กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพใจในเดือนรอมฎอน ประจำปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลยะหา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนมุสลิมที่ถือศีลอดและควรได้รับการดูแลด้านสุภาพอนามัยในช่วงการปฏิบัติศาสนกิจถือศีลอดในเดือนรอมฎอน

 

100.00

องค์การบริหารส่วนตำบลยะหา ตำบล ยะหา อำเภอ ยะหา จังหวัด ยะลา มีความห่วงใยต่อการ บริโภคอาหารและทานยารักษาโรคให้ปลอดภัยในช่วงเทศกาลถือศีลอดเดือนรอมฏอน เนื่องจากเป็นช่วงที่ พี่น้องชาว มุสลิม โดยเฉพาะพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้เข้าสู่เทศกาลถือศีลอด ซึ่งถือว่าเป็นเดือนแห่งความประเสริฐ ความดีงาม เดือนแห่งความอดทน เพื่อปฏิบัติตามวิถีมุสลิมในการละเว้นการบริโภคอาหารเป็นระยะเวลา 1 เดือน และเป็นการยึดหลักความเสมอภาคกันเทศกาลถือศีลอด ทำให้วิถีชีวิตของชาวมุสลิมในการบริโภคที่ปรับเปลี่ยนไป โดยจะมีการ บริโภคอาหารหลัก 2 เวลา คือมื้อแรกก่อนรุ่งอรุณ และมื้อที่สองหลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าเพื่อดำเนินกิจกรรมตาม หลักศาสนา เช่น การปฏิบัติตน การชำระร่างกายตามแนวหลักซุนนะฮฺ เสริมอีมานเพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ การเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การบริโภคอาหารก่อนละศีลอด เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงลดการ เจ็บป่วย องค์การบริหารส่วนตำบลยะหา มีความเป็นห่วงในเรื่องการดูแลสุขภาพของพี่น้องมุสลิมที่ปฏิบัติ ศาสนกิจ ในช่วงเดือนรอมฏอน ซึ่งถือว่าเป็นเดือนแห่งความประเสริฐ ความดีงาม เดือนแห่งความอดทน เพื่อปฏิบัติ ตามวิถีมุสลิมในการละเว้นการบริโภคอาหาร เป็นระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งอาจจะเกิดโรคขึ้นได้ในช่วงการถือศีลอด เช่น โรคอาหารเป็นพิษ โรคอุจาระร่วงอย่างรุนแรง เป็นต้น ในการนี้ เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพรวมถึงการรับประทานยา รักษาโรคต่างๆของพี่น้องชาวมุสลิมเพื่อให้ปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างครบถ้วนสมบรูณ์ช่วงดังกล่าว จึงแนะนำวิธีการดูแล สุขภาพในเดือนรอมฏอน เพื่อระบบสุขภาพที่ดีจึงเป็นบทบาทของทุกคนที่จะให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการ ดูแลสุขภาพร่างกายในเดือนรอมฎอน และมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการของศาสนา ได้ฝึกฝนความอดทน ได้รู้จัดการให้ สร้างความรัก ความสามัคคีของคนในชุมชน

จำนวนผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจในการ ดูแลสุขภาพร่างกายในเดือนรอมฎอน และมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการของศาสนา ได้ฝึกฝนความอดทน ได้รู้จัดการให้ สร้างความรัก ความสามัคคีของคนในชุมชน

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2020

กำหนดเสร็จ 08/04/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพใจในเดือนรอมฎอน ประจำปี 2563

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพใจในเดือนรอมฎอน ประจำปี 2563
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เป็นการอบรมให้ความรู้ในการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการบริโภคอาหารก่อนละศีลอดเพื่อดูแลสุขภาพในช่วงถือศีลอดและอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการของศาสนา ได้ฝึกฝนความอดทน ได้รู้จัดการให้ สร้างความรัก ความสามัคคีของคนในชุมชน โดยมี - วิทยากรบรรยายความประเสริฐของเดือนรอมฎอน โดยวิทยากรอาจารย์ที่มีความรู้ด้านศาสนา - วิทยากรบรรยายการถือศิลอดกับหลักโภชนาการ โดยวิทยากรจาก โภชนาการ รพ.สมเด็จพระยุพราชยะหา
- วิทยากรบรรยายการดูแลสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วยในระหว่างถือศิลอดโดยวิทยากรจาก รพ.สมเด็จพระยุพราชยะหา
- วิทยากรบรรยายเรื่องรอมฎอนปีนี้เลิกบุหรีด้วยกันเถอะ โดยวิทยากรจาก โภชนาการ รพ.สมเด็จพระยุพราชยะหา
รายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้ กิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ 1. ค่าอาหาร จำนวน 100คนๆ ละ 50 บาทเป็นเงิน5,000บาท 2. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆ ละ 25 บาท 2 มื้อเป็นเงิน5,000บาท 3. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืนเป็นเงิน800บาท 4. ค่าวิทยากรบรรยายความประเสริฐ เดือนรอมฏอน จำนวน 2 ชั่วโมงๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน2,400บาท 5. ค่าวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน2,400บาท 6. วัสดุอุปกรณ์พร้อมเอกสารการอบรม เป็นเงิน8,000บาท - สมุด 100 เล่มๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน1,500 บาท - ปากกา 100 ด้ามๆ ละ 5 บาทเป็นเงิน 500 บาท - เอกสารการอบรม 100 ชุดๆ 20 บาท เป็นเงิน2,000 บาท - วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม เป็นเงิน4,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น22,400บาท หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจความพร้อมเกี่ยวกับการบริโภคอาหารก่อนและหลังการละศีลอดที่
  2. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพร่างกายในเดือนรอมฎอน
  3. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการของศาสนา ได้ฝึกฝนความอดทน ได้รู้จักการให้สร้างความรัก ความสามัคคีของคนในชุมชน
  4. เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วยในระหว่างถือศิลอด
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจความพร้อมเกี่ยวกับการบริโภคอาหารก่อนและหลังการละศีลอดที่
2. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพร่างกายในเดือนรอมฎอน
3. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการของศาสนา ได้ฝึกฝนความอดทน ได้รู้จักการให้สร้างความรัก ความสามัคคีของคนในชุมชน
4. เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วยในระหว่างถือศิลอด


>