กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เฝ้าระวังควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่เป็นพาหะในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลยะหา

-

ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลยะหา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)

 

70.00
2 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้มาลาเรีย(คน)

 

3.00

โรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุดได้แก่กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่5 – 14ปีรองลงมาคือเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กโตตามลำดับปัจจุบัน ยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกและมาลาเรียในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
ปัจจุบันในตำบลยะหา พบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียยังทวีความรุนแรงและมีผู้ป่วยมากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและรณรงค์ เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรงและเพื่อเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่ององค์การบริหารส่วนตำบลยะหา ได้ตระหนักถึงความปลอดภัยของสุขภาพประชาชนจึงได้จัดทำโครงการรณรงค์โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะในชุมชนให้ครอบคลุมทุกครัวเรือนเพื่อกำจัดยุงซึ่งเป็นพาหนะนำโรคไข้เลือดออกและโรคมาลาเรีย และเพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียและเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ตามอำนาจหน้าที่ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน ตามมาตรา 67 (3) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนชุมชนวัดและมัสยิด

มีการดำเนินการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลายได้ร้อยละ 80

55.00 44.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียที่ถูกวิธี และเหมาะสม

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียนที่ถูกวิธีและเหมาะได้ร้อยละ 100

1400.00 1400.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,400
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/02/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวังควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่เป็นพาหะในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวังควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่เป็นพาหะในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการให้ความรู้แก่ประชาชนในเขตรับผิดชอบ โดย รพ.สต.บ้านลากอ อสม.ในเขตพื้นที่กิจกรรมเฝ้าระวังโรคติดต่อโดยแมลง โดยออกรณรงค์ทั้ง 9 หมู่บ้าน ทุกวันศุกร์ ทั้งหมด 28 ครั้ง โดยแบ่งเป็นครั้งละ 2 ชุด รวมทั้งสิ้น 56 ชุดๆ ละ 25 คน ทั้งหมด 1,400 คน โดยกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยการจัดกิจกรรม Big Cleaning Day ในโรงเรียนและชุมชนวัดมัสยิด และตัดหญ้าสองข้างทาง ประชาสัมพันธ์และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน ชุมชน ร่วมกับโรงเรียน แกนนำประจำครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และภาคีเครือข่าย โดยวิธี กิจกรรมเฝ้าระวังโรคติดต่อโดยแมลง - ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย (ทรายอะเบท) 3 ถัง เป็นเงิน15,600บาท - โลชั่นทากันยุงแบบซอง 1,520 ซอง เป็นเงิน12,160บาท - สเปรย์กำจัดยุง ขนาด 600 มล. จำนวน 74 ขวด เป็นเงิน10,582บาท - แผ่นพับ 1,104 แผ่น เป็นเงิน2,208บาท - ป้ายโครงการ 1 ผืน เป็นเงิน 800บาท - อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1,400 คนๆ ละ 25 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน35,000บาท
กิจกรรมพ่นสารเคมี (หมอกควัน) - น้ำยาพ่นหมอกควัน จำนวน 6 ขวด เป็นเงิน14,400บาท - ค่าน้ำมันดีเซลใช้ผสมสารเคมี และน้ำมันเบนซิล จำนวน 200 ลิตร เป็นเงิน6,000บาท - ค่าจ้างเหมาพ่นสารเคมี (หมอกควัน) การดำเนินการควบคุมโรคในรายผู้ป่วย จำนวน 30 ราย (9 หมู่บ้าน) X 3 ครั้ง/ราย X 200 บาทเป็นเงิน18,000บาท - ค่าจ้างเหมาพ่นสารเคมี (หมอกควัน) ในการดำเนินการควบคุมโรค ในหน่วยงานราชการ 11 แห่งๆ 2 ครั้ง
(จำนวน 3 คน X 300 บาท X 2 ครั้ง/แห่ง X 11 แห่ง) เป็นเงิน19,800บาท - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโด - โรงเรียนยะหาศิรยานุกูล - โรงเรียนบ้านลากอ - โรงเรียนอาสินศึกษา - โรงเรียนบ้านพงกูแว - โรงเรียนบ้านรัตนา - โรงเรียนศาสโนวาทวิทยา - โรงเรียนศาสน์อิสลามวิทยา - โรงเรียนธรรมอิสลามศึกษา - วัดยะหาประชาราม - ปอเนาะ หมู่ที่ 1 / โรงเรียนอนุบาลมุสลิม
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 134,550บาท หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียและอัตราป่วยตายด้วยไข้เลือดออก ต่อแสนประชากร ๒. ทำให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียและมี พฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย ๓. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย ๔. ทำให้ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอทำให้สามารถลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน ชุมชน มัสยิด โรงเรียนให้น้อยลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
134550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 134,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้และทักษะสามารถดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อ
2. บ้านหมู่บ้านศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนลดอัตราการเกิดโรคติดต่อที่เป็นปัญหาในชุมชน
3. มีกลุ่มแกนนำในการติดตามดูแลและป้องกันการเกิดโรคติดต่อในชุมชน


>