดังนั้น การส่งเสริมค่านิยมที่ถูกต้องด้านสุขภาพ จึงเป็นเรื่องสำคัญหากได้ปลูกฝังและเสริมสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้ จะทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพ ตลอดจนแนวทางการควบคุมและป้องกันโรคที่จะก่อให้เกิดผลเสียต่อภาวะสุขภาพของประชาชน โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมควบคุมโรคด้วย ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนผู้สูงวัย จึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมให้กับคนสูงวัยในชุมชนให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ให้สามารถช่วยเหลือตัวเอง และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
…………ดังนั้น เพื่อให้ได้รับการดูแลและการแก้ไขปัญหาต่างๆ พร้อมกับแนะนำสนับสนุนให้ได้รับการพัฒนาสุขภาพให้ได้ดีขึ้น ชุมชนบ้านท่าศิลาจึงได้จัดทำ“โครงการผู้สูงวัยท่าศิลาดูแลห่วงใยรักษ์สุขภาพ” ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงวัยในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพ การแก้ปัญหา และการป้องกันอย่างถูกวิธี อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนผู้สูงวัยมีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย สุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี

ประชาชนผู้สูงวัยในพื้นที่มีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย  สุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี

0.00
2 เพื่ออบรมให้ความรู้ผู้สูงวัยดูแลรักษาสุขภาพ ให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น

1…ผู้สูงวัยมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตัวเอง
2.ผู้สูงอายุมีความสุขขึ้น

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2020

กำหนดเสร็จ 31/07/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และเชิงปฏิบัติการผู้สูงวัย

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และเชิงปฏิบัติการผู้สูงวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมย่อย.......อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพผู้สูงวัย
-ค่าวิทยากรจำนวน 2 คน 3 ชม.ๆละ 600 บาท=3,600บ.
-ค่าอาหารกลางวันจำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆละ 60 บาท=3,000 บ.
-ค่าอาหารว่างจำนวน 50 คนๆละ 2 มื้อๆละ 20 บาท คน=2,000 บ.
-ค่าป้ายกิจกรรม=500 บ.
เป็นเงิน 9,100บาท

1.2 กิจกรรมย่อย.......อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับหลักโภชนาการและสุขภาพอนามัยผู้สูงวัยและ อบรมเชิงปฏิบัติการ การดูแลสุขภาพผู้สูงวัย โดยการขยับร่างกายด้วยการใช้ผ้าขาวม้า
-ค่าวิทยากรจำนวน 2 คน 3 ชม.ๆละ 600 บาท =3,600 บ.
-ค่าอาหารกลางวันจำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆละ 60 บาท=3,000 บ.
-ค่าอาหารว่างจำนวน 50 คนๆละ 2 มื้อๆละ 20 บาท คน=2,000 บ.
-ค่าผ้าขาวม้า 50 ผืนๆละ 100 บาท = 5,000 บ.
เป็นเงิน 13,600 บาท

1.4 กิจกรรมย่อย.......ขยับร่างกายด้วยการใช้ผ้าขาวม้า เพื่อสุขภาพผู้สูงวัย เดือนละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 2 เดือน
-ค่าวิทยากรจำนวน 1 คน 2 ชม.ๆละ 600 บาท=1,200 บ.
เป็นเงิน 1,200 บาท

1.5 กิจกรรมย่อย.....อาสาสมัครผู้สูงวัยลงพื้นที่พบปะเยี่ยมเยียนผู้สูงวัยติดบ้าน เดือนละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 5 เดือน
-ค่าตอบแทนอาสาสมัครผู้สูงวัย จำนวน 10 คนๆละ 5 ครั้งๆละ 50 บาท =2,500 บ.
เป็นเงิน 2,500 บาท



กำหนดการอบรม โครงการผู้สูงวัยบ้านท่าศิลาดูแลห่วงใยรักสุขภาพ
กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และเชิงปฏิบัติการ
กิจกรรมย่อย 1.1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพผู้สูงอายุ
เวลา 9.00 – 10.30 น. การดูแลรักษาสุขภาพผู้สูงอายุ
เวลา 10.45 – 12.00 น. โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ
เวลา 12.00 – 13.00 น. พักเที่ยง
เวลา 13.00 – 14.30 น. การดูแลสุขภาพเมื่อมีโรคประจำตัว
เวลา 14.45 – 16.00 น. การป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง


กิจกรรมย่อย 1.2 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับหลักโภชนาการสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุ และอบรมเชิงปฏิบัติการ การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ โดยการขยับร่างกายด้วยการใช้ผ้าขาวม้า
เวลา 9.00 – 10.30 น. หลักโภชนาการและสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุ ลดหวาน มัน เค็ม
เวลา 10.45 – 12.00 น. การปรุงอาหารให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ
เวลา 12.00 – 13.00 น. พักเที่ยง
เวลา 13.00 – 14.30 น. การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ขยับร่างกายด้วยการใช้ผ้าขาวม้า
เวลา 14.45 – 16.00 น. สาธิตการอออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้ามันตรา

กิจกรรมย่อย 1.3 ขยับร่างกาย เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ เดือนละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 2 เดือน
กิจกรรมย่อย 1.4 จิตอาสาผู้สูงอายุลงพื้นที่พบปะเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุติดบ้าน เดือนละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 5 เดือน

*หมายเหตุ พักเบรก 15 นาที
วิทยากร 1.นางอนงค์ เกื้อสกุล
วิทยากร 2.นางฟาติม๊ะ หีมปอง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,400.00 บาท

หมายเหตุ :
ประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหา และวิธีการกำหนดรูปแบบดำเนินโครงการ
- แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนและโครงการ
- ประสานดำเนินงานกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และเชิงปฏิบัติการผู้สูงวัย
ประชุมชี้แจงโครงการผู้สูงวัยท่าศิลารักษ์สุขภาพ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ดี เพื่อผู้สูงอายุในชุมชน ในวันประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน
กิจกรรมย่อย 1.1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพผู้สูงอายุ
กิจกรรมย่อย 1.2 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับหลักโภชนาการและสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุ
กิจกรรมย่อย 1.3 อบรมเชิงปฏิบัติการ การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการขยับร่างกายด้วยการใช้ผ้าขาวม้า
กิจกรรมย่อย 1.4 ขยับร่างกาย เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ เดือนละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 2 เดือน
กิจกรรมย่อย 1.5 จิตอาสาผู้สูงอายุลงพื้นที่พบปะเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุติดบ้าน เดือนละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 5 เดือน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1…ประชาชนผู้สูงวัยมีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย สุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
2…ประชาชนผู้สูงวัยมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตใจที่ดีขึ้น
3…ประชาชนผู้สูงวัยมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงการดูแลสุขภาพมากขึ้น


>